กระเบื้องแสงรุ้งกลาสโมเสค
Pakarung - Think Ceramic Think Pakarung
ซิเบลโก้ มิเนอร์รัลส์ จัดหาแร่คุณภาพสำหรับอุุตสาหกรรมเซรามิคส์
Ferro
Keramat
MS Industrial Supplies
Ceramics R Us
นิทรรศการศิลปะเครื่องปั้นดินเผา

นิทรรศการศิลปะเครื่องปั้นดินเผาชุดวิถีธรรมชาติ และ Pottery Arts
ภรดี พันธุภากร และเสกสรรค์ ตันยาภิรมย์

ในแต่ละปีมีศิลปิน นักออกแบบหรือผู้ที่ทำงานศิลปะเครื่องปั้นดินเผาได้รวบรวมผลงาน เพื่อจัดแสดงนิทรรศการทางด้านเครื่องปั้นดินเผาอยู่ไม่มากนัก... แล้วก็ดังที่ทราบกันดีว่าเครื่องปั้นดินเผาหรือเซรามิกส์เป็นกลุ่มงานศิลปะในแนวพอเพียง คือ คนกลุ่มเล็ก ๆ ที่ต้องรักจริง ทำจริง และให้เวลากับการทำงานพอสมควร จึงจะสามารถจัดแสดงนิทรรศการได้ แต่ขณะเดียวกันก็มีศิลปิน นักออกแบบ หรือแม้แต่ผู้สนใจในศิลปะ กระโจนลงสู่วิถีของเครื่องปั้นดินเผาและเปลวไฟนี้อยู่พอสมควรทีเดียว และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้น รวมถึงผู้สนใจที่จะทำงานเครื่องปั้นดินเผาแบบเป็นงานอดิเรก

การจัดแสดงนิทรรศการศิลปะเครื่องปั้นดินเผา ชุดวิถีธรรมชาติ และงานปั้นแป้นหมุน (Natural Ceramics and Pottery Arts) ของ ภรดี พันธุภากร และเสกสรรค์ ตันยาภิรมย์ ณ ห้องแสดงนิทรรศการ ชั้น 3 ห้างสรรพสินค้าเกษรพลาซ่า คงเป็นนิทรรศการเครื่องปั้นดินเผาลำดับแรกในรอบปี 2551 ในวงการเครื่องปั้นดินเผา

ภรดี รวบรวมผลงานในแนวธรรมชาติ ที่ตั้งต้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 เท่าที่มีเก็บสะสมไว้ และชุดที่ทำขึ้นใหม่ ผลงานที่อาจถือได้ว่า ภรดี เป็นผู้บุกเบิก ก็คือ ผลงานในแนวทะเล ชีวิตใต้ทะเล ที่ยังเป็นที่นิยม และมีการคลี่คลาย สร้างสรรค์สืบต่อกันมาอีก แม้จนในปัจจุบัน... ส่วนผลงานชุดผลไม้ ชุดข้าว เป็นผลงานในช่วงปี พ.ศ. 2546 เป็นต้นมา ที่เป็นผลงานในแนวเรียบง่าย ให้อารมณ์ความรู้สึกถึงความงอกงาม ความสมบูรณ์ ที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างรูปทรง 3 มิติ พื้นผิว สีสัน ความมันวาวบางส่วน และด้านหยาบบางส่วนของเคลือบ รวมทั้งการแตกตัวตกผลึกของเคลือบอย่างที่ไม่อาจคาดคิดได้

สำหรับผลงานวิถีชีวิต ชุด “ของใกล้ตัว” นั้น เธอบอกกล่าวว่าเป็นเพียงบางส่วนของผลงานชุดวิถีชีวิต ที่ได้เริ่มทำในปี 2550 และคาดว่าจะมีการจัดแสดงผลงานทั้งชุดในปี 2552

ผลงานผลงานของภรดี เรียบง่าย ซื่อตรง เป็นธรรมชาติ ทั้งในด้านเนื้อหา รูปทรง เทคนิควิธีการเฉพาะของทางด้านเซรามิกส์ แม้ว่าภรดีจะทำหน้าที่สอนทางด้านเครื่องปั้นดินเผาอยู่ด้วย แต่เธอมักบอกกล่าวใครต่อใครเสมอว่าทำเพราะว่าใจรัก และทำแล้วมีความสุข

ส่วนผลงานของเสกสรรค์ ตันยาภิรมย์ นั้น เป็นผลงานในแนว Pottery Arts ที่ทำขึ้นใหม่ในช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมา โดยเป็นผลงานทั้งชิ้นใหญ่ และชิ้นเล็ก เสกสรรค์ ให้ความสำคัญกับการทำงานเป็นชุด และเทคนิคเฉพาะของเคลือบ

