กระเบื้องแสงรุ้งกลาสโมเสค
Pakarung - Think Ceramic Think Pakarung
ซิเบลโก้ มิเนอร์รัลส์ จัดหาแร่คุณภาพสำหรับอุุตสาหกรรมเซรามิคส์
Ferro
Keramat
MS Industrial Supplies
Ceramics R Us
Social Accountability 8000 (SA 8000)

Social Accountability 8000 (SA 8000)
ดร. คชินท์ สายอินทวงศ์

Social Accountability 8000 (SA 8000) เป็นมาตรฐานระหว่างประเทศในเรื่องความรับผิดชอบทางสังคมสำหรับหน่วยผลิตต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดมาตรฐานการจ้างแรงงานให้สอดคล้องกันทั่วโลก โดยมีที่มาจากปัญหาการจ้างแรงงานอย่างไม่เป็นธรรมในภูมิภาคต่างๆ ของโลก มีการกดขี่แรงงาน การใช้แรงงานเด็ก สตรี หรือ สภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย เป็นต้น โดยลักษณะของมาตรฐาน ถ้าคุ้นเคยกับระบบคุณภาพ ISO 9002 หรือ ISO 14001 ดี จะพบว่ามาตรฐาน SA 8000 จะกำหนดเป็นระบบการจัดการ โดยเน้นการปรับปรุงสภาพการจ้างงานและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน SA 8000 เกิดขึ้นช่วงต้นปี 1997 โดยองค์กรชื่อ “The Council on Economic Priorities Accreditation Agency (CEPAA) โดยสืบเนื่องจากตั้งแต่ต้นปี 1990 มีปัญหาเกี่ยวกับการจ้างแรงงาน ฉะนั้นกลุ่มบริษัทในอเมริกาและยุโรปตะวันตก จึงเสนอให้กำหนดมาตรฐานการจ้างแรงงานในกลุ่มขั้น (Code of Conduct) หลังจากนั้น CEPAA จึงยกร่างมาตาฐานนี้ขึ้น

จุดเริ่มต้นของ SA 8000
    ในช่วงต้นทศวรรษ 1990 ประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีปัญหาเกี่ยวกับกฎระเบียบข้อบังคับในการทำงานของคนงานที่ไม่เป็นไปในทางเดียวกันในแต่ละ ทำให้เกิดข้อขัดแย้ง ขาดเอกภาพ และส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อสินค้าและบริการนั้นๆ ดังนั้น องค์กรที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้แก่ CEP (Council on Economic Priorities) และตัวแทนจากอุตสาหกรรม สหภาพแรงงาน NGO'S และกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ได้เข้ามากำหนดและพัฒนาระบบมาตรฐานสากลที่ให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบต่อสังคมในด้านสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่ หรือ ระบบมาตรฐาน SA 8000 โดยได้จัดตั้งองค์กร CEPAA (The Council on Economic Priorities Accreditation Agency) ขึ้นมาดูแลในปี 1997
ตัวมาตรฐานกำหนดการดำเนินการจัดระบบการจัดการอยู่บนพื้นฐานสิทธิมนุษยชนโดยมีอ้างอิงจากหลักเกณฑ์และข้อกำหนดด้านแรงงาน อันได้แก่ อนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO Convention) เป็นบรรทัดฐานโดยเฉพาะในเรื่องการใช้แรงงานเด็กและในเรื่องสิทธิมนุษยชน โดยจะแบ่งเป็น 9 หัวข้อและมีเนื้อหาในข้อกำหนดที่สำคัญ ดังนี้

