|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
| งานออกแบบเครื่องเคลือบฯในรั้วมหา’ลัยรังสิต | |
|
งานออกแบบเครื่องเคลือบฯในรั้วมหา’ลัยรังสิต วรวรรณ โอริส
เป็นเวลาหลายปีที่วงการเซรามิกคณะศิลปกรรม มหาวิทยาลัยรังสิตได้ผลิตบุคลากรที่เป็นนักออกแบบผลิตภัณฑ์เซรามิกให้กับวงการเซรามิกบ้านเรา ซึ่งเมื่อปีพ.ศ 2530 - 2537นั้นเซรามิกของเราเป็นสาขาหนึ่งที่อยู่ภายใต้ชื่อว่า สาขาวิชาเครื่องเคลือบดินเผา ต่อมาเมื่อเวลาผ่านไปคณะได้มีการปรับปรุงหลักสูตรจึงได้นำสาขาวิชาเครื่องเคลือบดินเผามารวมกับสาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์เนื่องจากเป็นสาขาที่มีความคล้ายกันในเรื่องของการเรียนการสอนเพียงแต่เราเน้นไปในทางเครื่องเคลือบดินเผาเป็นสำคัญและเครื่องเคลือบดินเผาก็เป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบผลิตภัณฑ์เช่นกัน หลังจากนั้นชื่อของสาขาวิชาเครื่องเคลือบดินเผาก็หายไป แต่ยังคงชื่อการออกแบบเครื่องเคลือบดินเผาในสาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และแล้วเราก็กลับมาอีกครั้งพร้อมงานออกแบบเพื่อนำเสนอโดยมีแนวคิดที่เป็นตัวของเราเอง และที่สำคัญกว่านั้น ชื่อของคณะศิลปกรรมก็ได้เปลี่ยนชื่อเช่นกัน ซึ่งผู้บริหารได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของชื่อคณะและหลักสูตรที่มีการปรับปรุงจุดประสงค์เพื่อให้สอดคล้องกับสมัยปัจจุบันที่เน้นการเรียนการสอนไปในเรื่องของศิลปะและการออกแบบโดยเฉพาะสาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมซึ่งเป็น 1 ใน 6 สาขาวิชาที่มุ่งเน้นการเรียนการสอนไปในทางออกแบบที่ผสมผสานไปกับงานอุตสาหกรรมที่สามารถผลิตเป็นงาน Mass – Produce หลักสูตรการเรียนการสอนของเราตลอดทั้ง 4 ปี มีวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ 5 รายวิชา
รายวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 1(นักศึกษาชั้นปีที่ 1)
มีจุดประสงค์มุ่งเน้นให้นักศึกษาได้ฝึกฝนการใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เป็นรายวิชาออกแบบที่นักศึกษาทุกคนเรียนเหมือนกันโดยการแบ่งนักศึกษาเป็น 3 กลุ่ม แต่ละกลุ่มมีอาจารย์ประจำกลุ่ม 1 ท่านแต่ละท่านจะให้ Project ที่แตกต่างกัน ตลอดทั้งเทอมนักศึกษาจะได้ผลงานคนละ 3 ชิ้น โดยมีการเรียนแบบวนพบอาจารย์ทั้ง 3 ท่าน Project แต่ละProject จะอยู่ในเงื่อนไขที่เหมือนกันคือAesthetics, Form and Function โดยคำนึงถึง user – center เป็นหลัก
รูปผลงานการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 1
|
|
กระปุกออมสิน ออกแบบ โดย นายบุญญฤทธิ์ ดวงแก้ว |
|
|
|
|
กระปุกออมสิน ออกแบบ โดย นายศิวเทพ โชติหิรัญพาณิชย์ |
|
|
|
|
กระปุกออมสิน ออกแบบ โดย นายมานะธัม เจริญเศรษฐมหา |
|
|
|
|
โคมไฟ ออกแบบ โดย นางสาวลลิตา กุลตังวัฒนา |
|
|
|
|
โคมไฟ ออกแบบ โดย นางสาวดวงกมล วงศ์สมศรี |
|
|
|
รายวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 2
การเรียนการสอนจะมุ่งเน้นการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีกลไกเข้ามาเกี่ยวข้อง ตลอดทั้งเทอมจะมีผลงานการออกแบบเพียง 1 ชิ้น เท่านั้นเพราะมุ่งเน้นกระบวนการคิดที่ซับซ้อนมากขึ้น ในรายวิชาออกแบบ 2 นี้นับว่าเป็นวิชาที่มีความแตกต่างจากวิชาดีไซน์ตัวอื่นนอกจากจะให้มีความงามและประโยชน์ใช้สอยแล้วยังต้องมีกลไกเข้ามาร่วมด้วย
รูปผลงานการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 2
|
|
ผลิตภัณฑ์เพื่อความผ่อนคลาย ออกแบบ โดย นส.กิติญา สันติสุข |
รายวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 3
