กระเบื้องแสงรุ้งกลาสโมเสค
Pakarung - Think Ceramic Think Pakarung
ซิเบลโก้ มิเนอร์รัลส์ จัดหาแร่คุณภาพสำหรับอุุตสาหกรรมเซรามิคส์
Ferro
Keramat
MS Industrial Supplies
Ceramics R Us
กลับไป Webboard
  TOPIC: อยากทราบกระบวนการทำSA8000ว่าด้วยความรับผิดชอบทางสังคมของทางบริษัทที่ได้รับการรับรอง
สุรพล พันธ์พรหม  |  13 ธค 51 - 11:13:55  
อยากทราบกระบวนการทำSA8000ว่าด้วยความรับผิดชอบทางสังคมของทางบริษัทที่ได้รับการรับรองทุกเรื่องทั้ง 9 เรื่อง

1.        แรงงานเด็ก

2.        แรงงานบังคับ

3.        สุขภาพและความปลอดภัย

4.        เสรีภาพในการสมาคม และสิทธิในการเจรจาต่อรอง

5.        การเลือกปฏิบัติ

6.        การลงโทษทางวินัย

7.        ชั่วโมงการทำงาน

8.        ค่าตอบ แทน

9.        ระบบการบริหารจัดการ

 โดยเฉพาะระบบการบริหารจัดการของบริษัท (มีเอกสารด้วยยิ่งดีมาก)

ขอบพระคุณอย่างสูง

สุรพล พันธ์พรหม

ตอบกระทู้
  ความคิดเห็นที่ 1 คชินท์  |  14 ธค 51 - 14:43:46  

การที่จะนำระบบSA8000 มาใช้นั้น ส่วนใหญ่แล้วบริษัทมักจะถูกบีบมาจากทางลูกค้าซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็น Wholesale รายใหญ่ๆจากทั้งฝั่งอเมริกา และยุโรป เช่น Wal mart, Lowe, Homedepo, OBI, V&B etc แต่จริงๆแล้วถ้าบริษัทเราเป็นผู้ส่งออกการที่เราจะเริ่มทำโดยที่ลูกค้ายังไม่ร้องขอก็จะเป็นการดีเพราะถ้าเมื่อไหร่เขาร้องขอนั้นอาจไม่ทันการณ์สำหรับเราได้ การทำSA8000 นั้นจะสำเร็จได้ต้องอยู่ที่ผู้บริหารหรือเจ้าของโรงงานเป็นผู้เปิดไฟเขียว เพราะหลายเรื่องเป็นเรื่องของนโยบาย หลายคนอาจรู้สึกเป็นการเพิ่มต้นทุน แต่ระยะยาวเราจะได้แรงงานที่มีคุณภาพและจะอยู่กับเราไปอีกนาน

การเริ่มต้นทำต้องเริ่มจากการอบรมพนักงานให้มีความเข้าใจถึงข้อกำหนดต่างๆเช่นเดียวกับ ISO9000, 14000, 18000 หลังจากนั้นก็จัดทำเอกสารที่สอดคล้องกับข้อกำหนดทั้ง9ข้อ

1. การใช้แรงงานเด็กนั้นเป็นข้อที่ง่ายเพราะส่วนใหญ่ในบ้านเราก็ไม่ได้มีการใช้แรงงานเด็กอยู่แล้ว เราก็เพียงแต่เขียนข้อกำหนดให้รัดกุมตั้งแต่ตอนรับคนเข้าทำงาน

2. แรงงานบังคับก็ต้องมีข้อกำหนดเขียนไว้เป็ฯเอกสาร และต้องทำจริงจังเพราะผู้ตรวจจะขอดูเอกสารและมีการสัมภาษณ์พนักงาน ในบางงานที่ต้องมีการเสี่ยงอันตรายเช่นการทำงานในที่สูง ในที่อับอากาศจะต้องมีเอกสารแสดงความยินยอมจากพนักงานมีลายเซนต์ แม้แต่การทำ OT ก็เช่นกันจะต้องมีเอกสารที่มีลายเซนต์ของพนักงานว่าได้ยอมรับการทำ OT นั้นแม้ว่าในความเป็นจริงพนักงานอยากจะทำอยู่แล้วก็ตาม

