|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
| สีเซรามิก | |
|
สีเซรามิก(Color stain) ดร. คชินท์ สายอินทวงศ์
มนุษย์เรารู้จักการทำภาชนะ เครื่องประดับต่างๆด้วยเซรามิกมาเป็นเวลานานหลายพันปีมาแล้ว เครื่องเคลือบดินเผาของชาวจีนที่มีสีสันสวยงาม ภาชนะเครื่องใช้ของชาวโรมัน เครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียง ต่างก็มีการวาดลวดลายด้วยสีสันต่างๆซึ่งทำมาจากวัสดุธรรมชาติที่สามารถให้สีได้ ต่อมามนุษย์ได้ค้นพบสารซึ่งให้สีได้และคงทนถึงแม้จะผ่านการเผาที่อุณหภูมิสูง เป็นพวกออกไซด์ของธาตุทรานสิชั่นต่างๆไม่ว่าจะเป็น เหล็กออกไซด์ นิเกิลออกไซด์ โคบอลต์ออกไซด์ แมงกานีสออกไซด์ และอื่นๆอีกมาก ซึ่งให้สีที่แตกต่างกันไป ตามแต่บรรยากาศในการเผา วัตถุดิบที่นำมาใช้ทำเป็นเคลือบ ซึ่งการให้สีของโลหะออกไซด์เหล่านี้ก็สามารถสร้างสรรงานศิลปะที่สวบงามได้มากมาย ทำให้เกิดeffectของผิวเคลือบที่แปลกๆไม่ซ้ำกันได้ในแต่ละตำแหน่งของเตา หรือแต่ละครั้งของการเผา ซึ่งเหมาะมากสำหรับงานศิลป์ที่ต้องการเอกลักษณ์โดดเด่นไม่ซ้ำใคร
แต่สำหรับในการผลิตเซรามิกให้เป็นอุตสาหกรรมนั้นยังจำเป็นที่จะต้องผลิตงานที่จะต้องผลิตงานที่มีความเหมือนกันทั้งขนาด รูปทรงและสีสัน ให้ออกมาเป็นจำนวนมากๆซึ่งการใช้โลหะออกไซด์มาเป็นตัวให้สีนั้นจะมีข้อจำกัดอยู่ตรงที่จะมีการเปลี่ยนแปลงเฉดสีได้ง่ายเมื่ออุณหภูมิหรือบรรยากาศในการเผาแตกต่างออกไป ดังนั้นการที่เราต้องการผลิตเซรามืกสำหรับอุตสาหกรรมให้ได้ของจำนวนมากที่มีคุณภาพเหมือนเดิมที่สุดจึงจำเป็นที่จะต้องมีการปรับปรุงวัตถุดิบที่ใช้สำหรับให้สี เทคโนโลยี่การผลิตสีเซรามิกหรือสีสะเตน( Stain color ) จึงได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
กระบวนการผลิตผงสีเซรามิก
วัตถุดิบที่นำมาใช้ผลิตสีเซรามิกก็คือออกไซด์ของพวกโลหะต่างๆที่ให้สีนั้นเอง นอกจากนั้นก็มีควอซท์(SiO2) เซอร์คอนแซนด์(ZrO2SiO2) อลูมิน่า(Al2O3) ตะกั่วออกไซด์(PbO) สังกะสีออกไซด์(ZnO) หินปูน(CaCO3) และอื่นๆ
นำเอาวัตถุดิบที่ใช้ผลิตสีมาชั่งตามสูตรของสีที่นักวิจัยผู้ผลิตสีได้ออกแบบสูตรไว้ หลังจากนั้นก็นำเอาวัตถุดิบต่างๆมาผสมรวมกันมีทั้งแบบผสมแห้งและผสมเปียกโดยใช้Ball mill หลังจากผสมแล้วก็นำไปใส่ไว้ในจ๊อ(Sagger) ในกรณีที่ใช้การผสมแบบเปียกต้องนำออกมาอบให้แห้งแล้วจึงนำไปใส่ในจ๊อ จากนั้นก็นำจ๊อไปจัดเรียงบนรถเตา เตาที่ใช้เผามีทั้งการเผาแบบต่อเนื่อง โดยใช้เตาอุโมงค์(Tunnel