กระเบื้องแสงรุ้งกลาสโมเสค
Pakarung - Think Ceramic Think Pakarung
ซิเบลโก้ มิเนอร์รัลส์ จัดหาแร่คุณภาพสำหรับอุุตสาหกรรมเซรามิคส์
Ferro
Keramat
MS Industrial Supplies
Ceramics R Us
กลับไป Webboard
  TOPIC: ดินเอิร์ทเทินแวร์ รานตัว
สันติ  |  30 มีค 53 - 15:06:17  
เรียนอาจารย์ครับ

ผมมีความสงสัยมานานแล้วว่าทำไมจานชาม ที่เป็นเนื้อที่ไม่สุกตัว มักจะรานตัวง่ายมากเมื่อผ่านการใช้งาน  หรือบางทีซื้อมายังไม่ทันใช้ก็เป็นปัญหาแล้วครับ   ส่วนใหญ่จะพบในผู้ผลิตเกือบทุกที่เลย  ขออาจารย์ให้คำแนะนำการแก้ปัญหานี้ด้วยครับ


อยากให้จานชามบ้านเรา ใช้ได้นานๆ

ตอบกระทู้
  ความคิดเห็นที่ 2 วิรัช  |  06 เมย 53 - 12:44:42  
แนวคิดของอาจารย์คชินทร์สุดยอดครับ ผมเห็นด้วยอย่างยิ่ง...เพียงแต่ว่าทำไมมันยังไมเกิดขึ้นสักที...พวกเรารออะไรอยู่หนอ พี่ ๆ น้อง ๆ ช่วยกันตอบหน่อยสิ.
  ความคิดเห็นที่ 1 คชินท์  |  31 มีค 53 - 20:14:56  

เรามักคิดว่าการรานตัวมาจากปัญหาที่ COE ของเคลือบใกล้เคียงหรือสูงกว่าเนื้อดิน แต่โรงงานส่วนใหญ่ทราบข้อนี้ดีจึงได้ทำการปรับเคลือบให้ COE ต่ำกว่าเนื้อดินอย่างน้อย 7-10% แต่ปัญหาที่รานตัวเมื่อเวลาผ่านไปที่เรียกว่า Delay crazing นั้นไม่ได้มาจากเรื่องความแตกต่างของ COE อย่างเดียว มันยังมีปัจจัยอื่นๆอีก

ถ้าเราพูดถึงการดูดซึมน้ำที่สูงของชิ้นงาน จานชามที่ดูดน้ำสูงก็อยู่แค่เพียงไม่เกิน 8-10% ถ้าเทียบกับกระเบื้องบุผนังที่สูงถึง 15% หรือกระเบื้องหลังคาที่มีค่ากว่า 17% แถมยังโดนน้ำโดนฝนอยู่ตลอด ดังนั้นเรื่องที่แตกต่างกันอีกอย่างถ้าเราเทียบการผลิตถ้วยชามกับกระเบื้องก็คือ ถ้วยชามมีการเผาบิสกิทก่อน แต่กระเบื้องเผาครั้งเดียว ในการเผาครั้งเดียวนั้นการเกิดปฏิกิริยาระหว่างเคลือบกับเนื้อดินจะเกิดได้ดีและมีลักษณะเป็น Interface ระหว่างกัน รวมทั้งชั้นของเอนโกบ (กระเบื้องทุกยี่ห้อมีเอนโกบเสมอ เพื่อใช้ปรับ COE ระหว่างเคลือบกับดินและทำให้สีขาวเพื่อป้องกันสีแดงของเนื้อดิน) interface layer นี้แหละที่ผมคิดว่าช่วยให้เกิดความยืดหยุ่นระหว่างชั้นแก้วกับชั้นเนื้อดิน

อีกประการก็คือเทคโนโลยีของผู้ผลิตกระเบื้องทุกรายถูกบังคับให้ต้องทำเนื้อดินให้ถูก เผาเร็ว เบา ดังนั้นเนื้อดินกระเบื้องบุผนังจะมีเฟสที่เป็นผลึกของวอลลาสโตไนท์และอนอร์ไทท์ แทบไม่มี Glassy phase เลย ดังนั้นถึงแม้จะมีความชื้นเข้าไปแทรกอยู่ในรูพรุนก็ยังไม่เกิด Moisture expansion เพราะมีผลึกรูปเข็มของวอลลาสโตไนท์ยึดโยงไว้ ผิดกับเนื้อดินสโตนแวร์หรือเออร์เทนแวร์ที่ผลิตจากสูตรที่มีเฟลดสปาร์ เพียงแต่เผาไม่สุกและเกิดรูพรุนขึ้นภายใน ผลึกมัลไลท์ที่จะเกิดก็ยังเกิดไม่ดีนัก (สังเกตได้โดยการทำ SEM เพื่อดูว่ามัลไลท์เป็น Primary หรือ secondary mullite) Glassy phase ก็ยังเกิดไม่ดีพอ ถ้าพูดในแง่เทอร์โมไดนามิกส์ก็คือเนื้อดินมันยังไม่เสถียร ยังมี Free energy อยู่ จึงยังมีโอกาสเปลี่ยนแปลงโครงสร้างจากการเกิด Moisture expansion ถ้าจะแก้ปัญหาต้องทำเนื้อดินให้สุก โดยต้องปรับสัดส่วนของ Triaxial ในสูตรเราให้เหมาะสมอย่าให้มี Free silica มากเกินไป และต้องเกิดผลึกมัลไลท์สมบูรณ์

บางครั้งเราต้องเรียนรู้เทคโนโลยีอื่นในการผลิตเซรามิกเพื่อมาประยุกต์ใช้กันเรา ผมอยากเห็นคนผลิตส้วมคุยกับคนผลิตกระเบื้อง หรือคนผลิตกระเบื้องคุยกับพวกถ้วยชามหรือลูกถ้วยไฟฟ้า เพื่อแลกเปลี่ยนในสิ่งที่เราขาด ซึ่งผมทำเสมอเวลาให้คำปรึกษาโรงถ้วยชามก็จะบอกเขาว่าทำไมส้วมซึ่งตัวใหญ่กว่าเยอะจึงเผาครั้งเดียวได้ ได้เกรด A สูงเสียด้วย ไปโรงหลังคาก็บอกเขาว่าทำไมกระเบื้องเผาแค่ 30 นาทีได้ พยายามให้เขามองออกไปข้างนอก หาความรู้และเปรียบเทียบกับสิ่งที่เราไม่เคยรู้แล้วเราจะเห็นทางสว่างได้ครับ