แกรนูลจะมีรูปร่างเป็นทรงกลม อาจมีรูตรงกลางได้ในกรณีของการเตรียมแกรนูลแบบ Spray dryer
การทำมีทั้งแบบเตรียมโดย Spray dryer (อ่านรายละเอียดได้ในเวปนี้เรื่องการเตรียมเนื้อดินแบบ Spray dryer) กับแบบ Dry process โดยการบดวัตถุดิบให้ละเอียดแล้วผ่านเครื่องผสมพร้อมสเปรย์น้ำหรือBinder ในขณะที่เนื้อดินเกิดการผสมทำให้ผงดินจับกันเป็นแกรนูล (ดูได้ในเรื่อง Dry process) ขนาดของแกรนูลมีผลต่อการชึ้นรูปมากทั้งเรื่อง Green strength, Bulk density, Packing density, Water absorption
ขนาดนั้นต้องมีทั้งเล็กและใหญ่ปนกัน โดยต้องทดลองเทียบกับค่า Tab density ที่ได้ รวมทั้งดูผลหลังอัดขึ้นรูปเป็นชิ้นงานแล้วว่าทำให้ค่า Green st, Dry st เพิ่มขึ้นได้หรือลดลงจากเดิม โดยทั่วไปเริ่มต้นตั้งแต่ขนาด 20 # จนกระทั่งต่ำกว่า 150 # ซึ่งเราต้องทำ Grain size distribution เทียบดูด้วยครับ |