กระเบื้องแสงรุ้งกลาสโมเสค
Pakarung - Think Ceramic Think Pakarung
ซิเบลโก้ มิเนอร์รัลส์ จัดหาแร่คุณภาพสำหรับอุุตสาหกรรมเซรามิคส์
Ferro
Keramat
MS Industrial Supplies
Ceramics R Us
กลับไป Webboard
  TOPIC: ทำเซรามิกอะไรยากที่สุด
Ceratech  |  29 เมย 52 - 07:20:05  

นึกเล่นๆดูว่าอยากรู้ความคิดเห็นของพวกเราที่ทำเซรามิกกันว่าทำผลิตภัณฑ์ใดยากที่สุด และอยากทราบความเห็นของอาจารย์คชินทร์ด้วยว่ามองอย่างไรครับ

ตอบกระทู้
  ความคิดเห็นที่ 10 คน patra  |  13 มิย 52 - 09:10:56  

เราไม่เคยใช้ frit ในการผลิต แต่มีบางครั้งที่เราใช้

frit นำมาใช้ให้เกิด texture ในเคลือบ ซึ่งก็มีลูกค้า

สั่งอย่างต่อเนื่อง แต่ Raw Glaze ก็ยังปราศจาก

Frit ดังนั้น ต้นทุนการผลิตของเรา ถ้าถามว่ามากสุดอยู่ที่ไหน

อยู่ที่ Fix cost ด้านการบริหารเป็นหลัก ซึ่งโรงงานอย่างเรา

เก่าแก่เกือบสามสิบปี บุคคลากรเงินเดือนสูง สวัสดิการก็สูง

เราจึงมีแผนขยายไปสู่ High End เพื่อให้มีรายได้ชดเชยกับ

ค่าใช้จ่ายที่นับวันจะสูงขึ้น

  ความคิดเห็นที่ 9   |  13 มิย 52 - 09:04:08  

ถามว่า ต้นทุนรวมเราเท่าใด

ตอบว่า 13-20 บาท ขึ้นกับ ratio

ของสีที่ใช้ และ technic การผลิต

ซึ่งแต่ละการผลิต ต้นทุนจะต่างกัน เช่น

รูปแบบการเคลือบ

เรามีทั้ง ทูโทน ทรีโทน

with banding ,Lining ,Brush Paint

Reactive Glaze Banding

พร้อมกับติด decal แบบ inglaze

หรือไม่ก็ on glaze บางครั้งเราต้อง

ทำ reactive decal

แต่ราคาขายก็อยู่ที่

25-36 บาท

เราเคยผลิตสินค้าให้ Denby ซึ่งจ้างเราเป็น Sub Contractor

ค่อนข้างดี

  ความคิดเห็นที่ 8 คน patra  |  13 มิย 52 - 08:50:51  

ต้นทุนค่าวัตถุดิบสำหรับสินค้า

Stoneware With Solid Color

 เราแบ่งเป็น Body และเคลือบ

Body เราอยู่ที่ .85 บาท

เคลือบใส เราอยู่ที่ .80 บาทครับ

ไม่ได้สูงแต่อย่างใด เหตุเพราะ เราไม่ใช้ frit

หลักๆ ก็ เป็น ดิน ทราย Feldspar เท่านั้น

เราเผาที่ 1,230 C 

ต้นทุนนี้รวมของเสียเข้าไปแล้ว

Production ของเรา กำหนดการคิดต้นทุนการผลิต

แบบ ความสุญเสียทั้งปวงจะให้ A แบกรับหมด

ไม่มีการเฉลี่ยไปลง Bแต่อย่างใด

ดังนั้น การบริหารจัดการจะเห็นกำไรขาดทุนชัดเจน

ผมเห็นบางโรงงานที่ผมเคยเป็นที่ปรึกษา เกรด B

กองเป็นภูเขา จะขายก็ไม่ได้ เพราะเฉลี่ยไปให้ B แบก

รับต้นทุนไปด้วย นี่คือจุดอ่อนของหลายโรงงานที่กำลัง

เจอ หมายถึง การเพิ่มภาระทั้งที่เก็บ ทั้งเงินที่จม ทั้งหมกปัญหา

ทำให้การวิเคาระห์งบการเงินขาดประสิทธิภาพ

  ความคิดเห็นที่ 7   |  12 มิย 52 - 23:29:43  

สุขภันท์ยากตรงการหล่อ การเคลือบ การเผา

สำหรับผม Tableware ที่ต้องผลิตแบบ Varity

ทั้ง เคลือบสีพร้อมตกแต่งลวดลาย และเผา decorate

ต่างอุนหภูมิ Inglaze ,Onglaze, Reactive Decal

เพื่อให้ได้สินค้าแตกต่างจากจีน อันนี้เคยทำมาแล้ว โดยที่

