สูตรน้ำดินติดหูที่ดีคือเราต้องใช้น้ำดินเดียวกับตัวชิ้นงานที่จะติด เพื่อหลีกเลี่ยงค่า COE และค่า drying, firing shrinkage ที่อาจแตกต่างกันได้
น้ำดินที่ติดหูจะต้องข้นกว่าน้ำดินหล่อเพราะเราพยายามหลีกเลี่ยงปริมาณน้ำที่มากเกินไป เพราะจะทำให้ค่าการหดตัวหลังอบแห้งสูงเกินไปจนทำให้แตกร้าวได้ การที่เราทำให้ข้นขึ้นก็ทำได้โดยการเพิ่ม density การเติม binder เช่นพวก CMC, Bentonite ก็จะช่วยให้น้ำดินติดหูเหนียวขึ้น แต่มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน
CMC ข้อดีคือเมื่อเติมแล้วไม่ค่อยมีผลกระทบในเรื่องการหดตัวหลังอบแห้ง แต่ข้อเสียคือ CMC จะเสื่อมสภาพง่าย โดยเฉพาะในน้ำดนที่มีอาหารของแบคทีเรียมากมาย ดังนั้นจึงต้องมีการปรับ CMC เพิ่มเสมอ หรือไม่ก็พยายามทำน้ำดินติดหูให้แค่พอใช้วันต่อวัน
Bentonite ข้อดีคือไม่เสื่อมสภาพง่าย ให้ความเหนียวดี ทำให้น้ำดินข้นขึ้น แต่ข้อเสียคือจะไปเพิ่มการหดตัวหลังอบแห้ง
นอกจากนี้มีสารเคมีอีกตัวที่แนะนำให้เติมคือเกลือ อาจเป็น NaCl หรือ MgCl2 ก็ได้ เพื่อปรับสภาพให้น้ำดินติดหูอยู่ในสภาพที่เป็น Flocculation เนื่องจากการที่ดินอยู่ในสภาพ Floc อนุภาคของดินเวลาเรียงตัวจะเรียงกันอย่างเป็นระเบียบทำให้หน้าสัมผัสระหว่างหูกับตัวแนบชิดกันได้เป็นอย่างดี
แต่หนูต้องอย่าลืมว่าน้ำดินเป็นแค่ส่วนหนึ่งที่จะทำให้เกิดปัญหาร้าวหู พี่ให้สัดส่วนแค่ 40% แต่เรื่อง curve หน้าสัมผัส เรื่องคนที่รีบติดเพราะเร่งผลิตจนไม่มีเวลามาบรรจงติดไม่ให้เสีย หรือคนใหม่ที่เพิ่งเข้ามาก็จับเอาไปติดหู
เรื่องของความชื้นของหูกับตัวแก้วที่แตกต่างกัน เรื่องของการวนหู เรื่องของการอบแห้งหลังติดหู ซึ่งบางที่ไม่มีห้องอบแห้งแต่ใช้วิธีผึ่งในอากาศ เดี๋ยวหน้าหนาวจะมาเยือนแล้วระหวังเรื่องอากาศแห้ง ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศที่ต่ำที่จะทำให้เกิดการแตกร้าวได้ง่าย
|