กระเบื้องแสงรุ้งกลาสโมเสค
Pakarung - Think Ceramic Think Pakarung
ซิเบลโก้ มิเนอร์รัลส์ จัดหาแร่คุณภาพสำหรับอุุตสาหกรรมเซรามิคส์
Ferro
Keramat
MS Industrial Supplies
Ceramics R Us
กลับไป Webboard
  TOPIC: การแก้ไขหูแก้วร้าว
วชร  |  20 มค 52 - 17:03:34  

เรียนถาม อ.คชินทร์

  ปัญหาหูแก้วร้าวเกิดได้จากอะไรบ้างครับ และเราต้องควบคุมอะไรบ้างครับเพื่อเป็นการป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้น

                                                                                                             ขอบคุณครับ

ตอบกระทู้
  ความคิดเห็นที่ 6 คน Patra มาเยี่ยม  |  15 มิย 52 - 09:23:30  

วิธีดูว่าหูร้าวมาจากความชื้นหรือการดึงตัวเนื่องจากค่า Shrinkage ของดิน กับหู

ไม่ สมดุลย์ กัน หรือ Curve หูกับตัวไม่แนบสนิทกัน หลังเผา Glost ให้เคาะหูกับ

ตัวให้ขาดจากกันแล้วดูว่า รอยต่อของหูกินเข้าไปในเนื้อของตัวแก้วหรือไม่ ถ้าไม่กินเข้าไป

หรือกินเข้าไปนิดหน่อย นั่นคือปัญหาเนื่องจากความชื้นหูกับตัวไม่สมดุลย์กัน แต่ถ้ากินเข้า

ไปลึก ให้มองไปที่ Shrinkage อาจจะไม่เท่ากัน ที่ถูกต้องน้ำดินหล่อหูต้องเป็นตัวเดียว

กับน้ำดินใช้ขึ้นรูป แต่บางที่อาจจะทำสูตรขึ้นมาใหม่เพื่อให้หล่อหูได้ง่ายขึ้น ซึ่งก็อาจจะส่ง

ผมให้เกิดปัญหานี้ได้ง่าย

สำหรับปัญหาเรื่อง Curveหูกับตัวไม่แนบกัน ก็จะทำให้เห็นเป็นรอยร้าวได้ หมายถึงจะเกิด

โพรงอากาศในบางส่วนของบริเวณที่ติด อาการก็คล้ายกับ Shringkage ดังนั้น ให้กลับไปดู

Curve ที่ใช้ตัดว่าสึกไปหรือยัง แนะนำให้ทำเบ้าตัดโดยปลายเบ้าให้ทำ Curveเดียวกับ

Original Model ใช้ปูนหล่อ Case ทำเบ้า เมื่อใช้ไปนานๆแล้วสึกต้องรีบเปลี่ยน

เรื่อง curve นี้ ก่อปัญหาให้กับ Porcelain ค่อนข้างมากเพราะจะเผา Temp สูงถึง 1350 C

ถ้า Curve ไม่ถูกต้อง ร้าวได้ทั้ง Lot

  ความคิดเห็นที่ 5 คน Patra   |  15 มิย 52 - 09:16:55  

เรื่องความชื้นระหว่างหูกับตัวที่ไม่สมดุลย์กัน คือปัญหาหลัก

ที่จะพบได้บ่อย ในกรณี หูร้าว ก่อนเผา หรือบางครั้งจะไปเห็นตอน

หลังเผาอีกทีหนึ่ง

อีกทางเลือกหนึ่งคือ ทำห้องรักษาความชื้นเล็กๆ โดยใช้เครื่อง

Humindifier ช่วยควบคุมความชื้น เครื่องนี้ถ้าความชื้นไม่

ได้ตามที่เราตั้งไว้ มันจะพ่นละอองน้ำมาเพื่อรักษาความชื้นของ

Chamber ที่เราเก็บหูที่ผ่านการตัดแต่งแล้ว

ในเมืองไทยน่าจะหาได้ง่าย ผมเคยใช้เมื่อยี่สิบปีที่แล้ว

มาจากJAPAN ถามว่าดีไหม สำหรับผม ควบคุมที่คนและ

การทำงานก่อนถ้าไม่ได้ค่อยคิดเรื่องนี้อีกทีหนึ่ง

 