kiln) และเตาที่เผาเป็นครั้งคราว(Shuttle kiln) อุณหภูมิในการเผา(calcine)และเวลาในการเผาเป็นเทคนิคที่สำคัญอย่างหนึ่งของการผลิตสีเซรามิก มีสีบางประเภทที่ไม่สามารถเผาได้โดยใช้เตาอุโมงค์แต่จำเป็นต้องเผาโดยใช้ Shuttle kiln อย่างเดียว การยืนไฟ(Soaking time) ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้สีเหล่านั้นมีสีสันที่ถูกต้องไม่เพี้ยนไปจากสีมาตราฐานเดิม อุณหภูมิในการเผาของการผลิตสีเซรามิกนั้นอยู่ในช่วง1150-1300 องศาเซลเซียส ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบเริ่มต้นที่นำมาผลิต
หลังจากเผาแล้วสีเซรามิกเหล่านี้จะมีการจับตัวกันเป็นก้อนแข็ง(Aggromerate) จึงจำเป็นจะต้องนำไปผ่านการบดอีกครั้งด้วย Ball mill เพื่อทำลายพันธะที่เกิดขึ้นได้ในระหว่างการเผาและช่วยควบคุมความละเอียดของผงสีเซรามิกด้วย การบดในขั้นตอนนี้ก็มีทั้งการบดแห้งและบดเปียกขึ้นอยู่กับชนิดของสีว่าจะต้องนำไปล้างเพื่อกำจัดเอาเกลือต่างๆที่เกิดขึ้นภายหลังการเผา
การบดนี้จะควบคุมความละเอียดของสีเซรามิกให้มีความละเอียดสูงเพื่อที่เวลานำไปใช้งานกับสีเคลือบแล้วจะได้ไม่มีปัญหาจุดสี หรือเม็ดสีขึ้นในสีเคลือบ และลดเวลาในการบดสีเคลือบลงได้
หลังจากทำการบดแล้วจะทำการถ่ายน้ำslip สีนี้ลงในถังขนาดใหญ่และเติมสารเคมีที่ช่วยกำจัดเกลือต่างๆที่เกิดขึ้นมาจากปฏิกิริยาขณะที่ทำการเผา และมีการเติมน้ำลงไปด้วย จำนวนครั้งในการล้างขึ้นอยู่กับสูตรของสีแต่ละชนิด และขึ้นกับเทคนิคของผู้ผลิตสีเองแต่โดยปกติจะอยู่ที่2-5รอบ เมื่อล้างสีจนมั่นใจว่าได้กำจัดเกลือส่วนเกินที่เป็นสาเหตุทำให้สีเคลือบเกิดรูพรุน หรือการไหลตัวของเคลือบเปลี่ยนไป ก็นำไปตกตะกอนแยกน้ำออกและสีที่ได้นี้ก็นำไปอบแห้งอีกครั้งที่อุณหภูมิไม่สูงมากนักแต่ใช้เวลาในการอบแห้งที่นานขึ้น จากนั้นนำมาบดแห้งและบรรจุถุงเพื่อนำไปจำหน่ายต่อไป
ชนิดของสีเซรามิก
เราสามารถแบ่งชนิดของสีเซรามิกออกได้เป็นสองประเภทใหญ่ๆได้ตามการใช้งานคือ
1. สีเซรามิกสำหรับใช้ในเคลือบ( Glaze stain )
2. สีเซรามิกสำหรับใช้ในเนื้อดิน( Body stain )
ความแตกต่างของสีทั้งสองประเภทนี้อยู่ที่วัตถุดิบที่นำมาใช้ผลิต โดยที่ body stain นั้นวัตถุดิบที่นำมาใช้นั้นจะมีราคาถูกกว่า และมีชนิดของวัตถุดิบไม่มากนัก เนื่องจากในตัวของเนื้อดินไม่มีออกไซด์ที่จะทำให้สีเปลี่ยนแปลงไปได้ เช่นพวก ZnO, BaO, CaO และอื่นๆ ส่วนใหญ่ในเนื้อดินจะมีเพียงพวกอัลคาไลน์ออกไซด์ ซิลิกา อลูมิน่า
