กระเบื้องแสงรุ้งกลาสโมเสค
Pakarung - Think Ceramic Think Pakarung
ซิเบลโก้ มิเนอร์รัลส์ จัดหาแร่คุณภาพสำหรับอุุตสาหกรรมเซรามิคส์
Ferro
Keramat
MS Industrial Supplies
Ceramics R Us
การขึ้นรูปด้วยการอัดแบบแห้ง (Dry Pressing)

การขึ้นรูปด้วยการอัดแบบแห้ง (Dry Pressing)
ดร. คชินท์ สายอินทวงศ์

โดยทั่วไปแล้วในการขึ้นรูปโดยใช้การอัดแบบนั้นจะสามารถแบ่งชนิดของการขึ้นรูปด้วยการ อัดแบบได้เป็น

    1. Ram press เป็นการขึ้นรูปแบบ Plastic forming ที่เนื้อดินต้องมีความเหนียวเพียงพอและมีความชื้นอยู่ประมาณ 16-20%
        แบบจะทำมาจากปูนปลาสเตอร์ที่ต่อท่อลมภายในไว้เพื่อให้สามารถเปิดลมเพื่อถอดชิ้นงานดิบออกจากแบบได้
    2. Semi-wet press เป็นการขึ้นรูปกระเบื้องหลังคาเซรามิกที่เนื้อดินมีความชื้นมากกว่า 15% ขึ้นไป
    3. Friction press เป็นเครื่องขึ้นรูปโดยวิธีการอัดแบบแต่ไม่ได้ใช้น้ำมันไฮโดรลิกเป็นตัวส่งผ่านแรงดันแต่ใช้วิธีการแบบกลไก
        เพื่อทำให้เกิดแรงกด
    4. Hydraulic press
ส่วนประกอบของ Hydraulic press ประกอบไปด้วย Cross beam, ชุดป้อนผงดิน, Charger, Complete set ซึ่งประกอบไปด้วย Upper punch, Lower punch, Liner




ปัจจัยที่มีผลในการขึ้นรูปแบบการอัด

    • ความชื้นผงดิน ถ้าความชื้นสูงเกินไปจะทำให้ผงดินติดหน้าโมลด์ สำหรับผงดินที่มีความชื้นต่ำเกินไปจะเกิดปัญหามุมยุ่ย มุมบิ่น
       ง่าย และเกิด Lamination ได้ง่ายกว่า
    • Grain size distribution ส่งผลต่อการpack ตัวของ green tile ถ้า การกระจายตัวของผงดินไม่เหมาะสมจะทำให้ค่า density
       ของ green tile เปลี่ยนแปลงไปส่งผลต่อการหดตัวของกระเบื้องหลังเผา
    • Pressing pressure ถ้า pressure สูงจะส่งผลให้ green tile มี density สูง การหดตัวหลังเผาจะมีค่าต่ำ ในทางตรงข้ามถ้า
       pressure ต่ำจะส่งผลให้ density ต่ำลง
    • Speed of charger ส่งผลต่อความหนาแน่นของกระเบื้องในช่วงหัว-ท้ายของแผ่น
    • Cycle of pressing ส่งผลต่อทั้งความหนาแน่นและตำหนิต่างๆที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งปริมาณการผลิต
    • การออกแบบโมลด์ ทำให้ความหนาแน่นของ green tile ในแต่ละจุดไม่เท่ากัน ส่งผลให้มีการหดตัวไม่เท่ากัน ทำให้เกิด
       กระเบื้องร้าวได้ในขณะอบแห้ง






การควบคุมคุณภาพของ Green tile

    • ความหนาในตำแหน่งต่างๆของแผ่นกระเบื้อง
    • ความหนาแน่นของกระเบื้องดิบที่ตำแหน่งต่างๆ
    Penetrometer หรือ Durometer
        - Penetrometer หรือ Durometer
        - Bulk density by Hg
        - Bulk density by wax
    • ขนาดหลังเผา
    • ความแข็งแรงของกระเบื้องดิบ
    • ความแข็งแรงของกระเบื้องหลังอบแห้ง
    • ความแข็งแรงของกระเบื้องหลังเผา
    • %การหดตัวหลังอบแห้ง
    • %การหดตัวหลังเผา
    • %การขยายตัวหลังอัด (%Pressing expansion /Spring back)
    • %การดูดซึมน้ำ
    • ความตรงของด้านข้างกระเบื้อง
    • ความสม่ำเสมอของขนาดในแต่ละด้าน
    • ความราบเรียบของแผ่น ไม่เป็นคลื่น

Specific pressing pressure
คือค่าแรงอัดที่กระทำต่อพื้นที่บนหน้ากระเบื้องโดยตรงจากการถ่ายแรงมาจากแรงดันน้ำมันต่อพื้นที่หน้าตัดของ Cross beam ของเครื่อง Press ซึ่งค่า Specific pressing pressure นี้จะมีผลต่อการหดตัวของกระเบื้องหลังเผา ความแข็งแรงก่อนและหลังเผา %การดูดซึมน้ำ และปัญหาต่างๆที่จะเกิดเช่นเรื่องรูเข็ม Black coring

การคำนวณ Specific pressure

    • Pi = Hydraulic pressure
    • S = พื้นที่หน้าตัดของ Column
    • St = พื้นที่หน้าตัดของ Punch
    • N = จำนวนของ Cavity mould
    • F = แรงที่กระทำผ่าน Column
    • Ps = Specific pressure
    • Ps = (Pi.S) /(N.St)

การควบคุมกระบวนการเพื่อดูตำหนิที่เกิด

    • ดูการแตกร้าวหลังออกจากแบบ
    • ดูการแตกร้าวหลังออกจากเตาอบ ที่ขอบ และที่ผิวหน้า
    • ดูความสะอาดของผิวหน้า
    • ดูเรื่องขนาด ความราบเรียบ ความเว้า
    • ดูเรื่อง Blackcoring
    • ดูเรื่อง Lamination

Lamination
มีสาเหตุมาจาก
    • ช่วงการไล่อากาศ (De-airing) สั้นเกินไปทำให้อากาศหนีออกไปไม่ทัน
    • อัดด้วยแรงอัดที่มากเกินไป
    • มี%ของผงดินละเอียดที่เล็กกว่า 45 micron มากเกินไป
    • ระยะClearance ของ Punch กับ Liner น้อยเกินไป
    • ความไม่สม่ำเสมอของผงดินที่เข้ามาทั้งเรื่องความชื้น ขนาด และส่วนประกอบ


ตะแกรงCharger


Structure Punch