ในหนึ่งเดือน ผลิตสีที่แตกต่างกันถึง 72 สี สินค้าในหนึ่งตู้

Container มีความหลากหลายถึง 80-100 แบบ นี่ก็เคย

ทำมาแล้ว ยากสุดครับ เพราะอะไร

เพราะ ถ้วย จาน ชาม ในหนึ่งกล่องต้องมีของพร้อมทั้ง 4-5 Item

ถึงจะบรรจุลงกล่องได้ เช่น Dinner Set มี 5 รายการ รายการละ

4 ชิ้น การวางแผน การควบคุมต้องดีเยี่ยม ไม่งั้นรอไปอีก 4-5 เดือน

ถึงจะทำจบ Order นี่คือความยากของ Solid  Color Tableware

คือเราต้องวางแผนจัดการตั้งแต่การ ขึ้นรูปผลิตภันท์ จนกระทั่ง การ Pack

สินค้าลงกล่อง และต้องขอบอกว่า Tableware ที่ผมเคยบริหาร ไม่มีการทำ

Stock ครับ เรียกว่า Just In Time จริงๆครับ ไม่งั้น ทั้งต้นทุน ทั้งเงินทุน

จมกับ Stock ที่ไม่รู้ว่าจะได้ใช้หรือไม่

 

 

  ความคิดเห็นที่ 6 คชินท์  |  30 พค 52 - 10:41:49  
วันก่อนนั่งคุยกับพี่ๆน้องๆเซรามิก และก็เห็นนักวิจัยทำงานในแต่ละโรงงาน ดูแล้วเห็นใจนักวิจัยโรงงานกระเบื้องมากที่สุด โดยเฉพาะในเครือซิเมนต์ ทำงานกันไม่หยุดหย่อน เวลาว่างไม่ค่อยมี บางคนต้อง test สีในช่วงเย็นค่ำ เพราะกลางวันใน Line หยุดให้ไม่ได้ เพราะกระเบื้องเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องใช้ความเร็วอย่างมาก เร็วทั้งการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่แซงหน้าคู่แข่ง การแก้ไขปัญหาเพราะกระเบื้องเผาเร็วมากวันละ กว่า 10000 ตารางเมตรต่อเตา ถ้าเกิดความเสียหายจะทำให้มีมูลค่าสูง การลดต้นทุนที่ต้องเร่งกันลดเพื่อให้มีราคาขายที่ต่ำกว่าคู่แข่ง เดี๋ยวนี้โรงกระเบื้องแทบไม่ใช้วัตถุดิบจากทางลำปางแล้วเพราะค่าขนส่งแพง ทำให้ต้นทุนเนื้อดินสูงอย่างมาก ในขณะที่นักวิจัยสุขภัณฑ์จะทำได้แบบช้าๆไม่ต้องเร่งรีบมีเวลาคิดเวลาแก้ปัญหา และยังใช้วัตถุดิบดีๆได้อยู่เพราะมักจะกลัวว่าถ้าใช้ของราคาถูกลงแล้วจะมีปัญหาตามมา จึงไม่ค่อยมามุ่งเน้นกันในเรื่องต้นทุนวัตถุดิบ ซึ่งผมกลับมองว่าไม่ถูกต้อง หน้าที่ของนักวิจัยคือ แก้ปัญหา ปรับปรุงคุณภาพ ลดต้นทุน พัฒนาผลิตภัณฑ์ บริษัทจ้างเรามาให้ทำงานหน้าที่นี้ ดังนั้นเราต้องกล้าเปลี่ยน โรงงานที่ผมเป็นที่ปรึกษาอยู่ผมจับเปลี่ยนหมด พยายามบอกน้องๆว่าหน้าที่ของเราคืออะไร อย่ากลัวที่จะเปลี่ยน ไม่มีอะไรหยุดอยู่กับที่ได้ ต้องPDCA เสมอแล้วองค์กรจะมีชีวิตชีวาอยู่ตลอดเวลา และต้องทำงานเชิงรุก ไม่ทำแต่งานที่เขากำหนดให้มาใน JD เห็นอะไรที่ทำให้องค์กรดีได้ต้องทำ ของดีราคาถูกมีอยู่จริง เพียงแต่เราต้องเชื่อมั่นว่าเราทำได้ แต่ต้องอยู่บนเงื่อนไขของข้อเท็จจริง ไม่ใช้ความรู้สึกตัดสิน เช่น เนื้อดินนี้หล่อไม่ดี ความแข็งแรงต่ำลง ต้องวัดออกมาเป็นตัวเลข เพราะธรรมชาติของคนไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะพนักงาน เราต้องชี้แจงด้วยตัวเลขให้เขาเห็นเพื่อให้เกิดการยอมรับ
  ความคิดเห็นที่ 5   |  21 พค 52 - 07:21:41  

