กระเบื้องแสงรุ้งกลาสโมเสค
Pakarung - Think Ceramic Think Pakarung
ซิเบลโก้ มิเนอร์รัลส์ จัดหาแร่คุณภาพสำหรับอุุตสาหกรรมเซรามิคส์
Ferro
Keramat
MS Industrial Supplies
Ceramics R Us
กลับไป Webboard
  TOPIC: ขอทราบรายละเอียดของตำหนิและแนวทางการแก้ไข
  |  18 เมย 52 - 13:30:03  

ตำหนิ Bubble Dark spot Devitrification

ขอทราบสาเหตุและแนวทางการแก้ไข

ตอบกระทู้
  ความคิดเห็นที่ 2 คชินท์  |  18 เมย 52 - 19:47:05  

Dark spot นั้นกว่า 90% มาจากเนื้อดิน เนื่องมาจากเศษเหล็กที่ปนมากับวัตถุดิบที่ใช้ทำเนื้อดิน เช่นเฟลดสปาร์ หินผุ ทราย หินปูน ดังนั้นจึงควรใช้แม่เหล็กดูดทั้งตอนที่เป็นวัตถุดิบและตอนที่เป็นน้ำดินแล้ว รวมทั้งตะแกรงกรองน้ำดินต้องละเอียดเพียงพอถ้าได้ตั้งแต่ 120 เมชขึ้นไปจะช่วยลดจุดเหล็กเหล่านี้ได้เยอะครับ การเผาก็มีส่วน ลองเข้าไปอ่านในบทความของเวปนี้เรื่องออกซิเจน สิ่งสำคัญสำหรับการเผาดูครับ

 

สำหรับในเคลือบก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิด Dark spot ด้วยเช่นกัน โดยส่วนใหญมาจากวัตถุดิบโดยเฉพาะพวกแร่ ได้แก่เฟลด์สปาร์ ซึ่งควรเลือกใช้จากผู้ผลิตที่ได้มาตรฐานและใช้หม้อบดที่มีลูกบดอลูมิน่าบด เพราะบางที่ใช้เครื่อง Raymond mill ซึ่งจะมีเหล็กติดปนมามาก สังเกตได้จากเวลาอัดโคนดูการหลอมตัวแล้วสีของเฟลดสปาร์หลังเผาออกเทาอมดำหม่นๆ นั่นแสดงว่ามีเหล็กปนมาเยอะมาก แนะนำให้ใช้ของ Sibelco IMD Ceraminas ครับ

 

Devitrification เป็นการเกิดการตกผลึกกลับของเคลือบอันเนื่องมาจากการที่มีออกไซด์บางตัวมากเกินไปในสูตรเช่น CaO Al2O3 MgO BaO ZnO ทำให้เคลือบด้านขึ้นกว่าเดิมที่ควรจะมันวาว หรือบางครั้งอาจถึงขั้นบวมปูดด้วยผลึกที่เรียงซ้อนกันมากมาย ทางแก้ไขคือต้องปรับสูตรไม่ให้มีออกไซด์ตัวใดตัวหนึ่ง Over เกินไป การเย็นตัวของเตาก็มีผลต่าการตกผลึกกลับด้วยเช่นกัน ถ้าเตาเย็นช้าเกินไปก็จะทำให้เกิดการตกผลึกกลับได้

 

  ความคิดเห็นที่ 1 คชินท์  |  18 เมย 52 - 19:23:44  

สาเหตุที่ทำให้เกิดฟองอากาศ (Blister) 

 

GAS  ที่ทำให้เกิดฟองอากาศนั้น มีที่มาแตกต่างกันดังนี้

 

1)      อากาศที่มีอยู่ภายในช่องว่างของอนุภาคของเคลือบขณะอบแห้ง  ซึ่ง  40% ของปริมาตรเคลือบดิบ  (GREEN  GLAZE)  จะเป็นช่องว่างที่เกิดจากน้ำในเคลือบระเหยออกไปขณะอบแห้ง

 

