ตอนที่ 3 มาตามคำขอครับ
1. เราจะใข้ประโยชน์จากราฟโดยเริ่มอย่างไรครับ เช่นใช้ temp เท่าไหร่เริ่มต้น %hm เท่าไหร่ เวลาการอบเท่าไหร่
กราฟข้างต้นบอกถึงการหดตัวของชิ้นงานครับ เมื่อน้ำระเหยออก Volume ชิ้นงานก็จะหดลงและหดไปจนถึงระดับหนึ่งที่ Free Water หมดไปครับ จากนั้น เมื่อชิ้นงานไม่หดมันก็จะไม่แตกครับ
ส่วนการปรับสภาวะการอบ อันนี้ต้องอาศัยดูจากกราฟที่เราทดลองมาครับ ว่าจะสมควรจะเริ่มที่อุณหภูมิเท่าใด แต่ผมว่าน่าจะต้องเริ่มจากสภาวะภายในห้องอบที่เป็นก่อน เช่น อาจมีอุณหภูมิสูงสัก 30 องศา ความชื้นประมาณ 60% อะไรประมาณนี้ (batch dryer นะครับ) ที่เหลือก็ขึ้นอยู่กับ Drying Curve ครับ
สาเหตุที่ต้องเริ่มอย่างนี้เพราะว่า เราต้องการน้ำให้ระเหยออกมาน้อย ๆ ในช่วงการอบแรก ดังนั้นจึงต้องให้อุณหภูมิต่ำและความชื้นสัมพัทธ์สูง ๆ จึงจะ Control การระเหยของน้ำได้ (ดูกราฟที่ 1)
จากนั้นการอบต้องอาศัยการศึกษาจากแท่งทดลองที่ใช้ทำกราฟ % Critical Moisture ครับ เช่น ที่ % RH 60 ทำให้ Drying Rate ช่วงก่อน Critical Point ชันมาก (หมายถึงมันแห้งเร็ว) ก็อาจเพิ่ม %RH หรือลด Temp ลงครับ แต่จะลดลงเท่าใดผมว่ามันขึ้นอยู่กับรูปทรงของชิ้นงานด้วย (เพราะว่าการทำ Critical moisture point นั้นมันเป็นการศึกษาคุณสมบัติของสูตรดินในความสามารถในการคายน้ำออกครับ ดังนั้นเรื่องรูปทรงจึงมีผลในแง่ของความสม่ำเสมอในการระเหยครับ แต่แก้ได้โดยการทำให้มี Air Circulation)
ส่วนเรื่องชั่วโมงการอบนั้น ขึ้นกับว่าช่วงก่อน Critical ยาวขนาดไหน (เราสามารถเล่นได้โดยการ Vary %RH และ Temp ครับ) เพราะว่าถ้าเลยช่วง Critical มันสามาถเพิ่ม Rate ได้เลยครับ
2. อย่างผมไม่มีเตาอบใช้ตากแดด ในแต่ละคร้งมีแดดบ้างไม่มีบ้างไม่แน่นอนจะทำไงดี
อืม...อันนี้ต้องปักตะไคร้แล้วครับ ล้อเล่นครับ อันนี้ท่าจะคุมยากนะครับทัง %Rh ทัง Temp และยังมี Air Circulation อีกด้วย ถ้าชิ้นเล็กคงไม่เป็นไรเพราะมันเป็นการอบแบบฟรี ไม่ซีเรียส อิอิ...... ทางแก้อาจทำห้องอบแบบอาแปะครับ ใช้อะไรก้ได้ทำห้องคลุม เพื่อลดการระเหยของน้ำออกบ้าง
3. ผมมีเตาอบ ผมอบแล้วดูการหดตัวจากการเข้าอบนี้ได้เปล่าแล้วจะเริ่มทดลองอบที่tempเท่าไหร่ดี
อย่างที่บอกครับเตาอบกับชิ้นงานทดลองเป็นการบอกถึงความสามารถของสูตรในการระเหยของน้ำ ถ้าจะให้ดีลองในห้องอบจริงเลยครับ และลองนำชิ้นงานหาความสัมพันธ์แบบกราฟด้านบนดู อุณหภูมิน่าจะเริ่มจากเทาที่ห้องอบทำงานอยู่ครับ (จดความชื้นไว้ด้วยนะครับ)
4. หรืออย่างนี้เราต้องผึ่งให้ชิ้นงานหมาดๆหรือมีความชื้นเล็กน้อยแต่ไม่หดตัวแล้วก่อนจากนั้นก็อบได้อย่างสบายแบบเร่งเร็ว temp สูงๆก็ได้
ชาวงแรก ๆ ต้องให้ความชื้นสูง ๆ อุณหภูมิต่ำ ๆ เข้าไว้ครับและดุอาการการแตกด้วย หลังจาก Critical แล้วก็ลุยครับ
ตัวอย่างครับ
|