  ความคิดเห็นที่ 4 mg  |  12 มิย 52 - 23:51:19  

1) Curve ของหูกับตัว ก็มีส่วนทำให้ร้าวได้

     ดังนั้น เบ้าที่ตัดหู จะต้องได้ Curve พอดี

     กับตัวแก้ว

2)  ในระหว่างการตัดแต่งหู ก่อนใช้งานต้องใช้

       ผ้าขาวบางคลุมเพื่อรักษาความชื้นของหู

       ในระหว่างรอนำไปใช้งาน

  ความคิดเห็นที่ 3 คชินท์  |  24 มค 52 - 21:14:39  

1. การหา%การหดตัวของแก้วกับหูนั้นต้องวัดจากชิ้นงานที่ขึ้นรูปจริงครับเพราะการขึ้นรูปที่แตกต่างกันแม้ว่าใช้ดินสูตรเดียวกัน ค่าการหดตัวหรือแม้กระทั่งค่า COE ก็ไม่เท่ากันครับ

2. CMC ที่เติมลงไปในน้ำดินสำหรับติดหูนั้นจะใช้การผสมน้ำ CMC โดยมีความเข้มข้นในการผสมอยู่ที่15-20% โดยการผสมในน้ำอุ่น หลังจากได้น้ำกาวเข้มข้นแล้วจึงนำไปเติมในน้ำดินไม่ควรเกิน 5% ของน้ำหนักน้ำดินเปียก แล้วกวนผสมให้เข้ากัน

น้ำดินที่ใช้ติดควรเป็นน้ำดินเดียวกับที่ใช้หล่อ แต่ต้องเติม CMC ลงไป และปรับค่าDensity ให้สูงขึ้นโดยให้สูงที่สุดเท่าที่ยังทำงานได้ดี ไม่ข้นเกินไปหรือแห้งเร็วเกินไปครับ

  ความคิดเห็นที่ 2 วชร  |  22 มค 52 - 10:19:15  

ขอบคุณครับสำหรับคำตอบ แต่ขอถามต่อเนื่องจากคำตอบ

1. การหา % การหดตัวของแก้วกับหู เป็นการหาจากดินดิบที่เตรียมปั้นตัวแก้ว , น้ำดินที่เตรียมหล่อหู  หรือ ควรหาจากตัวแก้วที่ปั้นแล้ว , หูที่พร้อมติด  ครับ

2. การเติม cmc ควรเติมในอัตราส่วนเท่าไหร่ที่เหมาะสม

3. น้ำดินที่ต่อหู สามารถใช้จากน้ำสลิปที่หล่อหูได้หรือไม่ ต้องปรับอะไรเพิ่มบ้างครับ

                                                                                                       ขอบคุณครับ 

  ความคิดเห็นที่ 1 คชินท์  |  20 มค 52 - 20:26:24  

ปัญหาหูแก้วร้าวน่าจะหมายถึงตรงบริเวณรอยต่อของแก้วกับหูใช่ไหมครับ ปัญหาเกิดได้จากหลายสาเหตุดังนี้ครับ

1. ความหนาแน่น(ดิบ)ของตัวแก้วกับหูแตกต่างกันมากเนื่องจากแก้วส่วนใหญ่มักจะขึ้นรูปโดยใช้Jigger หรือ Roller head ดินมีการดูดอากาศมาอย่างดีและมีการนวดโดยหัว Roller ส่วนหูนั้นมักจะใช้การหล่อ หรือบางที่ใช้การรีดจากเครื่อง Extrude เมื่อความหนาแน่นไม่เท่ากัน การหดตัวก็จะแตกต่างกันไปด้วย ดังนั้นต้องระวังเรื่อง%การหดตัวของเนื้อดินสำหรับตัวแก้วและน้ำดินสำหรับการหล่อหู

2. ระยะเวลาในการต่อหู ต้องไม่ให้ตัวแก้วและหูแห้งเกินไป บางครั้งการขึ้นรูปตัวแก้วเร็วเกินกว่าทำหู หรือหล่อหูเร็วกว่าทำแก้วแล้วเกิดการต่อไม่ทันกัน จำเป็นต้องหาพลาสติคมาคลุมเอาไว้ไม่ให้ผิวแห้งเกินไป เนื่องจากการที่แห้งไปนั้นหมายถึงการหดตัวของชิ้นงานได้เปลี่ยนไปด้วย

3. ควรขูดพื้นผิวตรงบริเวณรอยต่อทั้งที่ตัวแก้วและที่ตรงหูให้มีรอยไม่เรียบจนเกินไป และน้ำดินที่จะมาต่อหูนั้นต้องเป็นน้ำดินที่ข้นมาก มีการเติม CMC ลงไปเพื่อช่วยเรื่องความเหนียว พยายามให้ข้นที่สุด (นั่นหมายถึงมีน้ำอยู่น้อยที่สุด) เพื่อทำให้การหดตัวของน้ำดินที่มาต่อใกล้เคียงกับเนื้อดินของแก้วและหู