เราต้องรู้ความถ่วงจำเพาะของเคลือบก่อนว่าเท่าไหร่ โดยใช้ขวดแก้วรูปชมพู่หาสำหรับเคลือบสูตรทั่วๆไปผมขอใช้ ถ.พ ที่ 2.7 ก่อนแล้วกัน เรารู้ความหนาแน่นของเคลือบ รู้ปริมาตรของน้ำเคลือบ ก็สามารถหาสัดส่วนน้ำหนักแห้งของเคลือบได้ จากสูตรพื้นฐานคือ ความหนาแน่น=มวล/ปริมาตร
มวลในที่นี้คือมวลของน้ำกับมวลของเนื้อเคลือบแห้ง คราวนี้เราไม่รู้มวลของเนื้อเคลือบแห้ง กับน้ำ แต่เรารู้ว่า มวลของเนื้อเคลือบแห้ง=ถ.พx Vแห้ง
มวลของน้ำ= ถ.พ(น้ำ)xVน้ำ และถ.พน้ำ=1 ดังนั้นมวลน้ำ=Vน้ำ
Vรวม=Vแห้ง+Vน้ำ จะได้ Vแห้ง=Vรวม-Vน้ำ
จะได้ มวลแห้ง= ถ.พของเคลือบแห้ง(Vรวม-Vน้ำ)
นำทั้งหมดมาแทนค่าจาก Density=มวลรวม/Vรวม
Density=((ถ.พxVรวม )- (ถ.พ xVน้ำ) + Vน้ำ)/Vรวม
Vรวม=2205 Density=1.65 ถ.พ =2.7 (ประมาณการ ซึ่งเราต้องหามา และเคลือบแต่ละสูตร ถพ ก็ไม่เท่ากัน)
หรือขอให้นักวิจัยประจำโรงงานทำตารางน้ำหนักเปียก กับ Density กับน้ำหนักแห้งเอาไว้แล้วพนักงานปฏิบัติการก็จะสามารถเปิดดูได้เลยครับ ซึ่งถ้าโรงงานมีนโยบายจะลด Loss สีเคลือบต้องเป็นโรงงานที่มีระบบเพียงพอ ดังนั้นควรต้องมีตารางแบบที่บอกครับ เพราะนอกจากจะใช้หา Loss ได้ ยังใช้เอาไว้คำนวณต้นทุน คำนวณวัตถุดิบ มีประโยชน์หลายอย่างครับ |