2)      อากาศที่ถูก  GLAZE  SLIP  จับเข้ามาเนื่องจาก  มีการเติมสารพวก  WETTING  AGENT  มากเกินไป  หรือ เกิดจากการกวน  น้ำเคลือบอย่างรุนแรงก่อนการ  APPLY เคลือบ

 

3)      GAS  ที่เกิดจากการสลายตัว  (DECOMPOSE)  ของส่วนประกอบเคลือบ  ซึ่งมีทั้งพวก  CARBONATE, CLAYS, TALC, FLUORIDE  และพวกสารอินทรีย์ต่าง ๆ ซึ่งส่วนประกอบเหล่านี้จะเป็นตัวปลดปล่อย  GAS  ออกมาระหว่างการเผา  ส่วนวัตถุดิบที่เป็นพวกที่มีผลึก เช่น QUARTZ  ก็จะเป็นที่หน่วง หรือเก็บกัก  GAS  เอาไว้ซึ่งทำให้  GAS  ต่าง ๆ ออกมาได้ยากขึ้น

 

4)      การแยกหรือแตกสลายของ สิ่งปนเปื้อน (CONTAMINATE)  ในเคลือบซึ่ง CONTAMINATE  พวกนี้ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิน GAS รวมทั้งสนิมจากอุปกรณ์ต่าง ๆ ใน  กระบวนการผลิต, SiC  ที่ใช้ใน  KILN  FURNITURE 

 

5)     

 

การแตกสลายของพวก สารอินทรีย์ที่เติมเข้ามา( ORGANIC  BINDER)

 

6)     

 

น้ำที่ถูกเคลือบหลอมเร็วปิดกั้นไว้ในเคลือบซึ่งเป็นปัญหาที่พบบ่อยครั้งใน กระบวนการผลิต แบบ  FAST  FIRING  น้ำบางชนิดที่อยู่ในเคลือบจะไม่ถูกขจัดไป จนกระทั่งอุณหภูมิเกิน  500  0C  ซึ่งตรงจุดนี้  มีเคลือบหลายชนิดที่เริ่มหลอมแล้ว

 

7)      การอบแห้งของ  BODY  และ  ENGOBE  ไม่เพียงพอ  โดยเฉพาะในกระเบื้องแบบเผาครั้งเดียว  หลังจากที่  APPLY  ENGOBE  ลงบนหน้ากระเบื้องแล้ว ก็จะ  APPLY  เคลือบทันที  ทำให้ รูพรุน( POROUS ) ขึ้นได้ภายใน

 

8)      GAS  ที่เกิดจากน้ำที่อยู่ภายใน ฟริต  ซึ่งใน ฟริต   โดยทั่วไปจะมี  น้ำอยู่ภายในโครงสร้าง ~ 0.1 – 0.3 % ซึ่งสามารถตรวจพบได้โดยใช้  INFRARED  SPECTROSCOPY

 

การลดฟองอากาศในเคลือบเซรามิกนั้น มีอยู่หลายวิธีทั้งการใช้วัตถุดิบให้เหมาะสม การเติมสารเคมีบางตัวขณะบด การปรับปรุงสูตรสีเคลือบ และในด้านกระบวนการผลิต เช่นเทคนิคในการเคลือบ ความหนาของเคลือบที่เหมาะสม, การอบแห้งอย่างสมบูรณ์แบบก่อนเผา และการเผาที่อุณหภูมิที่เหมาะสม

 

วิธีป้องกัน  BLISTER

 

-          ขจัด หรือลดปริมาณวัตถุดิบในสูตรที่เป็นตัวให้  GAS  ออกมาระหว่างกระบวนการเผา

 

-          ทำความสะอาดชิ้นงานดิบหรือBiscuit ไม่ให้มีสิ่งสกปรก,ฝุ่นละออง,น้ำมัน ผลิตภัณฑ์Porcelainจำเป็นต้องคำนึงถึงตรงจุดนี้มาก

 

