กระเบื้องแสงรุ้งกลาสโมเสค
Pakarung - Think Ceramic Think Pakarung
ซิเบลโก้ มิเนอร์รัลส์ จัดหาแร่คุณภาพสำหรับอุุตสาหกรรมเซรามิคส์
Ferro
Keramat
MS Industrial Supplies
Ceramics R Us
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

หลักสูตรเซรามิก สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
ผ.ศ. ดร. ดรุณี วัฒนศิริเวช

กลุ่มวิจัยเซรามิก มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ได้จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2546 โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับเซรามิก ให้เทียมทันกับงานวิจัยในระดับนานาชาติ และเพื่อบ่มเพาะบุคลากรรุ่นใหม่ ที่จะมีส่วนช่วยในการพัฒนาอุตสาหกรรมเซรามิกไทย ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศได้เป็นอย่างดี โดยอาศัยกลไกของการจัดการศึกษา ในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา 2 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรระดับปริญญาโทสาขาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเซรามิก ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถทำการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่รวมถึงการแก้ปัญหาในกระบวนการผลิตได้อย่างเป็นระบบ และหลักสูตรสาขาวัสดุศาสตร์ ซึ่งเป็นหลักสูตรต่อเนื่องตั้งแต่ระดับปริญญาโทจนถึงระดับปริญญาเอก ที่มุ่งเน้นในผู้เรียนสามารถค้นหาองค์ความรู้ใหม่เพื่อเผยแพร่ในระดับสากล

ผลงานวิจัยและรางวัล

ในระหว่างปี 2548-2551 กลุ่มวิจัยเซรามิก มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
มีจำนวนบทความที่ตีพิมพ์ ระดับชาติและนานาชาติ รวม 5 บทความ
จำนวนบทความที่นำเสนอในที่ประชุมระดับนานาชาติ 5 ครั้ง
จำนวนบทความที่นำเสนอในที่ประชุมระดับชาติ 6 ครั้ง
และสิทธิบัตรงานวิจัย จำนวน 1 ชิ้น
มีนักศึกษาที่ได้รางวัลในการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ 1 รางวัล

ในปัจจุบันกลุ่มวิจัยฯ มีงานวิจัยที่มุ่งเน้นในสองด้าน ด้านแรกคือ เซรามิกอุตสาหกรรม ได้แก่การวิจัยที่เน้นการนำวัตถุดิบในประเทศมาใช้เพื่อลดต้นทุนในการผลิต การศึกษากลไลการเปลี่ยนแปลงของเนื้อดินเมื่อเผาและการพัฒนาสูตรผสมเพื่อลดอุณหภูมิในการเผา การพัฒนาสูตรและเทคนิคการผลิตใหม่ ๆ ของเคลือบและผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเซรามิก เช่น ไส้กรองเซรามิก ถ้วยครูซิเบิล อิฐและวัสดุปูพื้น ให้มีคุณสมบัติที่ดีขึ้นและประหยัดพลังงาน ส่วนด้านเซรามิกยุคใหม่ จะมุ่งเน้นการพัฒนาและปรับปรุงสมบัติและประสิทธิภาพของวัสดุที่ประยุกต์ใช้ด้านการพลังงานเป็นหลัก ได้แก่ การพัฒนาวัสดุสำหรับเซลล์เชื้อเพลิงชนิดอิเล็คโตรไลต์ของแข็ง รวมถึงการพัฒนาต้นแบบเซลล์เชื้อเพลิง เป็นต้น

ทุนวิจัยและการศึกษา

ในระหว่างปี 2546-2551 กลุ่มวิจัยเซรามิก มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ได้รับเงินสนับสนุนงานวิจัยและสร้างสรรค์จากทั้งภายในและภายนอกคิดเป็นเงินประมาณ 5 ล้านบาท และได้ให้ทุนผู้ช่วยวิจัยแก่นักศึกษามาแล้วกว่า 10 ทุน ในปัจจุบันนักศึกษายังได้รับทุนเพื่อการศึกษาจากแหล่งทุนภายนอกเพื่อการศึกษาทั้งในระดับ ป. โท เช่น ทุนเมธีวิจัยทุนสนับสนุนการวิจัยจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ทุน สกว-สสว และระดับ ป. เอก เช่นทุนปริญญาเอกกาญจนาภิเษก ทุนปริญญาเอกจาก Thailand Graduate Institute of Science and Technology

ความร่วมมือ

กลุ่มวิจัยฯ มีความร่วมมือในด้านงานวิจัยและการเรียนการสอนทั้งในสถาบันการศึกษาวิจัยและวิชาการ อุตสาหกรรมระดับชาติและนานาชาติกับหน่วยงานต่างๆ ต่อไปนี้
  • University of Bath, UK
  • Mr. Phil Robinson, independent consultant specialising in the field of classical, or clay, ceramics, UK.
  • มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)
  • โรแยลเซรามิกอุตสาหกรรมจำกัด มหาชน
  • อิมเมอริส คิล์นเฟอร์นิเจอร์ (ประเทศไทย)
  • กลุ่มเซรามิกชุมชน เช่น ชุมชนเวียงบัว ชุมชนเหมืองกุง


  • เครื่องมือวิจัยและสืบค้นเอกสาร

    มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงมีศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีความพร้อมในการให้บริการสนับสนุน รวมทั้งห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐาน และเครื่องมือวิเคราะห์ทดสอบเฉพาะทางที่มีความหลากหลายและทันสมัย ตลอดจนบุคลากรที่มีความพร้อม เพื่อส่งเสริมการวิจัยของนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาให้ได้ผลงานวิจัยที่มีคุณภาพสูง ดังนั้นการสอนภาคบรรยายและภาคปฏิบัติการจะใช้สถานที่และอุปกรณ์การสอนของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เป็นหลัก นอกจากนี้ในรายวิชาวิทยานิพนธ์ นักศึกษาอาจเลือกทำการวิจัยและเก็บข้อมูลประกอบการวิจัยจากแหล่งข้อมูลอื่น เช่น โรงงานอุตสาหกรรมเซรามิกของตนเอง ศูนย์/สถาบันวิจัยอื่น ๆ ในจังหวัดลำปาง หรือเชียงใหม่ เป็นต้น ในส่วนของการสืบค้นข้อมูลสามารถทำได้โดยผ่านฐานข้อมูลวิทยาศาสตร์เช่น Sciencedirect, Springerlink เป็นต้น

    ผู้ดูแลหลักสูตร

    ผ.ศ. ดร. ดรุณี วัฒนศิริเวช (Ph.D., Ceramic Engineering, U. of Leeds, UK)
    สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จ. เชียงราย 57100
    โทร: 053-916263 โทรสาร 053-916776 E-mail: darunee@mfu.ac.th

    กิจกรรมการเยี่ยมชมโรงงานและงานวิจัยร่วม

    กิจกรรมปั้นดินสัปดาห์วิทยาศาสตร์
    dilatometer

    XRD
    เคลือบเซรามิกจากขี้เถ้าแกลบ
    กลุ่มเซรามิกชุมชนเวียงกาหลง เวียงกาหลง
    ชุมชนเวียงบัว พะเยา
    ผลงานของชุมชนเวียงบัว