Pottery Arts เป็นงานเครื่องปั้นดินเผา ที่มีรูปแบบ รูปทรงในแนวทางของภาชนะ เช่น จาน ชาม ถ้วย ไห อ่าง ขวด ฯลฯ เป็นการขึ้นรูปด้วยการปั้นด้วยมือหรือการขึ้นรูปด้วยแป้นหมุนเป็นหลัก ทั้งนี้ คุณค่าความงาม ความลงตัวของงาน Pottery Arts อยู่ที่การออกแบบรูปทรงภาชนะ การควบคุมรูปร่าง รูปทรง โดยผ่านแรงแขน อุ้มมือและปลายนิ้วสัมผัส หรือวัสดุที่ทำให้ก้อนดินนั้น ก่อรูปเป็นรูปทรงตามต้องการ มีส่วนฐาน มีส่วนตัว บ่า คอ ไหล่ ปาก ตามจินตนาการ ผสมผสานกับเทคนิควิธีการ และรูปแบบของการตกแต่ง การเคลือบ การเผา หรือแม้แต่การใช้เนื้อดินชนิดพิเศษต่าง ๆ ที่ก่อให้คุณค่าทางความงามจากสีดิน และพื้นผิว ทั้งนี้ Pottery Arts จะไม่ได้คำนึงถึงประโยชน์ทางด้านการใช้งานแต่อย่างใด แม้ว่าจะนำไปใช้ได้จริงก็ตามแต่

