เรื่องที่สองเป็นเรื่องประสิทธิภาพในการทำงาน
อย่างที่ทราบ ต้นทุนการผลิตถ้วย จาน ชาม
คงไม่มีใครเสนอราคาขายจานเป็นกิโกรัมละเท่าไร
หรือขายจานเป็นตารางเมตรละกี่บาท
แบบนั้นคงคำนวนได้ไม่ยาก
แต่จาน ชาม มีรูปทรง ทั้ง สามมิติ ดังนั้น เราคำนวน
ต้นทุนเป็นราคาต่อชิ้นครั้บ จานใหญ่แพงกว่าจานใบเล็ก
ถ้วยแพงกว่าจาน แก้วแพงกว่าถ้วย ของหล่อแพงกว่าถ้วย
และแพงกว่าจาน
สาเหตุเพราะรูปทรงและกระบวนการผลิตตัวBody
และบางครั้งมาแพงที่ รูปแบบการเคลือบ รูปแบบ
การเผา รูปแบบการตกแต่งเข้าไปอีก
ถ้าดูเฉพาะรูปทรง เราจะพบว่า
ทรงกลมถูกที่สุด ทรงOval จะแพงขึ้นมาอีก และ จาน
เหลี่ยมจะแพงกว่า Oval
ที่พูดมาหมายถึง เคลือบใสเพียงอย่างเดียว
และถ้าเคลือบขาวก็จะแพงขึ้นไปอีก เพราะใช้ Zerconium
ผสม และถ้าใส่Stainเพื่อผลิตเคลือบสี ก็จะแพงขึ้นไปกว่านี้
ดังนั้น ถ้าต้นทุนการผลิตเราไม่ได้มองที่น้ำหนักเพียงอย่างเดียว
เราจะมองที่ชิ้นงานด้วย
ดังนั้น ยิ่งเผาต่อครั้ง ต่อรอบได้มาก ก็ยิ่งจะเกิดประสิทธิภาพสูงที่สุด
อันนี้คือเบสิกที่ท่านผู้ผลิตทุกท่านทราบดีอยู่แล้ว
แต่สำหรับ ถ้วย จาน ชาม ถึงจะเพิ่มความเร็วในการเผาอย่างไรเสีย
ก็จะมาถึงจุดที่เป็น Max ของมัน เร็วกว่านี้เคลือบไปไม่ไหว body
ไปไม่ไหว สุดท้ายก็ต้องมาดูจำนวนเผาว่าจะเอาเข้าเตาอ่ยางไรให้ได้
มากที่สุดโดยไม่ทำให้ของเสียหรือผลกระทบอะไรตามมา
เนื่องจากการใช้วัสดุรองเผาน้ำหนักที่ซ้อนกัน ขนาดของจ๊อที่สูงเกินไป
ก็เป็นจุดที่ทำให้เกิดข้อจำกัดในการเพิ่มการเผา ดังนั้นจึงมีการพัฒนาจ๊อ
ให้มีน้ำหนักเบาขึ้น ด้วยการใช้ Spider Crank แทน จ๊อแบบปิด
ทั้งใบ ในยุโรปใช้กันมานาน ยีห้อที่ดังๆ ก็ Dayton ปัจจุบันไม่รู้ใคร
Take Over ไปแล้ว เพราะโรงงานในยุโรป ในอังกฤษ ปิดตัวกัน
เป็นแถวๆ ในไทย ผมจำไม่ได้ Imery ยังทำหรือไม่ Siam NGK
ยังผลิตหรือเปล่า ( คุณ สุรพล น่าจะดูแลที่นั่น )ที่ภัทราตอนนี้ก็มีขาย
ครับ เป็นแบบ Solid Casting คุณภาพน่าจะดีกว่าเพื่อนเพราะมีโรงงาน
ภัทรา พอร์ซเลน ทดลองใช้งานจริงให้
ลักษณะก็จะเป็นตัว สามขาวางคร่อมต่อๆกันขึ้นไป
ข้อดีคือการ Flow ของ Gas ของความร้อนจะได้ดีและที่สำคัญเบา
|