กระเบื้องแสงรุ้งกลาสโมเสค
Pakarung - Think Ceramic Think Pakarung
ซิเบลโก้ มิเนอร์รัลส์ จัดหาแร่คุณภาพสำหรับอุุตสาหกรรมเซรามิคส์
Ferro
Keramat
MS Industrial Supplies
Ceramics R Us
Intrinsic technology

Intrinsic technology
ดร. คชินท์ สายอินทวงศ์

ความหมายของคำว่า Intrinsic technology นั้นหมายถึงความรู้ความเชี่ยวชาญในแขนงที่เราได้เรียนมา หรือในงานที่เราทำ ยกตัวอย่างเช่นผู้ผลิตถ้วยชามเซรามิก ก็ควรจะมีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับเซรามิก ผู้ผลิตถ้วยชามพลาสติคก็ควรมีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับพลาสติค ซึ่งมีเทคโนโลยีที่แตกต่างกันไป ดังนั้นถ้าองค์กรของเรามีการถ่ายทอด Intrinsic technology ที่ดี พนักงานในองค์กรตั้งแต่ระดับผู้บริหาร ระดับผู้บังคับบัญชา จนกระทั่งถึงระดับปฏิบัติการมีความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องของผลิตภัณฑ์ ยิ่งถ้ารู้ได้ถึงที่มาที่ไป รู้ถึงกระบวนการผลิต รู้ถึงวัตถุดิบที่ใช้ รู้ถึงสาเหตุของการเกิดปัญหาก็จะสามารถเข้าใจและหาหนทางแก้ไขปัญหาได้ในที่สุด

ปัญหาใหญ่ของผู้ประกอบการเซรามิกในบ้านเราคือการแก้ไขปัญหาแบบลองผิดลองถูกไม่รู้จริง อาจมีความเชื่อผิดๆมานานเพียงแต่ทำแล้วปัญหาหายไปในบางครั้งก็เลยคิดว่าเป็นทางแก้ที่ถูกต้อง ทำให้ของเสียเกิดขึ้นมากจนกลายเป็นความเคยชินไปว่าการผลิตเซรามิกนั้นต้องมีของเสียมาก ลองดูโรงงานที่ผลิตสุขภัณฑ์ขนาดใหญ่ที่มีการจัดการที่ดี พนักงานมีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการผลิตและมีกระบวนการแก้ไขปัญหาอย่างมีระบบ อ้างอิงตาม Intrinsic technology ก็สามารถผลิตชิ้นงานดีได้ในเปอร์เซนต์ที่สูงมากเมื่อเทียบกับโรงงานที่ทำการหล่อแบบชิ้นงานพวกของตกแต่ง ของใช้บนโต๊ะอาหาร ทั้งๆที่งานผลิตสุขภัณฑ์นั้นซับซ้อนและยุ่งยากกว่ามากไม่ว่าจะเป็นการออกแบบ การเทน้ำดิน การตกแต่ง การอบแห้ง รวมทั้งการเผา สิ่งที่แตกต่างกันที่ทำให้หลายโรงงานมีของเสียมากคือระบบการคิดและการแก้ไขปัญหาของพนักงานผู้ปฏิบัติหน้าที่ที่ทำงานโดยยังไม่มีความเข้าใจในงานอย่างแท้จริงการควบคุมคุณภาพในแต่ละกระบวนการยังไม่สมบูรณ์นัก หรือบางที่อาจกล่าวได้ว่ายังไม่มีเลย แม้จะทำการผลิตมานานแต่เป็นการทำโดยใช้ความเคยชินใช้ประสบการณ์เก่าๆของเจ้าของโรงงาน ถ้าโรงงานไหนผลิตแล้วมีของเสียน้อยลงทุกปี มีต้นทุนถูกลงทุกปี มีคนงานที่เก่งขึ้นทุกปีก็ไม่ต้องอ่านบทความนี้ต่อก็ได้ครับเพราะว่าคุณอยู่ในกลุ่มโรงงานขั้นเทพแล้ว