ซึ่งมีผลกระทบต่อตัวสีน้อยเพราะฉะนั้นจึงไม่จำเป็นต้องการชนิดของออกไซด์มากนักในการผลิต body stain ตัวอย่างเช่นสีดำ ถ้าเป็นการผลิต Glaze stain จะต้องมีออกไซด์ต่างๆมากกว่า5ชนิดได้แก่ Cr2O3-Fe2O3-MnO2-NiO-CoO เพื่อที่จะทำให้สีมีความเสถียรแต่ถ้าเป็นสีดำสำหรับBody stain จะใช้เพียง Fe2O3และCr2O3 ก็เพียงพอ
สำหรับสีเซรามิกสำหรับเคลือบนั้นสามารถใช้เป็นสีใต้เคลือบ(Underglaze),สีบนเคลือบสำหรับตกแต่ง(On glaze)และเป็นสีที่ใช้ในเคลือบ(In glaze)
อุณหภูมิและบรรยากาศที่จะใช้งานนั้นขึ้นกับส่วนประกอบของสีตามรายละเอียดที่จะกล่าวถึงต่อไป รวมทั้งวัตถุดิบที่จะใช้ทำเคลือบก็จะต้องดูให้เหมาะสมกับส่วนประกอบของสีสะเตนที่เราจะเลือกใช้ด้วยเพื่อให้เราสามารถควบคุมคุณภาพของสีเคลือบได้อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งถ้าเราเลือกสีที่ไม่เหมาะกับสูตรเคลือบก็จะทำให้สีเพี้ยนไปไม่คงที่หรือจะต้องใช้สีในปริมาณมากขึ้นทำให้ต้นทุนของสีเคลือบสูงขึ้นโดยไม่จำเป็น ตารางที่1เป็นตารางที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างสีสะเตนในแต่ละสีซึ่งมีองค์ประกอบต่างๆกันกับออกไซด์ที่เป็นองค์ประกอบของเคลือบ ตัวอย่างเช่นสีสะเตนสีแดงอมชมพูที่มีส่วนประกอบของ Sn-Cr-Si-Ca นั้นจะเข้ากันได้ดีกับเคลือบที่มี CaO, SnO2 แต่ไม่เหมาะที่ใช้กับเคลือบที่มี ZnO, ZrO2 และ MgO เพราะออกไซด์เหล่านี้จะทำให้สีแดงของ Sn-Cr-Si-Ca เพี้ยนไปหรือสีจางลงจนทำให้ต้องเติมสีดังกล่าวให้เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
ตารางที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างสีสะเตนในแต่ละสีซึ่งมีองค์ประกอบต่างๆกันกับออกไซด์ที่เป็นองค์ประกอบของเคลือบ
|
(K,Na)O |
CaO |
MgO |
ZnO |
PbO |
Al2O3 |
B2O3 |
SiO2 |
ZrO2 |
SnO2 |
Yellow |
Pb-Sb-Fe-Sn-Al |
N |
N |
N |
N |
F |
N |
N |
N |
N |
N |
Zr-Pr-Si |
N |
N |
N |
N |
F |
N |
N |
N |
N |
F |
Ti-Cr-Sb |
N |
N |
N |
N |
F |
N |
U |
N |
F |
N |
Brown |
Cr-Fe-Zn-Ni |
N |
N |
U |
F |
N |
N |
N |
N |
N |
U |
Zr-Fe-Si |
U |
N |
N |
U |
U |
N |
U |
N |
F |
N |
Pink-Red |
Sn-Cr-Ca-si |
N |
F |
U |
U |
N |
N |
N |
N |
U |
F |
Zr-Fe-Si |
N |
N |
N |
N |
N |
N |
N |
N |
F |
N |
Black |
Fe-Cr-Co-Mn-Ni |
N |
N |
N |
U |
N |
N |
N |
N |
U |
U |
Grey |
Sn-Sb |
N |
N |
N |
N |
N |
N |
N |
N |
N |
F |
Zr-Ni-Co-Si |
N |
N |
N |
U |
N |
N |
N |
N |
