ถ้าในแง่ green bulk density ก็จะช่วยในด้านการ pack ตัวของชิ้นงานดิบดังนั้นถ้าชิ้นงานดิบมีค่าbulk density ที่สูงก็จะทำให้เนื้อดินตอนขึ้นรูปมีเนื้อที่แน่น การหดตัวน้อยลงทั้งการหดตัวตอนอบแห้งและหลังเผา ค่าการดูดซึมน้ำจะต่ำลง ความแข็งแรงหลังเผาดีขึ้น ค่า COE จะสูงขึ้น แต่การเผาไล่พวก gas, organic ต่างๆก็จะยากขึ้น เมื่อเผาเร็วจึงมีโอกาศเกิด blackcoring ได้ง่าย
สำหรับ fired bulk density ก็มีความสัมพันธ์โดยตรงกับ green density ดังนั้นชิ้นงานหลังเผาที่มี density สูงก็จะมีค่า water absorption ต่ำลง ความแข็งแรงสูงขึ้น แต่ COE ก็จะสูงตามไปด้วย ซึ่งอาจมีผลต่อการโก่งแอ่นของกระเบื้อง และ densityที่สูงก็จะมีค่า thermal conductivity ที่สูงไปด้วย ทำให้การปูกระเบื้องพวกนี้จะมีความเป็นฉนวนต่ำลงไปด้วย |