ผมขอบังอาจแบ่งกลุ่มของโรงงานเซรามิกในบ้านเราเป็น 4 กลุ่มนะครับ

กลุ่มแรกเป็นโรงงานขั้นเทพ ที่มีระบบบริหารงานที่ดี มีการพัฒนาพนักงานและเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง ผู้บริหารเป็นมืออาชีพ ที่เข้าใจในงานเป็นอย่างดี โรงงานกลุ่มนี้สามารถลดต้นทุนได้ทุกปีแม้ว่าค่าแรงจะเพิ่ม ค่าน้ำมันจะเพิ่ม ค่าวัตถุดิบจะเพิ่มก็ตาม กลุ่มนี้ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นบริษัทใหญ่ๆที่มีเงินทุนมาก อาจเป็นบริษัทเล็กๆแต่ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลและมีความเข้าใจในปัญหา พนักงานทุกระดับมีการหมุนวงล้อเดมมิ่ง (Plan-Do-Check-Action) อย่างต่อเนื่องและจริงจัง มีแผนการฝึกอบรมพนักงานเพื่อให้มีการพัฒนาทั้งด้านที่เกี่ยวข้องกับงานและด้านอื่นๆที่จะมาเสริมพัฒนาการของพนักงาน มีแผนการลดต้นทุนอย่างต่อเนื่องและคิดทุกเรื่อง พนักงานมีความตระหนักในเรื่องต้นทุน (Cost conscious) เป็นอย่างดี มีแผนการขยายงานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง หลายบริษัทที่ผมเคยเห็นว่าเขาขยายกำลังการผลิตในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำพอเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้นเขาก็พร้อมที่จะวิ่งนำไปเลย

กลุ่มที่สองเป็นกลุ่มของโรงงานที่พร้อมจะวิ่ง ผู้บริหารมีความเข้าใจและเปิดกว้างในการพัฒนาในทุกๆเรื่อง แต่พนักงานยังขาด Intrinsic technology ที่ดีพอ แต่พนักงานทุกคนพร้อมที่จะรับ เมื่อใส่สิ่งที่พวกเขาต้องการลงไปก็จะกลายเป็นโรงงานขั้นเทพได้โดยไม่ยาก

กลุ่มที่สามเป็นกลุ่มของโรงงานที่จมอยู่กับอดีต คิดถึงสิ่งที่เคยทำแล้วสำเร็จ ทั้งๆที่โลกได้เปลี่ยนไปแล้ว และเปลี่ยนไวเสียด้วย ผู้บริหารยังทำงานแบบเดิม แก้ปัญหาแบบเดิม เมื่อแก้ไม่ได้ก็จะโทษปัจจัยภายนอกที่มาทำให้เกิดปัญหาเช่นต้นทุนสูงเพราะน้ำมันแพง วัตถุดิบขึ้นราคา ค่าแรงขึ้นราคา ลูกค้าลดราคา หรือ....... ทำให้ไม่ทันการณ์ต่อการเผชิญกับปัญหาที่นับวันจะรุนแรงและรวดเร็วจนอาจทำให้ต้องล้มหายตายจากไปจากวงการเลยก็เป็นได้ ผู้บริหารของโรงงานประเภทนี้จะมีความเชื่อแบบของตัวเอง มั่นใจในสิ่งที่ตนเองเคยทำและประสบความสำเร็จ ไม่เชื่อในทฤษฐีใดๆแต่เชื่อในสิ่งที่ตนเองเคยปฏิบัติมา (ซึ่งอาจจะเข้าใจผิดมาตลลอดก็ได้) ความมั่นใจ ความเชื่อเก่าๆจะเป็นตัวปิดตาเราเอาไว้ไม่ให้เปิดโลกออกไป เปรียบเหมือนม้าลำปางที่เจ้าของเอาแว่นมาบังตาไว้ให้มันมองไปข้างหน้าได้อย่างเดียวเท่านั้น องค์กรที่ปิดกั้นความคิดของพนักงานก็จะไม่มีพนักงานที่สามารถทำงานให้เราได้อย่างเต็มที่เป็นเสมือนเพียงหุ่นยนต์ที่สั่งให้ทำอะไรก็ทำเท่านั้น

กลุ่มสุดท้ายคือโรงงานที่เพิ่งเริ่มต้น ยังมองไม่ออกว่าตนเองจะวิ่งไปในทิศทางใดจะเน้นลูกค้าเป็นหลัก โดยพัฒนารูปแบบและไปจ้างคนอื่นผลิต หรือผลิตเองทั้งหมด ในกรณีนี้ก็คงต้องบอกว่าคงต้องบอกว่าถ้าจะไปจ้างผู้อื่นผลิตก็คงต้องทำความรู้จักกันให้ดีพอว่าโรงงานที่เราไปจ้างนั้นอยู่ในกลุ่มไหนของสามกลุ่มข้างบน แต่ถ้าจะทำเองทั้งหมดก็คงต้องมีความรู้ในการผลิตเซรามิกเป็นอย่างดีเพราะการผลิตเซรามิกนั้นเรากำลังนำธาตุทั้งสี่คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ เข้ามาประกอบกันให้เป็นผลิตภัณฑ์ ดังนั้นจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจในงานที่ทำ มิฉะนั้นแล้วอาจไม่ได้เซรามิกอย่างที่เราต้องการก็ได้และจะเสียลูกค้าไปในที่สุด