F |
N |
Blue |
Co-Si |
N |
N |
N |
N |
N |
N |
N |
N |
N |
N |
Co-Zn-Al |
N |
N |
N |
F |
N |
F |
N |
N |
N |
N |
Zr-V-Si |
N |
N |
N |
N |
N |
N |
N |
N |
F |
N |
Green |
Cr-Co-Zn |
N |
N |
N |
F |
N |
F |
N |
N |
N |
U |
N-Neutral F-Favor U-Unfavor
สีแดง , สีเปลือกมังคุด
Sn – Ca – Si – Cr อุณหภูมิที่ใช้งานได้ถึง 1250 C
Sn – Ca – Si – Cr – Pb อุณหภูมิที่ใช้งานได้ถึง 1000 C
สีสะเตนนี้ได้มาจากการนำเอา SnO2 , CoO และ SiO2 มาผสมกับโดยทดลองเปลี่ยนสัดส่วนของ Cr2O3 เมื่อทำการเผาที่อุณหภูมิสูง Cr – ion จะเกิดการแพร่ (diffusion ) เข้าไปภายโครงสร้างของผลึก สามารถนำไปใช้งานได้ที่อุณหภูมิสูงโดยที่ยังคงความเสถียรของสีอยู่ได้ ควรใช้กับบรรยากาศออกซิเดชั่นจะดีกว่า และข้อควรระวังสำหรับการใช้สีสะเตนนี้ในเคลือบคือควรกำจัดจุดเหล็กที่อาจปนมากับวัตถุดิบของเคลือบออก เพราะจะทำให้เกิดจุดขาวขึ้นบนผิวเคลือบและเป็นสาเหตุของรูพรุนในเคลือบด้วย
เหมาะสำหรับใช้กับเคลือบที่มี Pb , Ca และมีปริมาณของ B2O3 , MgO , ZnO ต่ำเพราะออกไซด์ทั้ง3ตัวนี้จะทำให้สีสะเตนนี้มีความเข้มลดลงและไม่เหมาะที่จะใช้เป็นสีของเนื้อดิน
สีชมพู
Zr-Si-Fe อุณหภูมิที่ใช้งานได้ถึง 1300c
วัตถุดิบเริ่มต้นคือเซอร์โคเนียม ซิลิเกต ซึ่งจะเป็นตัวให้ ZrO2 กับ SiO2 และเติม Fe2O3 ลงไปเล็กน้อยเพื่อให้เกิดสีโดยที่ Fe-ion จะเข้าไปอยู่ในโครงสร้างผลึกของเซอร์คอน (ZrO2SiO2) เหมาะสำหรับใช้กับบรรยากาศออกซิเดชั่น มีความเสถียรของสีที่ดีมาก ใช้ได้ดีกับเคลือบที่เป็นพวกทึบแสงจากเซอร์คอน และถ้าในเคลือบมี ZnO อยู่ใน % ที่สูงก็จะช่วยปรับปรุงสีให้มีความสดขึ้นมีสีออกแดงมากขึ้น แต่ไม่เหมาะที่จะใช้กับเคลือบที่มีตะกั่วออกไซด์และพวกอัลคาไลน์ออกไซด์อยู่ในปริมาณที่สูง และไม่เหมาะจะใช้สำหรับเป็นสีสำหรับเนื้อดิน
สามารถใช้ผสมกับสีสะเตนโทนอื่นๆได้ดีโดยเฉพาะตระกูลสีที่เป็นพวกเซอร์โคเนต(Zirconate) เหมือนกันเช่นสีฟ้า(Turquoise) สีเหลืองของ Zr-Pr-Si
สีส้ม
Ti-Sb-Cr ทนอุณหภูมิได้ถึง 1200c
ได้จากการคัลไซน์ TiO2,Sb2O3 และ Cr2O3 ช่วงของเฉดสีมีตั้งแต่สีเหลืองมัสตาดไปจนถึงสีน้ำตาลเข้ม ขึ้นอยู่กับปริมาณของ Cr2O3 , อุณหภูมิและช่วงเวลาในการคัลไซน์ รวมทั้งออกไซด์บางตัวที่เติมเข้ามาเพื่อปรับโทนสี เช่นถ้าเติมNiOเข้าไปจะทำให้ได้เป็นสีครีม ถ้าเติมFe2O3 กับ MnO2เข้าไปจะได้ออกเป็นสีน้ำตาล สามารถใช้ผสมกับสีสะเตนอื่นๆเพื่อปรับปรุงเฉดสีโทนใหม่ๆได้ดียกเว้นสีที่มีส่วนผสมของ SnO2