1. แรงงานเด็ก
    1. ไม่ต้องการให้ใช้หรือสนับสนุนการใช้แรงงานเด็ก
    2. ถ้าต้องใช้แรงงานเด็กต้องเอื้อให้เด็กมีโอกาสได้รับการศึกษาตามที่ควรจนกว่าจะพ้นความเป็นเด็ก
2. แรงงานบังคับ
    พนักงานต้องทำงานด้วยความสมัครใจทั้งในเวลาการทำงานปกติและหลังจากหมดเวลางาน รวมถึงต้องไม่ให้มีการเรียกร้องให้วางสิ่งคำประกันหรือเอกสารแสดงตัวในการเข้าทำงานกับองค์กร
3. สุขภาพและความปลอดภัย
    1. องค์กรต้องจัดให้มีสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัย และถูกหลักอนามัย และขั้นตอนในการป้องกันอุบัติเหตุและการบาดเจ็บหรือภัยต่อสุขภาพที่เกิดจากการทำงาน โดยลดสาเหตุที่ทำให้เกิดอันตรายแฝงในที่ทำงานให้น้อยลง
    2. องค์กรต้องแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูงดูแลระบบ
    3. กำหนดให้มีการฝึกอบรมอย่างเหมาะสมในเรื่องสุขอนามัยและความปลอดภัยทั้งพนักงานเก่าและใหม่
    4. จัดระบบในการค้นหา หลีกเลี่ยง และตอบโต้ความเสี่ยงต่อสุขภาพและความปลอดภัย
    5. ดูแลความสะอาดเรื่องห้องน้ำและอาหาร
    6. ดูแลให้ที่พักที่ได้จัดหา มีสิ่งอำนวยความสะดวกและเหมาะสม
4. เสรีภาพในสมาคมและสิทธิในการรวมกลุ่มเจรจาต่อรอง
    1. ให้สิทธิ์แก่พนักงานในการก่อตั้งหรือเข้าร่วมกับสหภาพ รวมถึงการรวมกลุ่มเพื่อเจรจาต่อรอง
    2. กรณีถูกจำกัดภายใต้กฎหมายในการดำเนินการในข้อ 1 ต้องเอื้ออำนวยให้พนักงานสามารถใช้วิธีอื่นทดแทน
5. การกีดกัน การเลือกปฏิบัติ
    1. ต้องไม่สนับสนุนการกีดกันให้เกิดความเหลื่อมล้ำแตกต่างในเรื่องการจ้างงาน การตอบแทน เลื่อนตำแหน่ง สิ้นสุดสภาพงานหรือเกษียณ ตามเชื้อชาติ ชนชั้น วรรณะ ศาสนา เพศ ความพิการ สมาชิกภาพในสหภาพ หรือความเกี่ยวข้องทางการเมือง
    2. ไม่ขัดแย้ง สอดแทรก กับความเชื่อ หน้าที่ หรือความจำเป็นจากความแตกต่างหรือตำแหน่งเช่นข้อ 1
    3. ไม่ให้มีการกดขี่ บังคับ คุกคาม ทารุณ หรือเอารัดเอาเปรียบทางเพศ
6. การลงโทษทางวินัย
    ต้องไม่สนับสนุนให้ใช้บทลงโทษทางร่างกาย หรือข่มขู่คุกคามทางกายและใจ
7.ชั่วโมงทำงาน
    1. ปฏิบัติตามกฎหมายในเรื่องชั่วโมงทำงาน ทั้งนี้ไม่เกินกว่า 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และมีวันหยุดอย่างน้อย 1 วัน ต่อรอบการทำงาน 7 วัน
    2. กรณีจำเป็นอาจมีการทำงานเกินกว่ากำหนดบ้างในช่วงสั้น แต่ก็ต้องได้รับค่าตอบแทนเป็นกรณีพิเศษ
8. ค่าตอบแทน
    1. ค่าจ้างที่จ่ายให้พนักงานต้องสอดคล้องกับค่าแรงขั้นต่ำ และเพียงพอต่อการยังชีพตามควร
    2. การจ่ายค่าตอบแทนต้องครบถ้วน เหมาะสม และถูกต้องตามกฎหมาย
    3. สัญญาจ้างต้องเหมาะสมและถูกต้องตามกฎหมายแรงงานและสวัสดิการสังคม
9. ระบบบริหาร
    1. การกำหนดนโยบาย
    2. การทบทวนโดยฝ่ายบริหาร
    3. การแต่งตั้งตัวแทนฝ่ายบริหาร
    4. การวางแผนและการนำไปปฏิบัติ
    5. การควบคุมผู้ส่งมอบ
    6. การระบุความเกี่ยวข้องและปฏิบัติการแก้ไข
    7. การสื่อสารสู่ภายนอก
    8. การทวนสอบ
    9. บันทึก
บริษัทที่ควรจัดทำระบบ SA 8000

เนื่องด้วยการจัดระบบการจัดการตามมาตรฐาน SA 8000 พิจารณาจัดทำอิงจากมาตรฐานของ International Organization for Standardization (ISO) เป็นหลัก ฉะนั้นจึงสามารถจัดทำระบบควบคู่ไปกับระบบ ISO 9000 หรือ ISO 14000 ได้ เจ้าของมาตรฐานคือ CEPAA ยืนยันว่ามาตรฐาน SA 8000 สามารถใช้ได้กับทุกองค์กร ผู้ที่ควรจัดทำระบบการจัดการตามมาตรฐานฉบับนี้ และขอการรับรองควรจะเป็น

    1. อุตสาหกรรมผลิตที่ใช้แรงงานจำนวนมาก และส่งออกในตลาดอเมริกาหรือยุโรปเหนือ อันได้แก่ อุตสาหกรรมสิ่งทอ เสื้อผ้า เซรามิก เฟอร์นิเจอร์ ของเล่น ชิ้นส่วนอิเลคทรอนิคส์ และอุตสาหกรรมผลิตรองเท้า
    2. บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนส่งให้กับอุตสาหกรรมในข้อ 1
    3. เกษตรกรรมส่งออกในตลาดอเมริกาและยุโรปเหนือ
ประโยชน์ที่ได้จากการจัดทำระบบ SA 8000

    1. การป้องกันการกีดกันด้านการค้า ซึ่งในเรื่องนี้พบว่าหลายๆ โรงงานเริ่มถูกลูกค้าทำ 2nd Party Audit ในหัวข้อเรื่องการจ้างแรงงานแล้ว
    2. ปรับปรุงสภาพการจ้างงานให้ถูกต้องตามกฎหมาย
    3. ปรับปรุงสภาพการทำงานให้เหมาะสม
    4. เพิ่มโอกาสทางการค้าโดยวาง Product Position ใหม่
    5. สร้างภาพลักษณ์ของบริษัทให้เป็นที่ยอมรับในสังคมโดยเฉพาะในสายตาของผู้บริโภค
    6. ทำให้แรงงานมีความจงรักภักดีต่อองค์กร ประสิทธิภาพในการทำงานของแรงงานเพิ่มขึ้นและนำไป สู่การเพิ่มผลผลิตในที่สุด
    7. สร้างความสัมพันธ์อันดีต่อสังคม
    8. ลูกค้ามีความเชื่อมั่นในตัวสินค้าและบริการและมีความภักดีต่อองค์กร
    9. มีช่องทางการตลาดใหม่
    10. มีโอกาสในการเลือกแรงงานที่มีคุณภาพ
    11. ลดขั้นตอนและต้นทุนในการตรวจสอบ