อยากให้อาจารย์ของน้องคิดแบบนี้บ้างเพราะหลายครั้งที่งานวิจัยเกิดจากอาจารย์และอาจารย์ไม่ค่อยมีโอกาสได้พบว่าเทคโนโลยีมันมีการปรับเปลี่ยนไปอย่างไรบ้างแล้ว และยิ่งในยุคที่มีการแข่งขันสูงเช่นนี้การเปลี่ยนแปลงจะยิ่งเร็วมาก จนเราตามไม่ทัน คราวนี้การที่เราจะทำงานวิจัยให้สอดคล้องกับโลกปัจจุบันเราจึงจำเป็นที่จะต้องไปพูดคุยกับผู้ประกอบการจริงๆเพื่อค้นหาความต้องการแล้วเราจึงมาร่วมกันทำงานวิจัย
ที่น้องพูดมาทั้งสองหัวข้อไม่ยากหรอกครับ ทำได้ ลูกถ้วยไฟฟ้าไม่ยากถ้าเราเข้าใจกระบวนการเกิดเฟสต่างๆในเนื้อดินและคุณสมบัติหลังเผา ถ้าอาจารย์เบรคแสดงว่าอาจารย์ปิดกั้นความคิดเด็ก ซึ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อเด็กและแม้แต่ตัวอาจารย์เอง
ผมขอยกตัวอย่างงานวิจัยที่น่าลองมาพิจารณาร่วมกันทำกับโรงงานนะครับ
การพัฒนาสูตรเนื้อดินลูกถ้วยไฟฟ้าให้สามารถเผาได้เร็วขึ้นในบรรยากาศออกซิเดชั่น
การเพิ่มค่า Tensile strength ของลูกถ้วยไฟฟ้าชนิดแขวน
การปรับสูตรเคลือบกระเบื้องหลังคาที่ไม่ใช้ฟริตที่มีส่วนผสมของตะกั่ว
การทำสูตรสีเคลือบประกายมุกแบบเผาครั้งเดียวที่อุณหภูมิต่ำ
การปรับประสิทธิภาพในการเผาสุขภัณฑ์ให้สามารถเผาได้เร็วขึ้น
การเปรียบเทียบPSD ของหม้อบดที่ใช้ Alumina lining กับ Rubber lining
การศึกษาพฤติกรรมการเกิดผลึกของเคลือบผลึกชนิดต่างๆ
การพัฒนาเนื้อดินกระเบื้องแกรนิตแบบ Super white ที่มีต้นทุนต่ำ
การลดอุณหภูมิในการเผากระเบื้องแกรนิต
การทำวัสดุน้ำหนักเบาพิเศษสำหรับงานวัสดุก่อสร้าง
การพัฒนาเคลือบและเนื้อดินแดงราชบุรีให้สามารถเผาครั้งเดียวได้อย่างสวยงาม
การผลิต Mullite kiln furniture ในบรรยากาศออกซิเดชั่น
การศึกษาการกระจายตัวของ Molochite กับคุณสมบัติด้าน Thermal shock resistance ของเนื้อคอร์เดียไรท์
การปรับปรุงเนื้อดินคอร์เดียไรท์ที่สามารถขึ้นรูปได้บางแต่มีค่า Refractoriness under loading สูง
การพัฒนา Metakaolin สำหรับงานก่อสร้างโดยใช้ดินขาวในประเทศ
การยืดอายุการจัดเก็บอิฐทนไฟชนิด Basic ในบรรยากาศปกติ
การนำSilica จากแกลบมาพัฒนาเป็นสีเซรามิกที่สามารถ Calcine ที่อุณหภูมิต่ำลง
การหาวิธีทดสอบค่า Soluble salt ของสีเซรามิกอย่างง่าย เพื่อใช้ในการตรวจรับวัตถุดิบ
การทำ Geopolymer โดยใช้วัตถุดิบในประเทศ
การพัฒนาความแข็งของเคลือบถ้วยชามให้ทนทานต่อการกระแทก
การพัฒนาเนื้อดินสำหรับภาชนะที่ต้องการเก็บอุณหภูมิ |