องค์กรใดก็ตามที่พนักงานมีความรู้ในงานเป็นอย่างดีนั้นก็จะช่วยกันแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วและมีความขัดแย้งน้อยลงเพราะมีความเข้าใจในงานซึ่งกันและกัน พนักงานจะมีแนวคิดที่จะช่วยกันปรับปรุงและมองหน่วยงานถัดไปเป็นลูกค้าเสมอ บรรยากาศในการทำงานก็จะดี ทุกคนทำงานกันอย่างสนุกสนาน ของที่ผลิตออกมาก็จะดีตามไปด้วย สำหรับพนักงานปฏิบัติการนั้นการสอนให้พวกเขาได้รู้ในเหตุผลในการทำอะไรต่างๆก็จะทำให้พวกเขาเข้าใจในงานมากขึ้น คนเราเมื่อมีความเข้าใจในเรื่องที่ตนเองทำก็พร้อมจะลงมือปฏิบัติได้เป็นอย่างดีโดยไม่ลังเลหรือมีความสงสัยอันใดและพร้อมที่จะร่วมมือกันเพื่อประโยชน์โดยรวมขององค์กร นอกจากนี้เมื่อพนักงานมีความรู้จริงในงานที่ตนเองทำก็จะสามารถต่อยอดงานจนทำให้เกิดนวัตกรรมดีๆที่มีประโยชน์ให้แก่องค์กรได้เป็นอย่างดี

เคยมีเจ้าของโรงงานเซรามิกขนาดใหญ่ที่ลำปางคนหนึ่งบอกผมว่าเขาไม่อยากฝึกอบรมพนักงานหรือพัฒนาพนักงานมากนักหรอกเพราะเมื่อฝึกจนเก่งแล้วก็จะหนีเขาไป พวกเราชาวเซรามิกคิดอย่างไรกับปัญหานี้ครับ สำหรับผมมันก็เหมือนกับคำถามที่ว่าไก่กับไข่อะไรเกิดก่อนกัน ถ้าเราไม่ฝึกพนักงานให้เก่ง ผลประกอบการเราก็สู้คนอื่นไม่ได้ ทำให้ผลตอบแทนให้พนักงานน้อยลงสุดท้ายพนักงานก็ไป แต่ถ้าเรามีพนักงานที่มีความสามารถ มีประสิทธิภาพสูง ผลประกอบการดี เราสามารถให้ผลตอบแทนเขาได้ในราคาสูงขึ้น พนักงานสนุกกับการทำงานในองค์กร คนที่มีความสุขในการทำงานกับเพื่อนร่วมงานถ้าไม่มีเรื่องสุดวิสัยจริงๆเขาไม่ไปไหนหรอกครับ แต่แน่นอนมนุษย์ทุกคนมีความคิดไม่เหมือนกันยังอาจมีบางคนที่ชอบความท้าทาย ดังนั้นผู้บริหารควรมีตัววัดผลเทียบออกมาเป็นตัวเลขให้ได้ว่า Turn over ของพนักงานในแต่ละระดับเป็น%เท่าใด เพราะถ้าเราใช้ความรู้สึก แค่พนักงานออกไปคนเดียวแต่เป็นคนที่อยู่กับเรามานานหรือมีความหมายกับเรามาก ก็อาจทำให้เกิดความรู้สึกว่าพนักงานออกเยอะก็เป็นได้