ทำให้คนอื่น Copy ไม่ได้ยากที่สุดครับ

  ความคิดเห็นที่ 4 คชินท์  |  07 พค 52 - 18:37:09  

ยากคนละแบบครับ

สุขภัณฑ์ซับซ้อนตรงแบบ การไหลของ Slip line การหล่อที่มีทั้ง Solid และ Hollow ในชิ้นเดียวกัน การอบแห้งที่ต้องระวังอย่างมากเนื่องจากชิ้นงานจะมีการหดตัวไม่เท่ากันในแต่ละตำแหน่ง ซึ่งจะทำให้มี Stress สะสมในชิ้นงานในระหว่างการเผาจนอาจเกิดตำหนิแตกร้าวได้ แต่ข้อที่ง่ายคือการที่ใช้วัตถุดิบที่มีราคาสูง ดินมีการคัดสรรมาแล้วระดับหนึ่ง การทำงานที่ไม่ต้องเร่งรีบมากนัก การเผาที่ต้องระวังจึงไม่ต้องรีบร้อนจึงมีโอกาสที่จะทำของดีได้เยอะ

ถ้วยชาม ซับซ้อนตรงรูปแบบที่หลากหลาย การตกแต่งที่มีหลายขั้นตอน แต่เนื้อดินก็ยังมีราคาที่ค่อนข้างสูงเพราะต้องเลือกดินที่ดีมาทำ การเผาก็ค่อยเป็นค่อยไปแม้จะเร็วกว่าส้วมแต่ก็ช้ามากถ้าเทียบกับกระเบื้อง

กระเบื้องยากตรงที่ต้องทำให้ถูกที่สุดเพราะการแข่งขันสูงมากดังนั้นดินที่ใช้ต้องขุดเอาแถวภาคกลางนี่แหละ จะไปใช้ดินลำปางดีๆแบบอดีตไม่ได้ และต้องแก้ปัญหาให้เร็วเนื่องจากเผาออกมาเป็นสายน้ำเลยถ้าเสียหายและแก้ไม่ทันล่ะก็งานเข้าเลยครับ ความง่ายอยู่ที่การขึ้นรูปไม่ซับซ้อน เผาง่าย เครื่องจักรมีความเป็น Auto สูง Labor intensive น้อยกว่าส้วมและถ้วยชาม

ลูกถ้วยไฟฟ้า ยากตรงที่คุณภาพที่ลูกค้ากำหนดให้ต้องตรงตามที่ต้องการซึ่งมักมีสเปคที่สูงมาก การขึ้นรูปและการอบแห้งที่ต้องควบคุมเป็นอย่างดี แต่ถ้าหลุดไปถึงเผาแล้วก็มักไม่มีปัญหาอะไรจะไปมีอีกทีก็ตอนประกอบกับ Cap เพื่อส่งให้ลูกค้า

ถ้าให้ฟันธงผมว่าทำส้วมนี่แหละท้าทายที่สุด

  ความคิดเห็นที่ 3 พริกไท  |  02 พค 52 - 11:29:16  
ทำตลาดขายแข่งกับจีนและเวียดนามนี้สิครับ ยากสุดๆ คุนเคยเห็นโรงงานที่ผลิตงานออกมากองเต็มโรงงานแล้วขายไม่ได้เพราะสู้ราคาตลาดไม่ไหวไหมครับ แต่ก็หยุดผลิตไม่ได้เพราะปัญหาแรงงาน เจ้าของยืนมองน้ำตาตกในโดยยังมองไม่เห็นแสงสว่างปลายอุโมงค์ เศษฐกิจก็แย่การเมืองก็เละ อันนี้แหละผมว่ายากสุดๆเลยละครับ หรือคุณว่าไม่จริง......
  ความคิดเห็นที่ 2 สาวส้วม  |  30 เมย 52 - 19:51:43  
ทำส้วมสิคะ ฟังดูไม่สุภาพแต่คนผลิตสุขภัณฑ์เขาก็เรียกส้วมทั้งนั้น ยากทั้งแต่น้ำดินต้องปรับการไหลตัวให้ดี การทำแบบ ถ้าออกแบบไม่เหมาะสมก็แตกร้าวได้ตลอดการผลิต การอบแห้งยิ่งต้องระวัง เคลือบที่ใช้ก็ต้องปรับการไหลตัวให้เหมาะสม การเผาของใหญ่ๆให้ได้ดี ไม่บิดเบี้ยวและแตกร้าวก็ต้องมีการเผาที่ดี สรุปแล้วทำส้วมยากจังคะ แต่ก็ยังรักที่จะทำ
  ความคิดเห็นที่ 1 สันติ  |  29 เมย 52 - 07:46:30  

ทำ tableware ยากสุดครับ ปัญหาจุกจิกมาก  เคยทำกระเบื้องกับสุขภัณฑ์มาคิดว่ายังไม่ยากเท่าครับ คิดว่าเนื่องมาจากกระบวนการที่มีหลายขั้นตอน  และต้องควบคุมปัจจัยหลายอย่างให้คงที่ครับ