กระเบื้องแสงรุ้งกลาสโมเสค
Pakarung - Think Ceramic Think Pakarung
ซิเบลโก้ มิเนอร์รัลส์ จัดหาแร่คุณภาพสำหรับอุุตสาหกรรมเซรามิคส์
Ferro
Keramat
MS Industrial Supplies
Ceramics R Us
กลับไป Webboard
  TOPIC: การผลิตสีเคลือบให้ได้คุณภาพสม่ำเสมอ
วีระ  |  21 ธค 52 - 19:55:36  
อยากขอความกรุณาอาจารย์ช่วยชี้แนะการผลิตสีเคลือบให้มีคุณภาพที่ดีสม่ำเสมอ ไม่เพี้ยน ไม่เป็นรู ไม่เป็นหลุม ชุบแล้วทางแผนกชุบเคลือบพอใจ ตอนนี้เจอปัญหาเยอะจริงๆ หรือแนะนำบทความให้อ่านก็ได้ครับ
ตอบกระทู้
  ความคิดเห็นที่ 4   |  21 มค 53 - 21:28:35  
e
  ความคิดเห็นที่ 3 คชินท์  |  03 มค 53 - 20:37:20  

การคุมค่า Density Viscosity Overswing Thixotropy Yield point เป็นเรื่องที่สำคัญ เราต้องนำเอาพวกเครื่องมือทางสถิติต่างๆเช่น Control chart, Histogram มาใช้เพื่อควบคุมกระบวนการ การ Calibration เครื่องมือวัดโดยเฉพาะเครื่องชั่งเป็นเรื่องที่จำเป็นมากสำหรับการทำเคลือบให้นิ่ง

หลังบดแล้วการกรองผ่านตะแกรงและผ่านระบบแม่เหล็กจะช่วยลดตำหนิหลายๆอย่างในกระบวนการเช่นรูพรุน จุดเหล็ก เม็ดสี อายุการจัดเก็บสีก็มีส่วนทำให้สีเพี้ยนไปจากเดิมได้ จากคำถามแสดงว่าเป็นโรงงานทำถ้วยชามหรือไม่ก็ลูกถ้วยไฟฟ้า เพราะสองผลิตภัณฑ์นี้ใช้การชุบเคลือบ แต่น่าจะเป็นถ้วยชามมากกว่าเพราะลูกถ้วยชุบแล้วไม่มีเพี้ยน ไม่มีหลุม มีแต่ร้าวกับจุดเหล็ก ดังนั้นการชุบเคลือบนั้นอายุของเคลือบและเรื่อง Rheology เป็นสิ่งสำคัญมาก บางที CMC เสื่อม บางทีเกลือเยอะ บางทีดินอืด เพราะฉะนั้นต้องควบคุมเรื่อง Rheology ให้เป็นอย่างดี ควรวัดเป็น Overswing หรือถ้าโรงงานไหนมีงบหน่อยก็อยากให้ใช้ Brookfield ซึ่งจะละเอียดกว่ามากบอกได้แม้แต่ค่า Yield point ถ้าควบคุมได้ตามนี้ยังไม่นิ่งอีกก็คงต้องไปดูเตากันหน่อยแล้วครับ เตาอาจ Load ไม่นิ่ง เดี๋ยวของแน่นเดี๋ยวของหลวม การปรับลม กาซบ่อยเกินไปและไม่นิ่ง ปกติเตาต้องไม่ไปแตะมันเลยนะครับ ให้มันปรับตัวเองตาม PID control เองจะดีกว่าซึ่งอย่างเก่งก็บวกลบไม่เกิน 10องศา