เป็นวิชาที่มี 2 แผนให้นักศึกษาได้เลือกเรียนตามความถนัดแผนที่ 1 คือเลือกศึกษางานผลิตภัณฑ์ทั่วไป และแผนที่ 2 เลือกศึกษางานทางด้านเซรามิกส์โดยเฉพาะ นักศึกษาที่เลือกเรียนทางด้านนี้โดยตรงต้องเลือกเรียนรายวิชาออกแบบตัวที่ 4 และ5 อีกทั้งวิชาศิลปนิพนธ์นักศึกษาต้องศึกษาวิจัยด้วยเช่นกัน วิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 3 เป็นรายวิชาที่ศึกษาหลักการและกระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องมือและอุปกรณ์ในครัวเรือน ไม่ว่าจะศึกษาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทั่วไปหรือเฉพาะทางเครื่องเคลือบดินเผาก็ใช้หัวข้อเดียวกัน
รูปผลงานการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 3
|
|
น้ำล้นรูปแบบตะบองเพ็ชร ออกแบบ โดย นส.มัณฑณา สุวรรณพงษ์ |
|
|
|
|
โคมไฟแนวคิดปลาดาว ออกแบบ โดย นายทรงวุฒิ การงาน |
|
รายวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 4
เน้นสำหรับผู้บริโภคเพื่อสาธารณประโยชน์ ซึ่งคำนึงถึงความสัมพันธ์ของการออกแบบผลิตภัณฑ์กับสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และพฤติกรรมของมนุษย์
รูปผลงานการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 4
|
|
เก้าอี้ดอกไม้ ออกแบบ โดย นายจิรวัฒน์ จิตโชติ |
ที่มาและแนวความคิด
เก้าอี้ดอกไม้ได้แนวคิดจากดอกลั่นทม ที่ปลูกในสวนสาธารณะมากกว่าที่บ้านเพราะเกิดจากความเชื่อของคนไทยที่ว่าถ้าปลูกต้นลั่นทมไว้บริเวณบ้านจะมีแต่ความทุกข์ระทมดังนั้นเรามักจะพบเห็นต้นลั่นทมตามสถานที่สาธารณะจึงมีแนวคิดที่จะเป็นสื่อให้ดอกลั่นทมโดยถ่ายทอดความงามของดอกลั่นทมลงไปบนผลิตภัณฑ์เก้าอี้ สามารถนำมาตกแต่งทั้งในสวนสาธารณะและที่บ้านได้โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม สามารถนั่งได้สะดวกสบาย
รายวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 5
เป็นรายวิชาที่ศึกษาผลิตภัณฑ์แนวคิดใหม่ๆ โดยการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ในการออกแบบ
รูปผลงานการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 5
|
|
น้ำล้น ออกแบบ โดย นายวิชาญ ปัญญาสัย |
แนวความคิด
ได้แนวความคิดจากภาวะโลกร้อนที่ต้องการให้ทุก คนหวลกลับมาสร้างบรรยากาศภายในบ้านให้มีความชุ่มชื่นร่มเย็นจากการปลูกต้นไม้และเพิ่มความเป็นธรรมชาติด้วยน้ำล้นกับผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ที่สามารถบันดาลรูปแบบได้ดังความต้องการ
หลังจากเรียนการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมทั้ง 5 รายวิชาไปแล้วนักศึกษาต้องลงเรียน วิชาโครงการศิลปนิพนธ์และศิลปนิพนธ์ตามลำดับ นักศึกษาสามารถที่จะเลือกศึกษาโครงงานตามความถนัดเช่น โครงงานในกลุ่มเฟอร์นิเจอร์, กลุ่มของเล่น, กลุ่มบรรจุภัณฑ์, กลุ่มนวัตกรรม, กลุ่มสิ่งประดิษฐ์ และกลุ่มของใช้ทั่วไป
รูปตัวอย่างผลงานศิลปนิพนธ์
|
|
โคมไฟประดับเครื่องเคลือบดินเผา ออกแบบ โดย นายศาศวัต โชติพานิช |
โครงการออกแบบโคมไฟประดับเครื่องเคลือบดินเผา
โคมไฟประดับเครื่องเคลือบดินเผานี้ได้ แนวความคิดมาจากปะการังเพื่อตอบสนองผู้ที่ต้องการตกแต่งบ้านและสวนในแนวของบรรยากาศทะเล
|
|
แจกันปรับเปลี่ยนรูปทรง ออกแบบ โดย นางสาว ชลธิชา เผือกคุณ |
ที่มาของแนวความคิด
ปัจจุบันคนเราทุกวันนี้ก่อนที่จะซื้อผลิตภัณฑ์ตกแต่งบ้านอะไรสักอย่างต้องคำนึงถึงความคุ้มค่าก่อนเสมอว่าผลิตภัณฑ์นั้นๆ มีประโยชน์มากน้อยเพียงใด สามารถนำมาตกแต่งได้หลากหลายสไตล์ในหนึ่งเดียว ดังนั้นจึงเป็นที่มาของแจกันปรับเปลี่ยนรูปทรงชุดนี้ ซึ่งได้นำรูปทรงของเรขาคณิตมาเล่นปรับเปลี่ยนเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค
|
|
|
|
|
|
|