สีส้มและสีเหลือง
Pb – Sb – Fe อุณหภูมิที่ใช้งานไม่เกิน 1050 C
ได้จากการ Calcine PbO และ Sb2O3 และเติมออกไซด์ตัวอื่น ๆ ลงไปเล็กน้อย เช่น Fe , Sn เพื่อทำให้เฉดสีหลากหลายขึ้น
Pb – Sb – Sn เป็นสีเหลืองสดใส
Pb – Sb – Fe เป็นสีส้มอมน้ำตาล
ทนอุณหภูมิได้ต่ำ ( ไม่เกิน 1050 C ) ในบรรยากาศออกซิเดชั่น สีนี้ต้องการใช้กับเคลือบที่มี % PbO และ SnO2 อยู่สูง โดย Sn จะช่วยเป็นตัวทึบแสง ( Opecifier ) ในสีเคลือบ
เหมาะสำหรับเป็นสีตกแต่งใต้เคลือบและบนเคลือบเท่านั้น ไม่ควรใช้สำหรับเติมในสีเคลือบหรือในเนื้อดินเลย
สีเหลือง
Zr – Si – Pr อุณหภูมิที่ใช้งาน 1300 C
วัตถุดิบคือ Zirconium Oxide และ Silica กับ Prasiodimium oxide จำนวนเล็กน้อย มีความเสถียรของสีจนถึงอุณหภูมิสูงสุดที่ใช้งาน เหมาะสำหรับบรรยากาศออกซิเดชั่น ใช้ได้กับเคลือบทุกชนิด โดยเฉพาะเคลือบทึบแสงที่มี Ziconium เป็นองค์ประกอบ และสามารถใช้สำหรับเป็น Body stain ได้ด้วย
สีเขียว
Cr – Co – Zn – Al อุณหภูมิที่ใช้งานได้ถึง 1280 C
ได้จากการนำ CoO และ Cr2O3 ที่เผา ( calcine ) โดยเติม ZnO และ Al2O3 ลงไปเพื่อเป็นตัวปรับแต่งเฉดสี ซึ่งสีนี้เสถียรได้จนถึงอุณหภูมิสูงสุด เหมาะสำหรับใช้กับเคลือบที่มีปริมาณของ Zno และ SnO2 ต่ำ สามารถใช้เป็น Body stain ได้
สีน้ำเงิน
Co – Al
Co - Zn – Al อุณหภูมิที่ใช้งานได้ถึง 1280 C
Co - Al - Si
วัตถุดิบหลักคือ CoO และ Al2O3 และมีการเติม ZnO หรือ SiO2 เพื่อปรับปรุงเฉดสี สีนี้มีความเสถียรดีมาก สามารถใช้ได้กับเคลือบทุกชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเคลือบที่มี ZnO , Al2O3
รวมทั้งใช้เป็น Body stain ได้ด้วย และสำหรับสีน้ำเงินที่มีส่วนประกอบเป็น Co-Si นั้นยังสามารถใช้ได้ดีกับบรรยากาศแบบรีดักชั่นได้ด้วย
สีฟ้า( Turquoises )
Zr-Si-V อุณหภูมิที่ใช้งานได้ถึง 1300c
ได้จากการ calcine ZrO2 กับ SiO2 ตามสัดส่วนที่ทำให้เกิด Zircon บางผู้ผลิตจะใช้Zircon sand มาทำการเผาจนทำให้มีความบริสุทธิ์และละเอียด และจึงเติม V2O5 (vanadium pentoxide) ลงไป สีฟ้าตัวนี้มีความเสถียรของสีดีมากในตลอดทุกอุณหภูมิที่ใช้งาน ทั้งในบรรยากาศออกซิเดชั่นและรีดักชั่น ใช้ได้ดีกับเคลือบเกือบทุกชนิด โดยเฉพาะเคลือบที่มีปริมาณของตะกั่วต่ำ การเติมเซอร์โคเนียมซิลิเกตลงไปจะช่วยเพิ่มความคงตัวของสีฟ้านี้
สามารถผสมกับสีสะเตนตัวอื่นๆได้ โดยเฉพาะสีเหลือง สีชมพูที่เป็นพวกสีเซอร์โคเนตเหมือนกันซึ่งจะทำให้เกิดโทนสีต่างๆขึ้นอีกมาก สามารถใช้เป็นสีสำหรับเนื้อดินได้เช่นกัน