การอบรมการผลิตกระเบื้องหลังคาเซรามิกให้กับบริษัทกระเบื้องหลังคาเซรามิกไทย จำกัด การอบรมเรื่องการเตรียมเนื้อดินและการขึ้นรูปให้กับบริษัทอิเมอรี่ส์คลินเฟอร์นิเจอร์ จำกัด
การอบรมเรื่องความรู้พื้นฐานในการผลิตกระเบื้องเซรามิกให้กับบริษัทไทย-เยอรมันเซรามิกอินดัสทรี้ จำกัด(มหาชน) การอบรมความรู้พื้นฐานทางเซรามิกสำหรับการผลิตแผ่นรองเผา ของบริษัทสยามเอ็นจีเคเทคโนเซอรา จำกัด
การอบรมความรู้เซรามิกให้หน่วยงานด้านการตลาดของบริษัทกระเบื้องหลังคาเซรามิกไทย จำกัด การอบรมความรู้เกี่ยวกับเฟลดสปาร์และการใช้งานในอุตสาหกรรมเซรามิกให้กับบริษัทพิพัฒน์กร จำกัด
การอบรมเรื่องความรู้พื้นฐานในการผลิตกระเบื้องเซรามิกให้กับบริษัทสหโมเสคอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน)


บริษัทในอุตสาหกรรมเซรามิกในเมืองไทยหลายๆบริษัทได้เห็นความสำคัญของ Intrinsic technology จึงได้ทำ In-house training โดยติดต่อผมให้เข้าไปอบรมพนักงานในบริษัทตั้งแต่ระดับผู้บริหารจนกระทั่งถึงผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งจากการอบรมให้กับหลายๆบริษัทพบว่าในความเป็นจริงแล้วในหลายแห่งยังทำงานโดยอิงอยู่กับประสบการณ์และแก้ปัญหาโดยไม่นำความรู้พื้นฐานมาอธิบาย รวมทั้งในแต่ละหน่วยงานก็ยังไม่เข้าใจกระบวนการผลิตทั้งกระบวนการทำให้ไม่รู้ว่าสิ่งที่หน่วยงานตนนั้นได้ทำผิดพลาดไปจะไปมีผลกระทบต่อหน่วยงานอื่น หรือกระทบต่อคุณภาพสุดท้ายของผลิตภัณฑ์อย่างไรบ้าง ประเภทเด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาวประมาณนั้นเลย

บริษัทที่ได้รับการอบรมทางด้านเทคนิคและกระบวนการผลิตได้แก่

  • บริษัทไทยเยอรมันเซรามิคอินดัสทรี้ จำกัด(มหาชน)
  • บริษัทเฟอร์โร ไทยแลนด์ จำกัด
  • บริษัทเพาเวอร์อินซูเลเตอร์ จำกัด
  • บริษัทสหโมเสคอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน)
  • บริษัทเคอร่าไทล์เซรามิก จำกัด
  • บริษัทสยามเอ็นจีเคเทคโนเซอรา จำกัด
  • บริษัทอิเมอรี่ส์ คลินเฟอร์นิเจอร์ จำกัด
  • บริษัทพิพัฒน์กร จำกัด
  • บริษัทสยามเซรามิกกรุ๊ปอินดัสทรี้ จำกัด
  • บริษัทกระเบื้องหลังคาเซรามิกไทย จำกัด
  • บริษัทกระเบื้องโอฬาร จำกัด


  • ตัวอย่างหลักสูตรที่มีการจัดฝึกอบรมให้กับบริษัทต่างๆ

    หลักสูตร Ceramic principle for Production and engineering

    วัตถุประสงค์ในการอบรม
    เพื่อให้พนักงานบังคับบัญชาและพนักงานระดับปฏิบัติการ (บางส่วน) ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตและการควบคุมคุณภาพ รวมทั้งฝ่ายวิศวกรรม ได้มีความรู้ในเชิงลึกเกี่ยวกับกระบวนการผลิตเซรามิก ซึ่งจะช่วยให้พนักงานสามารถเชื่อมโยงปัจจัยต่างๆเข้าด้วยกันและสามารถแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนได้ โดยการรู้สาเหตุที่แท้จริงของปัญหา นอกจากนั้นจะทำให้พนักงานมีความรู้เชื่อมโยงการผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิกของบริษัทตนเองกับกระบวนการผลิตเซรามิกชนิดอื่นๆเพื่อให้มีองค์ความรู้เพิ่มเติมในการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆได้ในอนาคต

    การอบรม
    บรรยายในห้องในภาคทฤษฏี และมีภาพประกอบการบรรยาย รวมทั้งให้มีการ ถาม-ตอบปัญหาในแต่ละหัวข้อของการอบรม

