|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
| ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพบ้านกุดนาขาม | |
|
แนะนำศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพบ้านกุดนาขาม MR.CER-CON
ถ้าเอ่ยถึงโรงงานเซรามิกในบ้านเราคนส่วนใหญ่ก็จะนึกถีงที่ลำปาง สระบุรี ราชบุรี ชลบุรี สมุทรสาคร โดยที่ดินแดนอีสานนั้นแทบจะไม่มีคนนึกถึงว่ามีโรงงานเซรามิกอยู่เลย นอกเหนือจากที่ด่านเกวียนที่ตั้งอยู่ที่โคราช ประตูสู่อีสาน วันนี้จะพาไปรู้จักโรงงานเซรามิกที่สกลนคร ที่ซึ่งพิเศษกว่าโรงงานเซรามิกทั่วๆไปตรงที่ไมได้เน้นแต่การทำธุรกิจผลิตเซรามิกอย่างเดียวแต่เป็นที่ซึ่งสร้างงาน สร้างอาชีพให้ประชาชนในถิ่นนั้น และที่สำคัญคือเป็นที่ซึ่งกำเนิดมาจากพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ
โรงงานเซรามิกที่กำลังจะเอ่ยถึงนี้คือศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพบ้านกุดนาขาม อำเภอเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร ซึ่งถือได้ว่ามีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานทีเดียว โดยจุดเริ่มต้นเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2525 สมเด็จพระนางเจ้า ฯพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎร บ้านกุดนาขาม ๆ เป็นหมู่บ้านหนึ่งที่มีราษฎรยากจนจำนวนมาก แต่ราษฎรมีความสามัคคี กลมเกลียวกันดี จึงทรงมีพระราช ดำริ ให้ราษฎรปลูกต้นไม้รักษาป่า คณะกรรมการหมู่บ้านก็พร้อมใจกันถวายที่ดินสาธารณะของหมู่บ้านจำนวน 43 ไร่ 3 งาน 32 ตารางวาสำหรับจัดตั้งโครงการป่ารักน้ำและราษฎรบ้านกุดนาขามได้ช่วยกันเสียสละแรงงานด้วยการปลูกต้นไม้โตเร็วและร่วมกันปลูกต้นไม้เสริมจากที่มีอยู่เดิม
เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2526 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมโครงการป่ารักน้ำ บ้านกุดนาขามอีกครั้งหนึ่งทรงปลูกต้นไม้และทรงมีราชดำริให้ราษฎรปลูกเพิ่มเติมในช่วงนั้น ได้จัดครูมาช่วยฝึกสอนอาชีพต่าง ๆ ตามที่ราษฎรถนัดและทรงมีพระราชดำริ ที่จะให้บ้านกุดนาขามเป็นหมู่บ้านตัวอย่างจึงทรงมีพระเมตตาให้จัดตั้งศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพขึ้น ณ บ้านแห่งนี้โดยมีพระราชเสาวนีย์ให้พันเอก เรวัต บุญทับ (ยศในขณะนั้น ปัจจุบันคือพล.อ ณพล บุญทับ รองสมุหราชองครักษ์) เข้าเฝ้าเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2526 ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐานเพื่อรับพระราชนโยบายเกี่ยวกับการจัดตั้งโรงงานเครื่องปั้นดินเผาขึ้นที่บ้านกุดนาขาม จึงเป็นจุดเริ่มต้นของศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพมาตั้งแต่บัดนั้น
วิสัยทัศน์ ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพบ้านกุดนาขาม
ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพบ้านกุดนาขามเป็นศูนย์ส่งเสริมอาชีพ และคุณภาพชีวิตราษฎร มุ่งเน้นความเป็นผู้นำในการผลิตเซรามิก ลายภาพเขียน เพื่อการค้า
เป้าหมายและวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งศูนย์มีดังนี้
1.ส่งเสริมให้ราษฎรมีอาชีพเสริมภายหลังเสร็จสิ้นฤดูกาลทำนาไม่ละทิ้ง ถิ่นฐานตนเอง เข้าไปรับจ้างตามเมืองใหญ่ ๆ หรือในกรุงเทพฯ
2. เพื่อยกระดับรายได้ของราษฎร และให้ราษฎรมีความรู้ ความสามารถ ในอาชีพที่ตนถนัด เมื่อนำไปประกอบอาชีพแล้วสามารถช่วยเหลือตัวเองได้
3. เพื่ออนุรักษ์สภาพแวดล้อมและให้ราษฎรมีส่วนช่วยกันรักษาสภาพป่าให้คงอยู่ตลอดไป
4. สืบทอดประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่น ลงบนผลิตภัณฑ์ เพื่อถ่ายทอดให้กับอนุชนรุ่นหลัง รวมทั้งประชาชนทั่วไปได้ศึกษาถ่ายทอดต่อไป
5. เพื่อให้เป็นหมู่บ้านพัฒนาดีเด่นเป็นตัวอย่างการพัฒนาหมู่บ้านอื่น ๆ
6. เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวในระดับท้องถิ่น
กิจกรรมต่าง ๆ ภายในศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพบ้านกุดนาขาม
ลำดับ |
แผนก |
ครู |
สมาชิก |
หมายเหตุ |
1 |
แผนกเครื่องปั้นดินเผา |
3 |
122 |
|
2 |
แผนกดอกไม้ประดิษฐ์ |
1 |
13 |
|
3 |
แผนกตัดเย็บเสื้อผ้า |
1 |
12 |
|
4 |
แผนกทอผ้าไหม |
- |
42 |
|
5 |
แผนกเฟอร์นิเจอร์ / แผนกแกะสลักไม้ |
- |
14 |
|
6 |
แผนกตีเหล็ก/หล่อโลหะ |
- |
8 |
|
7 |
แผนกจักสาน / แผนกตัดเย็บเครื่องหนัง |
- |
8 |
|
8 |
แผนกอาหารขนม/ เกษตร |
- |
7 |
|
9 |
แผนกปักผ้า / แผนกอัดอิฐบล็อก |
- |
9 |
|
10 |
แผนกเครื่องประดับปีกแมลงทับ / แผนกอัดกรอบพระ/เลี้ยงไหม |
- |
5 |
|
11 |
แผนกวาดภาพบนผืนผ้าใบ |
2 |
20 |
|
12 |
- ฝ่ายธุรการ - ฝ่ายบรรจุภัณฑ์และจำหน่วยผลิตภัณฑ์ - ภารโรง/พลขับรถ |
|
4 12 4 |
|
|
รวมทั้งสิ้น 18 แผนก |
7 |
282 |
|
รวมทั้งสิ้น 18 แผนก |
- มีสมาชิกศูนย์ ฯ | 282 คน |
- ครู/อาจารย์ประจำแผนก | 7 คน (ช.5, ญ.2) |
- เจ้าหน้าที่ทหารชุดปฏิบัติการ | 10 นาย ( น. 4 นาย, ส. 6 นาย) |
ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพบ้านกุดนาขามได้เริ่มผลิตเซรามิกส์มาตั้งแต่ปี 2526 ซึ่งในระยะแรกของการดำเนินงานนั้นได้ใช้เนื้อดินสำเร็จรูปมาใช้สำหรับการขึ้นรูปทั้งงานแป้นหมุน งานปั้นอิสระและงานหล่อแบบ โดยมีอาจารย์จากทางกรมวิทยาศาสตร์บริการมาเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้เรียกได้ว่าตั้งแต่นับหนึ่งเลยทีเดียวเริ่มตั้งแต่สอนปั้นแป้นหมุน การทำพิมพ์สำหรับงานหล่อแบบ สอนการเขียนลาย การตกแต่ง สอนการเคลือบ การเผา โดยมีอาจารย์ที่อยู่ประจำศูนย์สามท่านคือ อาจารย์เดช สุภาพ ที่ดูแลทางด้านงานเตรียมเนื้อดินปั้นและงานปั้นแป้นหมุน อาจารย์พสธร ตันมา ดูแลทางการทำแบบพิมพ์ การปั้นอิสระ การเคลือบและเตาเผา อาจารย์นวลจันทร์ ตันมา ดูแลการเขียนลายและตกแต่งผลิตภัณฑ์ให้มีความสวยงามมากขึ้น และมีหัวหน้าศูนย์ที่เอาการเอางาน เป็นทหารที่รู้เรื่องเซรามิกได้ดีที่สุดคนหนึ่งที่ผมได้รู้จักมา คือร้อยเอกประดิษฐ์ พิมพการ ซึ่งทำทั้งหน้าที่ผู้ดูแลศูนย์และฝ่ายการตลาดไปด้วยในตัว หลังจากที่สมาชิกได้เรียนรู้จนมีความชำนาญมากขึ้นก็เริ่มมีแผนในการลดต้นทุนการผลิตโดยหาแหล่งที่เป็นวัตถุดิบในท้องถิ่นมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต ศูนย์ฯจึงได้ทดลองดินในพื้นที่บ้านกุดนาขามจนสามารถผลิตมาเป็นเซรามิกส์ดินลาย ซึ่งต่อมากลายเป็นเอกลักษณ์ของศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพบ้านกุดนาขามซึ่งมีสีสันและลวดลายที่แตกต่างไปจากผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นอื่นๆ ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง นอกจากนี้ยังมีการนำตัวอย่างดินขาวจากบ้านขามเปี้ย ตำบลข่า อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม มาให้ศูนย์ฯทดลองซึ่งผลปรากฏว่ามีคุณสมบัติใกล้เคียงกับดินขาวลำปางต่อมาได้นำมาทดลองและสามารถขึ้นรูปและหล่อน้ำดินได้โดยมาผสมกับดินดำจากลำปาง ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลงเป็นอย่างมาก