สีน้ำตาล
Fe-Cr-Si-Zn-Sn
Zr-Fe-Si-Pr อุณหภูมิที่ใช้งานถึง 1250c
สีน้ำตาลที่มีส่วนประกอบของ Zr-Fe-Si-Pr ได้มาจากการผสมกันของสีสะเตนสีเหลืองและสีชมพูที่เป็นสีเซอร์โคเนตเหมือนกัน ซึ่งจะให้ความคงตัวของสีได้จนถึงอุณหภูมิสูงสุดที่ใช้งานได้ ส่วนสีน้ำตาลที่มีส่วนประกอบของ Fe-Cr-Si-Zn-Sn นั้นได้มาจากการผสมกันของ SnO2,SiO2,ZnO ผ่านการเผาที่อุณหภูมิสูงโดยจะมีการเติม Cr2O3และFe2O3 ลงไปเพื่อปรับแต่งเฉดสี เหมาะสำหรับใช้กับบรรยากาศออกซิเดชั่นมากกว่า สีตัวนี้จะมีผลต่อการไหลตัวของน้ำเคลือบค่อนข้างมากดังนั้นจึงควรใช้กับสูตรเคลือบที่มีความหนาแน่นไม่สูงนัก หรือมีความหนืดต่ำ เพราะถ้าใส่สีน้ำตาลนี้ลงไปในสูตรเคลือบมากจะทำให้ความหนืดของสีเคลือบสูงขึ้นจะทำให้การไหลตัวไม่ดี จะให้สีที่เข้มและเสถียรมากขึ้น ถ้าในเคลือบมีปริมาณของ ZnO อยู่พอสมควร
สีเทา
Zr-Ni-Co-Si อุณหภูมิที่ใช้งานได้ถึง 1280c
ได้จากการcalcine ZrO2 และ SiO2 และเติม CoO, NiO หรืออาจมี Fe2O3,V2O5 เพื่อทำให้เกิดเป็นสีเทา สามารถใช้ได้ทั้งในบรรยากาศออกซิเดชั่นหรือรีดักชั่น มีความเสถียรดีมาก ใช้ได้กับเคลือบทุกชนิดโดยเฉพาะที่มีZircon เป็นตัวให้ความทึบแสง แต่ไม่ค่อยชอบเคลือบที่มี ZnO นัก ไม่เหมาะที่จะใช้กับเนื้อดิน ส่วนสีเทาที่ได้จาก Sn-Sb-V นั้น จะทนอุณหภูมิได้ต่ำกว่าเล็กน้อยมีความเสถียรดี ใช้ได้กับเคลือบทุกชนิดโดยเฉพาะที่มี SnO2 อยู่ในสูตรด้วย
สีดำ
Co-Cr-Fe-Mn-Ni
สีสะเตนตัวนี้ได้มาจากการcalcine Cr2O3,CoO,NiO,MnO2 และ Cr2O3 มีความคงตัวของสีที่ดีมากสามารถเผาได้ในบรรยากาศรีดักชั่น อาจมีปัญหาได้บ้างที่อุณหภูมิสูงใกล้ๆจุดที่สีตัวนี้จะสามารถทนได้ นั่นคือ Cr จะกลายเป็นไอและจะทำให้เคลือบที่ใช้สีตัวนี้เกิดรูพรุนขึ้นได้ มีคุณสมบัติเป็นพวกเฟอร์โรแมกเนติก ทำให้เวลาที่เคลือบผ่านแม่เหล็กไฟฟ้า อาจจะทำให้สีเหล่านี้ติดออกมาด้วย ทำให้สีเคลือบเพี้ยนไป
ออกไซด์ที่ไม่เหมาะที่จะใช้ร่วมกับสีเคลือบตัวนี้คือพวก ZnO ซึ่งจะทำให้สีดำอมน้ำเงินนี้เปลี่ยนไปเป็นสีดำอมแดง ส่วนZrO2และSnO2 จะทำให้เราต้องเติมสีดำนี้เพิ่มขึ้น จึงจะได้สีเข้มเท่าเดิม ซึ่งทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายไปมาก สามารถใช้ผสมกับสีสะเตนตัวอื่นๆได้ทุกตัวยกเว้นสีสะเตนที่มีส่วนประกอบของSn( stannate stain ) เหมาะสำหรับใช้ทำเป็นสีสำหรับเนื้อดินด้วย
|
|
|
|
|
|
|