|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
| ไพโรฟิลไรท์ (Pyrophyllite) | |
|
ไพโรฟิลไรท์ (Pyrophyllite) ดร. คชินท์ สายอินทวงศ์
คำว่า pyrophyllite นั้นมาจากภาษากรีก 2 คำคือคำว่า piros (หมายถึง fire) และ phyllon (หมายถึงใบไม้ leaf)
โครงสร้างของแร่ Pyrophyllite
ไพโรฟิลไลท์เป็นแร่ดินที่มีโครงสร้างแบบ mica-like ประกอบด้วย 2 hexagonal layer ของ SiO2 tetrahedral กับ Al3+ octahedral มีโครงสร้างใกล้เคียงกับ talcum
สูตรเคมี คือ Al2O3 4SiO2 H2O
ส่วนประกอบทางทฤษฎีประกอบด้วย 56% SiO2 33%Al2O3 11%H2O ไม่มีการแทนที่ของพวก alkali หรือ alkali earth cation
แหล่งไพโรฟิลไลท์ที่สำคัญของโลกอยู่ที่ ญี่ปุ่น รัสเซีย (แถบเทือกเขาอูราล) U.S.A บราซิล และแอฟริกาใต้ สำหรับแหล่งในเมืองไทยนั้นที่สำคัญคือจังหวัดสระบุรีและนครนายก
จากการวิเคราะห์ด้วยเครื่อง D.T.A (Differential Thermal Analysis) จะพบ peak endothermic ในช่วง 600-800 oC เนื่องจากเกิด dehydroxylation หรือการสลายตัวของน้ำในโครงสร้างผลึก ซึ่งถ้าดูจากเครื่อง T.G.A ก็จะพบว่าที่อุณหภูมินี้มีการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักอย่างเห็นได้ชัด ไพโรฟิลไลท์เป็นแร่ที่มีความทนไฟสูง ตกผลึกให้ mullite และ SiO2 ที่อุณหภูมิ 1200 °C และมีจุดหลอมตัวที่ 1630 °C
DTA curve ของไพโรฟิลไลท์
การใช้งานในอุตสาหกรรมเซรามิกส์
ใช้ในอุตสาหกรรมกระเบี้องเซรามิกส์ ทั้งในกระเบี้องปูพื้นและบุผนัง สำหรับทำเนื้อ body เนื่องจากเป็นแหล่งที่ให้ SiO2 และ Al2O3 ที่มีราคาถูกกว่า kaolin หรือ ball clay
สำหรับอุตสาหกรรมวัสดุทนไฟ ใช้สำหรับเป็นแหล่งให้ SiO2 สำหรับ Silica brick และพวก crucible ต่างๆ ที่ใช้หลอมแก้ว หลอมโลหะ
์การใช้งานในอุตสาหกรรมอื่นๆ
ในอุตสาหกรรมยาง และพลาสติก ใช้เป็นตัว filler คล้ายกับ kaolin
ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตยาฆ่าแมลง
|
|
|
|
|
|
|