หลังจากที่ศูนย์ฯได้รับการอบรมมาอย่างต่อเนื่องประกอบกับสมาชิกในศูนย์ไม่ค่อยมีการลาออก ดังนั้นความชำนาญในการผลิตจึงมีมากขึ้น ดังนั้นในช่วงปีที่ผ่านมาทางกรมวิทยาศาสตร์บริการจึงได้เริ่มทำการพัฒนาสมาชิกในด้านอื่นๆนอกเหนือจากงานผลิตเซรามิกเพื่อให้สมาชิกได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทั้งวิธีการทำงานและระบบการทำงานต่างๆทั้งการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร การทำ5 ส เพื่อเพิ่มผลผลิต การลดความสูญเสียในกระบวนการผลิตเซรามิก การจัดทำAction plan สำหรับอาจารย์ผู้ควบคุมงาน ซึ่งทำให้สมาชิกได้มีความเข้าใจในกระบวนการทำงานเพื่อผลิตสินค้าให้มีคุณภาพดีขึ้นและลดต้นทุนการผลิตอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการทำงานที่มีมาตรฐานได้ใกล้เคียงกับโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆมากขึ้น
นอกจากความรู้ความสามารถในการผลิตเซรามิกของสมาชิกในศูนย์ฯมีการพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่องแล้วผลการดำเนินงานของศูนย์ฯยังช่วยพัฒนาความเป็นอยู่ในด้านต่างๆของราษฎรดังนี้
1. สภาพความเป็นอยู่ของราษฎรโดยส่วนรวมของหมู่บ้านกุดนาขามก่อนจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพ ราษฎรมีรายได้เฉลี่ยครอบครัวละ 5,000 บาท ต่อปี ปัจจุบันราษฎรมีรายได้เฉลี่ยครอบครัวละประมาณ 87,899 บาท
2. สุขภาพอนามัยของราษฎรอยู่ในเกณฑ์ ดี
3. สภาพการศึกษา ราษฎรที่ไม่รู้หนังสือไม่มีแล้วในชุมชน
4. สภาพการทำงาน ราษฎรเดินทางไปทำต่างถิ่น ลดลงอย่างมาก ส่วนใหญ่ก็เข้ามาทำงานที่ศูนย์ฯ
ซึ่งสมาชิกในศูนย์ทุกคนต่างมีความภาคภูมิใจที่ได้ทำงานรับใช้พระองค์ท่านที่ศูนย์แห่งนี้เป็นอย่างมาก ปัจจุบันที่โรงงานเซรามิกแห่งนี้มีเครื่องมือ เครื่องจักรที่เรียกได้ว่าพอจะทำงานเลี้ยงตนเองได้ทีเดียวไม่ว่าจะเป็นหม้อบด Filter press ถังตีดิน Edge runner เครื่องรีดดิน แป้นหมุนไฟฟ้าหลายเครื่อง เครื่องจิ้กเกอร์ เครื่องโรลเลอร์ เตาเผาขนาดกลางหลายลูก ซึ่งก็มีงานออเดอร์จากลูกค้าแหล่งต่างๆเข้ามาอยู่เรื่อยๆไม่ว่าจะเป็นชุดถ้วยกาแฟ แจกันเขียนรูปเหมือน และล่าสุดคือถ้วยรองน้ำยางที่มีออเดอร์เข้ามาไม่จำกัดเนื่องจากในปัจจุบันภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยเฉพาะแถบหนองคาย อุดรธานี สกลนคร หนองบัวลำภู มีการปลูกยางกันเป็นจำนวนมากดังนั้นถ้วยรองน้ำยางของศูนย์ฯจึงเป็นที่ต้องการของชาวสวนยางในแถบนี้มาก จึงนับได้ว่าศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพบ้านกุดนาขามเป็นศูนย์ส่งเสริมความรู้ความสามารถทางเซรามิกให้กับผู้คนในแถบนี้ได้เป็นอย่างดี
|
|
|
|
|
|
ทางเข้าศูนย์ฯ |
|
ด้านหน้าของศูนย์ฯ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ร้อยเอกประดิษฐ์ หัวหน้าศูนย์ฯ |
|
|
|
ขีดสีตีเส้น |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
อาจารย์ทั้งสามท่าน |
|
สมาชิกกำลังเรียนรู้เทคนิคใหม่ๆ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ดินลายเอกลักษณ์ของศูนย์ฯ |
|
ภาพเขียนลายวรรณคดี |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ภาพเขียนพระองค์ท่าน |
|
ผลิตภัณฑ์จากดินพื้นบ้าน |
|
ผลิตภัณฑ์แบบใหม่ๆจาก อาจารย์กรมวิทย์ฯ |
|
ลวดลายที่วิจิตรบรรจง |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ภายในห้องแสดงสินค้า |
|
เริ่มดำเนินการทำ5ส |
|
|
|
|
|
|
|
|
สมาชิกกำลังประชุมเพื่อลดความสูญเสีย |
|
สมาชิกกำลังอบรมTQM |
|
|
|
|
|
|
|
|