    ระยะเวลาการอบรม
    2 วันต่อรุ่น

    รายละเอียดการฝึกอบรม
    1. Raw materials

    1.1 Raw materials for body
    Kaolinite(แร่ดิน) ดินขาว, ดินเหนียว(Ball clay), ดินแดง(Red clay), Silica Quartz, Sand, Flint, Diatomite, Amorphous silica, Limestone, Feldspar, Pottery stone โดยอธิบายถึง ลักษณะการเกิดแร่, ความแตกต่างของแร่ชนิดต่างๆ, โครงสร้างของแร่, การตกแต่งแร่สำหรับอุตสาหกรรมเซรามิก, คุณสมบัติที่สำคัญของแร่นั้นๆ, การควบคุมคุณภาพ หัวข้อสำคัญในการควบคุมคุณภาพ, จุดประสงค์ในการใช้แร่นั้นๆสำหรับผลิตภัณฑ์เซรามิก, การเลือกใช้แร่ให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด, ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในระหว่างการเผาและในระหว่างแร่แต่ละชนิด

    1.2 Raw materials for glaze
  • Frit
  • Color stain
  • อธิบายถึง กระบวนการผลิตFrit และ Stain, Frit ชนิดต่างๆและข้อสำคัญในการเลือกใช้, Stainชนิดต่างๆ และข้อจำกัดในการเลือกใช้, วัตถุประสงค์ของการใช้งาน Frit และ Stain, การควบคุมคุณภาพของFritและStain
  • Feldspar, Dolomite, BaCO3, ZnO, CaCO3, Wollastonite, Talcum
  • Additive ต่างๆ ได้แก่ Deflocculant, Binder, Preservative, Antifoam, Suspending agent
  • อธิบายถึงประโยชน์ของการใช้งาน Additive ต่างๆ, กลไกของการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการไหลตัวของน้ำดินและสีเคลือบ, ขั้นตอนการเติมในน้ำดินหรือสีเคลือบ

    1.3 Raw material for engobe

    2. Body preparation

    2.1 เครื่องจักรสำหรับการบดย่อยพวก Hard materials
    การบดหยาบแบบ Primary crusher ได้แก่ Jaw crusher, Gylatory crusher, Cone crusher การบดหยาบแบบ Secondary crusher ได้แก่ Hammer mill, Pendular mill, Edge runner mill(Muller mill), Roller mill

    2.2 เครื่องจักรสำหรับการบดพวก Soft materials
    ได้แก่ Clay cutter, Turbo blunger, Dry pan mill, Screen feeder, Roller crusher, Pendular mill, Pug mill

    2.3 เครื่องจักรสำหรับการบดละเอียด
    ได้แก่ Ball mill (Batch mill, Continuous mill), Attrition mill, Jet mill

    2.4 เครื่องจักรสำหรับตีกวนผสมพวก Soft กับ Hard materials เข้าด้วยกัน ได้แก่ Turbo blunger, Screw blunger, Agitator

    2.5 วิธีการเตรียมเนื้อดินตามกระบวนการต่างๆ
    อธิบายถึงกระบวนการเตรียมดินแบบต่างๆ, การควบคุมปัจจัยต่างๆในกระบวนการ, การควบคุมคุณภาพของเนื้อดิน, ข้อดี-ข้อเสียของการเตรียมเนื้อดินแบบต่างๆ

    2.6 ทฤษฎีการบดอย่างละเอียดโดยกล่าวถึงปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการบด

    2.7 การควบคุมคุณภาพของน้ำslip
    %Residue, Density, Viscosity, %water content, Particle size distribution
    อธิบายถึงความสำคัญของปัจจัยแต่ละตัวและความเชื่อมโยงกันระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์

    2.8 หลักการทำงานของ Spray dryer และปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อคุณภาพของผงดิน

    3.หลักการและทฤษฎีในการอบแห้ง

    3.1 น้ำชนิดต่างๆในเนื้อดินดิบ

    3.2 เฟสต่างๆในกระบวนการอบแห้ง

    3.3 จุดวิกฤตของการอบแห้ง

    3.4 การควบคุมปัจจัยต่างๆในขั้นตอนการอบแห้ง

    3.5 พลังงานที่ใช้ในการอบแห้งและแนวทางการประหยัดพลังงานในการอบแห้ง

    3.6 ตารางการอบแห้งและตำหนิที่พบในช่วงการอบ
  • ตารางการอบแห้งของผลิตภัณฑ์เซรามิกชนิดต่างๆ(สุขภัณฑ์, ลูกถ้วยไฟฟ้า, กระเบื้อง, กระเบื้องหลังคา, กระถางเทอร์ราคอตตา, แผ่นรองเผา, วัสดุทนไฟ, อิฐก่อสร้าง)
  • ตำหนิที่เกิดขึ้นจากขั้นตอนการอบแห้ง


