เอากระบวนการผลิตคร่าวๆนะครับ เริ่มจากการนำเอาโซดาแอชกับซิลิกามาหลอมให้เป็นน้ำแก้วที่อุณหภูมิ~1200 C แล้วทำให้เย็นตัวเป็นก้อนแก้วแล้วนำไปเข้า Autoclave เพื่อละลายอีกครั้งให้กลายเป็นน้ำแก้ว สัดส่วนของโซเดียม กับซิลิกาจะบ่งบอกถึงคุณสมบัติของ โซเดียมซิลิเกต ถ้าทำให้สัดส่วนใกล้กันมากเราจะได้เป็นผลึกของของแข็งที่เรียกว่าโซเดียมเมตาซิลิเกต
โซเดียมซิลิเกตมีประโยชน์มากสำหรับอุตสาหกรรมผงซักฟอก อุตสาหกรรมก่อสร้าง และกำลังมีบทบาทในฐานะเป็นตัวเชื่อมและทำให้เกิดโครงสร้างของพวก Geopolymer ที่ไม่จำเป็นต้องเผาสูงเหมือนการผลิตเซรามิก สำหรับในอุตสาหกรรมเซรามิกถือว่าเป็นสัดส่วนที่น้อยมากๆเมื่อเทียบกับการใช้งานในอุตสาหกรรมอื่นๆ เราเอาไว้ใช้สำหรับเป็นตัวช่วยกระจายลอยตัว เป็นตัวเชื่อมประสานสำหรับการก่ออิฐเตา เป็นเคลือบใสสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ต้องการความมันแบบไม่มากนัก เป็นแค่ปิดผิวจางๆ
การตรวจรับ ต้องดูค่าDensity ถ้ามีเครื่องวัดความหนืดเช่นBrookfield ให้นำมาวัดค่าได้ หรือเติมลงในสูตรน้ำดินแล้ววัดค่าความหนืด
ข้อควรระวังถ้าใช้เป็นตัวช่วยกระจายลอยตัวต้องดูเรื่องปริมาณการใช้เพราะถ้าใช้มากไปจะทำให้เกิด Over defloc ได้ และจะทำให้ชิ้นงานร้าวได้ง่ายเพราะเนื้อดินที่ใช้โซเดียมมากจะแข็งแต่เปราะเพราะน้ำแก้วจะฟอร์มตัวเป็นแก้วได้หลังอบแห้งทำให้เปราะไม่ยืดหยุ่นเวลาเคลื่อนย้าย |