-          ควบคุมการดูดซึมน้ำของผิวชิ้นงานโดยเฉพาะBiscuit ซึ่งถ้าชิ้นงานมีการดูดซึมน้ำมากเกินไปจะทำให้เกิดแรงcapillary ซึ่งจะเป็นตัวดึงอากาศเข้าไปไว้ในรูพรุนของชิ้นงาน ซึ่งจะมีปัญหาขณะเผาได้

 

-          ในกรณีที่มีการอบแห้งชิ้นงานก่อนการapplyเคลือบจำเป็นต้องควบคุมอุณหภูมิของผิวชิ้นงานให้เหมาะสมไม่ให้ร้อนหรือเย็นเกินไป เช่นในกรณีของอุตสาหกรรมกระเบื้องเซรามิก

 

-          ลดความหนาของชั้นเคลือบลง  เคลือบที่บางจะสามารถทำให้  GAS  ภายในออกมาได้ง่ายกว่าเคลือบหนา

 

-          เปลี่ยน  FIRING  CYCLE  โดยลดอัตราการเพิ่มอุณหภูมิในช่วงต้นของการเผา  จนกระทั่งถึง  650  0C  ควรจะเพิ่มเวลาใช้  GAS  ต่าง ๆ สามารถผ่านชั้นของเคลือบไปก่อนที่เคลือบจะหลอมปิดผิวหน้า

 

-          ลดอุณหภูมิสูงสุดของการเผาเคลือบ เพื่อลด  BLISTER  ที่เกิดจากการเผา  OVERFIRE

 

-          เคลือบบางชนิดเริ่มหลอมตัว (softening point) ปิดผิวหน้าที่อุณหภูมิต่ำ  ซึ่งทำให้  GAS  ที่เกิดขึ้นไม่สามารถออกมาได้ทันทั้งหมด  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเคลือบ  FAST  FIRE  นอกจากนี้เคลือบที่หลอมที่อุณหภูมิต่ำ  ยังมีแนวโน้มที่จะทำปฏิกิริยากับ  BODY  หรือ  ENGOBE  ได้มากขึ้น

 

-          FRIT  ที่มีคุณภาพไม่ดีพอ มีมลทิน  ( INCLUSION )  ที่ไม่หลอมอยู่ใน  FRIT  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดฟองอากาศได้  FRIT  ที่เป็น  LEADLESS  จึงควรที่จะต้องหลอมจนกว่าจะขจัด  INCLUSION  ให้หมดไป

 

-          SOLUBLE  VANADIUM  SALT  เป็นตัวที่ทำให้เกิด ตำหนิที่เป็นรอยบุ๋ม( DIMPLE ) ได้ง่าย  พวกสี  STAIN  ที่มี  V  เป็นส่วนประกอบ  จึงต้องทำการล้างเพื่อขจัด  V  ที่เหลือจากการทำปฏิกิริยา  ก่อนที่จะนำมาใช้ในการเคลือบ

 

-          การบดสีเคลือบนอกจากการตรวจเช็ค%กากที่ค้างตะแกรง(%Residue)แล้วยังต้องคำนึงถึงค่าการกระจายตัวของอนุภาค(Particle size distribution)ด้วย เพราะความละเอียดของสีเคลือบทั้งละเอียดหรือหยาบไปก็ส่งผลต่อตำหนิรูเข็มด้วย

 

-          เมื่อพบว่าเคลือบที่มีสูตรเหมาะสมแล้ว  ยังคงมี รูเข็ม( PINHOLE ) อยู่ที่ผิวหน้า  ควรที่จะต้องตรวจสอบเทคนิคการ  APPLICATION  ซึ่ง  รูเข็ม  นั้นอาจจะมีสาเหตุมาจาก  การพ่นเคลือบ  โดย  SPRAY  GUN  อยู่ใกล้ชิดกับ  ผลิตภัณฑ์  เกินไป  หรือใช้ความดันในการ พ่น มากเกินไปซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยการ พ่นเคลือบทับอีกครั้ง  ก่อนที่เคลือบชั้นแรกจะแห้งไป