  ความคิดเห็นที่ 2 คชินท์  |  03 มค 53 - 20:14:09  

การทำเคลือบให้มีความสม่ำเสมอนั้นต้องร่วมมือกันตั้งแต่นักวิจัย QA raw mat Glaze making และ Production อันดับหนึ่งเลยคือการตรวจรับวัตถุดิบต้องตรวจเพื่อให้โรงงานเรามีคุณภาพ ไม่ตรวจเพื่อให้ Suppliers อยู่รอด เข้าใจไหมครับ เราต้องตรวจเพื่อสิ่งที่เราต้องการ เช่นสีสะเตนเราต้องตรวจเรื่องสีหลังเผา ดูค่า L,a, b, E ดูเรื่องตำหนิที่อาจเกิดเช่นรูเข็ม pitting ดูเรื่อง %Residue บางที่อาจดูถึง PSD ดูเรื่องค่า Soluble salt ดูเรื่อง Rheology ทั้ง Viscosity, Thixotropy บริษัทสีหลายเจ้าเป็นเพียงผู้นำสีเข้ามาจากจีนหรืออิตาลีหรือญี่ปุ่น แต่ไม่มีโรงงานผสมในกรณีที่เพี้ยน บริษัทเหล่านี้ไม่ควรเลือกแม้ราคาอาจถูกมาก แน่นอนต้องถูกเพราะไม่ได้ลงทุนอะไรเป็นเพียง Trader ซื้อมา-ขายไป  ถ้าสีสะเตนเราเข้ามาไม่นิ่งก็ไม่ต้องหวังว่าเคลือบเราจะนิ่ง เพราะนักวิจัยต้องคอยปรับสีตลอดเวลา

เมื่อสีนิ่งแล้ว ฟริตก็ต้องนิ่ง วัตถุดิบตัวอื่นๆด้วยเช่นเฟลด์สปาร์, ทราย หินปูน โดโลไมท์และอื่นๆ ดังนั้นการตรวจรับวัตถุดิบต้องตอบตัวเองก่อนว่าเราต้องการอะไรจากมันแล้วต้องตรวจตามนั้นอย่าไปกลัวว่างานจะเพิ่ม งานของ Incoming raw mat อาจเพิ่มแต่หน่วยงานถัดๆไปจะสบายขึ้น ทั้งโรงงานก็จะดีขึ้น น้องๆในโรงงานที่ผมเป็นที่ปรึกษาจะรู้ดีว่าพี่คชินท์ให้ความสำคัญกับการตรวจรับวัตถุดิบขนาดไหน เคยมีพี่ๆที่ขายสีโทรหาผมเหมือนกันว่ามันต้อง Serious ขนาดนั้นเลยหรือ

ถ้าวัตถุดิบนิ่ง สูตรเองก็ต้องดีด้วย นักวิจัยเองก็ต้องรู้ว่าสีตัวนี้ถูกกับฟริตตัวไหน ไม่มีหรอกฟริตหรือ Basic glaze ที่ครอบจักรวาลที่ใช้ได้กับสีทุกตัว ถ้าสูตรมี BaO ก็ใช้กับสีดำหรือสีแดงมารูนไม่เหมาะ เพราะมันต้องใส่สีเยอะถึงจะขึ้นได้ คราวนี้เมื่อใส่สี%สูงๆโอกาสเพี้ยนทั้งจากคนหรือตัวสีเองก็มีมาก เพียงแต่เราเปลี่ยน Base glaze เราก็จะใส่สีได้น้อยลง ลดต้นทุนได้มากและเคลือบสีนิ่งขึ้น

กระบวนการบดสีก็ต้องเนี้ยบ คนที่มาอยู่สีเคลือบนี่ต้องเป็นพ่อละเอียดเลย ผมรู้จักหัวหน้าแผนกสีเคลือบอยู่คน เป็นเจ้านายเก่าผมเอง ตอนนี้เป็น MD Sosuco ceramic แล้ว การบดต้องอย่าดูเพียงว่า %Residue ได้แล้ว แต่ถ้ารอบบดเปลี่ยนไปมากก็ต้องระวังแล้วถ้าโรงงานเราไม่มีเครื่องหา PSD ก็ต้องพยายามคุมรอบการบดให้นิ่ง การคุมให้นิ่งคือต้องหมั่นเช็คระดับลูกบด หมั่นเติมลูกบด หนึ่งปีก็ถ่ายลูกบดออกมาคัดขนาดใหม่ ตรวจสอบรอบในการบด ปริมาณการเติมวัตถุดิบและน้ำควรนิ่งอย่าคิดแต่เพียงคำนวณให้พอดีแผน แต่บางครั้งบดจนแทบล้นลูกหรือบาง Batch บดเพียงครึ่งลูก ถึงแม้%กากจะเท่ากันแต่ PSD ต่างกันลิบลับ

  ความคิดเห็นที่ 1 คชินท์  |  30 ธค 52 - 07:00:58  
ขออนุญาติตอบปีหน้านะครับ คำถามนี้ เรื่องมันยาวต้องใช้เวลาพิมพ์นาน พอดีจะไปต่างจังหวัดยาว