  • 4. การขึ้นรูป

    4.1 การขึ้นรูปชนิดต่างๆ
    Slip casting, Jiggering, Extrusion, Throwing
    Pressing Ram press, Friction press, Hydraulic press

    4.2 Hydraulic press

    4.3 การขึ้นรูปโดยการเทแบบ

    5. การผลิตสีเคลือบ

    5.1 เคลือบชนิดต่างๆ
    5.2 การแบ่งชนิดของเคลือบตามอุณหภูมิที่ใช้งาน
    5.3 การผลิตสีเคลือบและสีสกรีน
    5.4 เทคนิคการผลิตสี Basic glaze และประโยชน์ที่ได้
    5.5 การตรวจสอบคุณภาพของสีเคลือบหลังบด
    5.6 การควบคุมคุณภาพของสีเคลือบได้แก่ %Residue, Density, Viscosity, Particle size distribution, Shade &texture after firing, Defect, C.O.E (Thermal expansion coefficient), Flow test at high temperature, Softening point

    6. การเคลือบ

    6.1 การเคลือบโดยวิธีต่างๆ
  • การชุบเคลือบ(Dipping)
  • การใช้Spray gun
  • การเคลือบโดยใช้อุปกรณ์ต่างๆใน Glazing line

  • Double disc, Airless spray, Multi spray, Campana, Water fall, Mix spray, Spray cabin, Roto glaze, Brushing machine, Flat screen, Roto color, Drum printing, Dry application

    6.2 การควบคุมคุณภาพในGlazing lineได้แก่ น้ำหนักของสีเคลือบ, Rheologyของสีเคลือบและสีสกรีน (Viscosity and thixotropy), ความหนาแน่น, ผิวหน้าของเคลือบ และลักษณะการเคลือบ, อุณหภูมิหน้ากระเบื้อง, การเคลือบหลังกระเบื้องโดยใช้ Alumina หรือ Magnesite

    6.3 กระบวนการเคลือบผลิตภัณฑ์ชนิดต่างๆได้แก่ กระเบื้องปูพื้น/ บุผนัง, กระเบื้องแกรนิต, กระเบื้องหลังคา, สุขภัณฑ์, ลูกถ้วยไฟฟ้า, ถ้วยชามและของตกแต่ง

    7. การเผา

    7.1 เตาชนิดต่างๆได้แก่ Shuttle kiln, Tunnel kiln, Round kiln, Roller kiln, Rotary kiln, Furnace for glass &frit melting

    7.2 หลักการทำงานของเตาแบบ Roller kiln

    7.3 ปฏิกิริยาต่างๆที่เกิดขึ้นในระหว่างการเผา ในช่วงอุณหภูมิต่างๆ ทั้งใน Bodyและ Glaze

    7.4 ปฏิกิริยาการเผาไหม้ (Combustion reaction)

    7.5 การคำนวณค่าพลังงานความร้อน และGas consumption

    7.6 Microstructure of firing body

    7.7 Phase analysis by XRD

    8. การตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์หลังเผา

    8.1 Defect สาเหตุและแนวทางการแก้ไข
    Black core, Pinhole, Blister, Egg shell, Orange peel, Crazing and peeling, Crawling, Dimple, Warpage, Crack and Dunting (Cooling crack), Color variation

    8.2 การตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์หลังเผา
    %Water absorption, Bending strength, Surface hardness, Shade and texture, Frost resistance, Thermal shock resistance, Delay crazing, Abrasive resistance, Stain resistance, Water mark, Friction test, Size and planarity, Chemical resistance
    อธิบายถึงวิธีการตรวจสอบ และวัตถุประสงค์/ ความสำคัญในการควบคุม

    9. Trouble shooting

  • ปัญหา Size variation, ปัญหา กระเบื้องโค้งแอ่น, ปัญหารูเข็ม, รูลึก, ปัญหาShade variation, ปัญหาการบิดเบี้ยวของผลิตภัณฑ์, ปัญหาการแตกร้าวของผลิตภัณฑ์ ฯลฯ โดยทำการวิเคราะห์ปัญหาและกำหนดแนวทางการแก้ไขและป้องกัน