กระเบื้องแสงรุ้งกลาสโมเสค
Pakarung - Think Ceramic Think Pakarung
ซิเบลโก้ มิเนอร์รัลส์ จัดหาแร่คุณภาพสำหรับอุุตสาหกรรมเซรามิคส์
Ferro
Keramat
MS Industrial Supplies
Ceramics R Us
กลับไป Webboard
  TOPIC: โครงสร้างเคมีของ dispex และ โซเดียมซิลิเกต
นักศึกษา  |  11 มค 53 - 00:26:09  
อาจารย์ค่ะโครงสร้างของโซเดียมซิลิเกต  และ  Dispex  มีลักษณะเป็นอย่างไรค่ะ  และแตกต่างกันอย่างไร  ในสองตัวนี้ตัวใดที่เป็น  deflocculant  ที่ดีกว่ากันและตัวใดที่จำเป็นต้องใช้มากกว่ากันค่ะ  ขอบคุณค่ะ
ตอบกระทู้
  ความคิดเห็นที่ 7 คชิิิินท์์  |  29 พย 54 - 21:07:20  
CMC เป็น Binder ครับ แต่ก็มีการช่วยกระจายลอยตัวอยู่บ้างแต่ไม่มากเท่าพวก dispex ซึ่งทำหน้าที่ช่วยกระจายลอยตัวอย่างแท้จริง ในกรณีของน้องที่จะเติมลงไปในแก้วก็ควรใช้ dispex เป็นตัวช่วยกระจายลอยตัวและใช้โซเดียมซิลิเกตเพื่อช่วยในการขึ้นรูป ส่วนที่บอกว่าเอาแก้วมากวนแล้วขึ้นรูปนั้นยังนึกไม่ค่อยออกแต่คิดว่าคงอยากทำแบบน้ำสลิปกระมัง แก้วบดมากวนบางครั้งมันจะทำปฏิกิริยากับน้ำและจับตัวเป็นก้อนแก้วที่แข็งมากๆ ดังนั้นต้องระวังให้ดี อาจแก้ปัญหาโดยการกรองก่อนเทแบบครับ
  ความคิดเห็นที่ 6 nu+ OUM   |  29 พย 54 - 13:47:33  

อาจารย์คะหนูขอรายละเอียดเกี่ยวกับ dispex ด้วยค่ะ เพราะกำลังจะเอามาใช้กับสารจำพวก no plastis ค่ะ และอยากทราบว่ามีความแตกต่างกับ CMC อย่างไรคะ เพราะ CMC ก้อเป็นสารช่วยการกระจายตัวแบบ polymer เหมือนกัน i_am_oum_13@hotmail.com ขอบคุณมากค่ะ

  ความคิดเห็นที่ 5 suchada  |  13 กค 54 - 10:18:19  
ขอข้อมูลเกี่ยวกับ สารช่วยกระจายตัวด้วยคนคะ รบกวนส่งเมลมาให้หน่อยนะคะ gr_ee_nt_ea@hotmail.com
 ขอบคุณคะ
  ความคิดเห็นที่ 4 วิรัช  |  20 กย 53 - 12:38:00  

ขอเพิ่มเติมอีกนิด ความต่างของ Defloc 2 ตัวนี้ คือ แรงที่ใช้ในการกระจายตัวอนุภาค โดยสามารถแบ่งได้ดังนี้ 1. Sodium Silicate มันจะเป็นการกระจายตัวด้วยแรงแบ Electrostatic force โดยอาศัยการแลกเปลี่ยน ประจุระหว่างดินกับ Sodium ion ดังนั้นการที่ดินมีประจุลบก็จะต้องอาศัยแรงบวกจาก Sodium เพื่อช่วยกระจาย...แต่ตรงกันข้ามกับ 2. สารกระจายตัวแบบ Polymer จะอาศัยแรงแบบ Steric force คือ จะใช้สายพอลิเมอร์ปจับยังผิวดินและสร้างแรง Repulsion ขึ้นทำให้เกิดการกระจายตัวได้

ดังนั้นหากต้องการกระจายอนุภาคที่ไม่มีประจุ เช่น พวก Non plastic materials สามารถใช้ Polymer ได้ แต่จะไม่สามารถใช้ Sodium กับพวก No plastic ได้

ส่วนช่วงการใช้งานก็อย่างที่อ. คชินทร์บอกครับ  polymer มันแคบ เพราะว่าภายในสารละลายเหล่านั้น มันมีสาpolymer อยู่มากมาย

  ความคิดเห็นที่ 3 salim  |  19 กย 53 - 22:34:17  

ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับ dispex ค่ะ สูตรโครงสร้าง และความสามารถในการช่วยกระจายตัวค่ะ

รบกวนอาจารย์ช่วยส่งข้อมูลมาที่ tuktik_54@hotmail.com นะคะ

  ความคิดเห็นที่ 2 คชินท์  |  15 มค 53 - 20:39:19  

Dispex เป็นชื่อทางการค้าของ Deflocculant ชนิดหนึ่งที่เป็นพวก Sodium salt ของ Acrylic copolymer มีราคาแพงกว่าโซเดียมซิลิเกต แต่ใช้ในปริมาณที่น้อยกว่า โดยเติมลงไปนิดเดียวก็สามารถปรับค่าการไหลตัวของน้ำดินได้ แต่ช่วงของการเติมจะแคบมาก ถ้าเติมพลาดอาจกลายเป็น Overdefloc ได้

จะบอกว่าตัวใดดีกว่ากันนั้นคงฟันธงไม่ได้เพราะต้องดูวัตถุดิบที่เราใช้สำหรับน้ำดิน บางสูตรใช้แค่โซเดียมซิลิเกตก็เพียงพอ บางสูตรต้องเติมทั้งโซเดียมและ dispex แต่จริงๆแล้วแนะนำให้เติมทั้งคู่เพราะมีข้อดีที่ต่างกัน dispex ช่วยให้viscosity ลงเร็ว ส่วนโซเดียมช่วยเพิ่มช่วงของการทำงาน

ถ้าต้องการข้อมูลของ Dispex เพิ่มเติมผมมีไฟล์อยู่ ส่งอีเมล์มาแล้วจะส่งไฟล์ไปให้ศึกษาครับ

  ความคิดเห็นที่ 1 สันติ  |  13 มค 53 - 11:50:25  

ทั้ง 2 ตัวเป็น สารช่วยกระจายตัวเหมือนกันครับ  เป็นสารละลายที่ละลายได้ในน้ำ  ส่วนใหญ่ในท้องตลาด ลักษณะเป็นของเหลวข้นเหนียว มีหลายความเข้มข้น  

 

ส่วนที่ต่างกัน

1. dispex ราคาแพงกว่า  ความเสถียรของความหนืดของน้ำดินจะคงที่กว่าเมื่อเวลาเปลี่ยนไป ช่วงการทำงาน ผมไม่แน่ใจว่าจะกว้างกว่า โซเดียมหรือแคบกว่า

 

อาจารย์ จะให้ความกระจ่างได้มากขึ้นครับ