3. สุขลักษณะ อนามัยและความปลอดภัย จะต้องจัดตั้งคณกรรมการอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม ต้องมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยที่เรียนจบมาทางนี้โดยตรงตามจำนวนที่กฏหมายกำหนด มีการจัดทำแผนต่างๆทั้งแผนเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย แผนความปลอดภัย แผนฉุกเฉินเมื่อเกิดเหตุการทั้งไฟไหม้ สารเคมีรั่วไหล ภัยธรรมชาติ มีบันทึกการประชุมและมีการชี้แจงและอบรมพนักงาน เช่นแผนอพยพหนีไฟ การดับเพลิง มีอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลให้เหมาะสมกับงานที่ทำ เช่นผ้าปิดจมูก ที่อุดหู มีอุปกรณ์ดับเพลิงประจำตามจุด มีการอบรมการทำงานอย่างปลอดภัย ซึ่งข้อนี้จะมีรายละเอียดมากที่สุดครับ

4. เสรีภาพในการประชุมต่อรอง อาจทำให้เกิดสหภาพได้ ซึ่งถ้าพูดในฐานะที่ปรึกษาและผู้ประกอบการก็คงไม่อยากให้มีซึ่งก็ต้องอาศัยฝ่ายบุคคลดูแลให้ดี แต่ข้อกำหนดนี้เขียนไว้ชัดเจนว่าต้องให้เสรีภาพกับลูกจ้างซึ่งเราก็จัดให้มีตัวแทนลูกจ้างที่มาจากการคัดเลือกของพนักงานมาเป็นตัวแทนประชุมกับฝ่ายนายจ้าง

5. ต้องไม่มีการเลือกปฏิบัติต่อพนักงานตั้งแต่เริ่มรับสมัครเลย หรือการจำกัดงานบางอย่างให้กับกลุ่มพนักงานบางกลุ่มต้องเขียนและทำให้ชัดเจนเพราะอย่าลืมว่าจะมีการถามพนักงานได้

6. การลงโทษทางวินัยต้องมีกฏที่เขียนไว้ชัดเจนเป็นรายลักษณ์อักษรและต้องไม่ลงโทษให้เกินกว่าเหตุ

7. ชั่วโมงการทำงาน ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีปัญหาถ้าทำตามกฏหมายแรงงาน แต่ที่จะมีก็คือพวกที่ไม่ได้ทำตามกฏหมาย ทั้งที่จ้างถูกหรือบังคับให้ทำล่วงเวลาโดยไม่ได้ค่า OT หรือทำงานติดต่อกันโดยไม่มีช่วงพักนานเกินไป ซึ่งใบบันทึกเวลาต้องสามารถแสดงให้ผู้ตรวจ มาทำการตรวจสอบได้

8. ค่าตอบแทนก็ต้องเขียนไว้ให้ชัดเจนและต้องจ่ายตามที่ได้เขียนไว้

9.  ระบบการบริหาร คือระบบรวมทั้งหมดที่จะบ่งบอกว่าบริษัทนี้มีความตั้งใจจริงในการทำระบบนี้หรือไม่ ต้องมีตัวแทนฝ่ายบริหารเหมือนกับ QMR ของ ISO9000 EMR ของ ISO14000 มีการเขียน Procedure ให้เชื่อมโยงกับการทำระบบ มีการประชุม Management review เกี่ยวกับระบบนี้ และการประชุมต่างๆที่เกี่ยวกับข้อกำหนดที่ได้กล่าวไปแล้ว

เอกสารของบริษัทอื่นคงไม่สามารถหาให้ได้แต่ถ้าจะทำจริงๆก็ให้คำแนะนำให้ได้ครับ ระบบนี้ทำไม่ยาก เอกสารน้อยกว่า ISO9000 แต่ผู้ที่จะทำสำเร็จต้องเริ่มจากผู้บริหารที่อยากทำและเห็นประโยชน์อย่างจริงจังครับ