  ภาพที่ 1 : วิถีธรรมชาติ ชุด : “ใต้ทะเล”
ชนิดของเนื้อดิน พอร์สเลน
เทคนิค หล่อสลิป
เคลือบ เคลือบใสบางส่วน
อุณหภูมิ 1,250 องศาเซลเซียส
ขนาด 30 x 30 ซม.
ปี พ.ศ. 2550
  ภาพที่ 2 : วิถีธรรมชาติ ชุด : “ใต้ทะเล”
ชนิดของเนื้อดิน สโตนแวร์
เทคนิค หล่อสลิป และปั้นตกแต่ง
เคลือบ เฟลสปาร์
อุณหภูมิ 1,200 องศาเซลเซียส
ขนาด 28 x 35 ซม.
ปี พ.ศ. 2546 - 2547
  ภาพที่ 3 : วิถีธรรมชาติ ชุด : “ใต้ทะเล”
ชนิดของเนื้อดิน สโตนแวร์
เทคนิค หล่อสลิปตกแต่งเพิ่มเติม
เคลือบ เฟลสปาร์
อุณหภูมิ 1,250 องศาเซลเซียส
ขนาด 30 x 30 ซม.
ปี พ.ศ. 2538
  ภาพที่ 4 : วิถีธรรมชาติ ชุด : “ข้าว”
ชนิดของเนื้อดิน สโตนแวร์
เทคนิค หล่อสลิป ปั้นเพิ่มเติม
เคลือบ เฟลสปาร์
อุณหภูมิ 1,230 องศาเซลเซียส
ขนาด สูง 26 ซม.
ปี พ.ศ. 2548 - 2549
  ภาพที่ 5 : วิถีธรรมชาติ ชุด : “ข้าว”
ชนิดของเนื้อดิน สโตนแวร์
เทคนิค หล่อสลิป ปั้นเพิ่มเติม
เคลือบ เฟลสปาร์
อุณหภูมิ 1,230 องศาเซลเซียส
ขนาด สูง 26 ซม.
ปี พ.ศ. 2548 - 2549
  ภาพที่ 6 : วิถีธรรมชาติ ชุด : “ข้าว”
ชนิดของเนื้อดิน สโตนแวร์
เทคนิค ปั้นขึ้นรูปด้วยมือ
เคลือบ เคลือบฟริต
อุณหภูมิ 1,150 องศาเซลเซียส
ขนาด 30 x 40 ซม.
ปี พ.ศ. 2547
  ภาพที่ 7 : วิถีธรรมชาติ ชุด : “ข้าว”
ชนิดของเนื้อดิน สโตนแวร์
เทคนิค ปั้นขึ้นรูปด้วยมือ
เคลือบ เคลือบฟริต
อุณหภูมิ 1,150 องศาเซลเซียส
ขนาด 25 x 65 ซม.
ปี พ.ศ. 2547
  ภาพที่ 8 : วิถีธรรมชาติ ชุด : “ผลไม้”
ชนิดของเนื้อดิน สโตนแวร์
เทคนิค หล่อสลิปตกแต่งเพิ่มเติม
เคลือบ เฟลสปาร์
อุณหภูมิ 1,230 องศาเซลเซียส
ขนาด สูง 20 ซม.
ปี พ.ศ. 2549 - 2550
  ภาพที่ 9 : วิถีธรรมชาติ ชุด : “ผลไม้” (4 ชิ้น)
ชนิดของเนื้อดิน ดินผสม (รากุ)
เทคนิค ปั้นขึ้นรูปด้วยมือ
เคลือบ เซราดอนบางส่วน
อุณหภูมิ 1,250 องศาเซลเซียส (Saggar Firing)
ขนาด สูง 15 - 18 ซม.
ปี พ.ศ. 2548
  ภาพที่ 10 : วิถีธรรมชาติ ชุด : “ผลไม้”
ชนิดของเนื้อดิน สโตนแวร์
เทคนิค หล่อสลิปปั้นตกแต่ง
เคลือบ เคลือบทึบ
อุณหภูมิ 1,230 องศาเซลเซียส
ขนาด สูง 20 ซม.
ปี พ.ศ. 2549
  ภาพที่ 11 : วิถีธรรมชาติ ชุด : “-”
ชนิดของเนื้อดิน สโตนแวร์
เคลือบ Matt Zinc
อุณหภูมิ 1,280 องศาเซลเซียส
ขนาด 45 x 25 ซม.
ปี พ.ศ. 2550
  ภาพที่ 12 : วิถีธรรมชาติ ชุด : “-”
ชนิดของเนื้อดิน สโตนแวร์
เทคนิค Saggar Firing
เคลือบ Celadons
อุณหภูมิ 1,280 องศาเซลเซียส
ขนาด 20 x 20 ซม.
ปี พ.ศ. 2547
  ภาพที่ 13 : วิถีธรรมชาติ ชุด : “-”
ชนิดของเนื้อดิน สโตนแวร์
เทคนิค Double Glaze
เคลือบ Celadon, Copper Red
อุณหภูมิ 1,280 องศาเซลเซียส
ขนาด 28 x 27 ซม.
ปี พ.ศ. 2549
  ภาพที่ 14 : วิถีธรรมชาติ ชุด : “-”
ชนิดของเนื้อดิน สโตนแวร์
เคลือบ Matt Zinc Glaze
อุณหภูมิ 1,280 องศาเซลเซียส
ขนาด 24 x 24 ซม.
ปี พ.ศ. 2550
  ภาพที่ 15 : วิถีธรรมชาติ ชุด : “-”
ชนิดของเนื้อดิน สโตนแวร์
เคลือบ Shino Glaze
อุณหภูมิ 1,280 องศาเซลเซียส
ขนาด 28 x 19 ซม.
ปี พ.ศ. 2550
  ภาพที่ 16 : วิถีธรรมชาติ ชุด : “-”
ชนิดของเนื้อดิน สโตนแวร์
เคลือบ Iron Red
อุณหภูมิ 1,250 องศาเซลเซียส
ขนาด 50 x 25 ซม.
ปี พ.ศ. 2547
  ภาพที่ 17 : วิถีธรรมชาติ ชุด : “-”
ชนิดของเนื้อดิน สโตนแวร์
เคลือบ Oil - Spot
อุณหภูมิ 1,280 องศาเซลเซียส
ขนาด 36 x 28 ซม.
ปี พ.ศ. 2549
  ภาพที่ 18 : วิถีธรรมชาติ ชุด : “-”
ชนิดของเนื้อดิน สโตนแวร์
เคลือบ Iron Red
อุณหภูมิ 1,280 องศาเซลเซียส
ขนาด 21 x 27 ซม.
ปี พ.ศ. 2548
  ภาพที่ 19 : วิถีธรรมชาติ ชุด : “-”
ชนิดของเนื้อดิน สโตนแวร์
เทคนิค Double Glaze
เคลือบ Feldsparthic Glazes
อุณหภูมิ 1,250 องศาเซลเซียส
ขนาด 32 x 28 ซม.
ปี พ.ศ. 2545
  ภาพที่ 20 : วิถีธรรมชาติ ชุด : “-”
ชนิดของเนื้อดิน สโตนแวร์
เคลือบ Shino Glaze
อุณหภูมิ 1,280 องศาเซลเซียส
ขนาด 27 x 14 ซม.
ปี พ.ศ. 2550