กระเบื้องแสงรุ้งกลาสโมเสค
Pakarung - Think Ceramic Think Pakarung
ซิเบลโก้ มิเนอร์รัลส์ จัดหาแร่คุณภาพสำหรับอุุตสาหกรรมเซรามิคส์
Ferro
Keramat
MS Industrial Supplies
Ceramics R Us
กลับไป Webboard
  TOPIC: ทำไมถ้วยชามต้องเผาสองครั้ง
คนอยากรู้  |  17 ตค 52 - 10:41:13  
มีข้อสงสัยครับ ทำไมสุขภัณฑ์ กระเบื้อง ลูกถ้วย หลังคา เผาครั้งเดียวได้ แต่ถ้วยชามถึงต้องเผาบิสกิทก่อน ในความเป็นจริงสามารถทำให้เผาครั้งเดียวได้หรือไม่ครับ
ตอบกระทู้
  ความคิดเห็นที่ 3   |  24 ตค 52 - 21:33:34  
อยากได้หลายๆทัศนะครับ คนทำถ้วยชามว่าอย่างไรกันบ้าง
  ความคิดเห็นที่ 2 คชินท์  |  19 ตค 52 - 13:47:55  
ในความเป็นจริงเราสามารถผลิตเซรามิกแบบเผาครั้งเดียวได้ทั้งสิ้น เวลาผมบอกโรงงานถ้วยชามผมมักจะยกตัวอย่างโรงงานสุขภัณฑ์กับโรงกระเบื้อง ในแง่ของสุขภัณฑ์นั้นใช้เนื้อดินใกล้เคียงกับถ้วยชามอาจแตกต่างในเรื่องสัดส่วนของดินเหนียวบ้างแต่ถือว่าใกล้มาก ถ้าจะให้ใกล้กันมากๆก็คงต้องเทียบกับเนื้อดินของลูกถ้วยไฟฟ้า ซึ่งทั้งลูกถ้วยไฟฟ้าและส้วมจะเป็นการเผาครั้งเดียวทั้งสิ้น ถามว่าผิวเคลือบหลังเผาเป็นอย่างไรต้องบอกว่าเรียบและมันเงาใกล้เคียงกับถ้วยชามนั่นแหละเพราะลูกถ้วยจะมีรูเข็มหรือ Pitting ไม่ได้เลย ส่วนส้วมก็เช่นกันต้องเนียนเรียบ แล้วชิ้นก็ใหญ่และหนากว่าถ้วยชามเยอะ การไล่สารอินทรีย์ควรจะยากกว่า สำหรับที่ยกตัวอย่างโรงกระเบื้องเพราะว่ามันเผาเร็วมาก ไม่ได้อยากให้เผาเร็วเหมือนกระเบื้องแต่จะบอกเพื่อให้กำลังใจว่าขนาดกระเบื้อง size 20x20 นิ้ว ยังเผาแค่ 40 นาที ผิวเคลือบเรียบสวยงาม เนื้อดินก็ใช้ดินแดงแถวๆโรงงานนั่นแหละเพราะฉะนั้นสารอินทรีย์ก็สูงพอสมควร แต่เขาสามารถเผาครั้งเดียวและเร็วมากด้วย เราเพียงแต่ต้องรู้จักเนื้อดินเรา รู้จักวัตถุดิบที่เราใช้ รู้จักเคลือบของเรา รู้ว่าเนื้อดินมีสารอินทรีย์เท่าใดและออกไปตอนไหน ก็อย่าเผาช่วงนั้นเร็วนักและปรับเคลือบให้ Softening point สูงขึ้น มีการไหลตัวที่อุณหภูมิสูงดี แรงตึงผิวของน้ำแก้วไม่สูงมาก เราก็สามารถเผาถ้วยชามครั้งเดียวได้ แต่ตอนอบแห้งต้องแห้งจริงๆ อย่างลูกถ้วยไฟฟ้าลูกใหญ่ๆที่ใช้การชุบเคลือบเหมือนถ้วยชาม เขาต้องอบแห้งให้ความชื้นคงเหลือน้อยกว่า 1% ก็สามารถชุบเคลือบได้ ไม่ต่องอุ่นให้ร้อนด้วย คำตอบที่ว่าทำไมถ้วยชามต้องเผาสองหน ถ้าความเห็นผมนะ ผมว่าเป็นเพราะโรงงานถ้วยชามเผาสองหนมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว ก็เลยต้องเผาสองหน ในบรรดาโรงงานเซรามิกทั้งหมดโรงงานกระเบื้อง เป็นอุตสาหกรรมที่กล้าเปลี่ยนแปลงมากที่สุด กล้าเปลี่ยนเทคโนโลยี กล้าเปลี่ยนสูตรเนื้อดินทุกปี กล้าเปลี่ยนสูตรเคลือบตลอด อาจเป็นเพราะถ้าไม่เปลี่ยนก็อยู่รอดยาก สุขภัณฑ์ ลูกถ้วย ถ้วยชาม เปลี่ยนแปลงช้า อาจเพราะกลัวผลกระทบกับลูกค้า กับคุณภาพ แต่ในความเป็นจริงนักเซรามิกที่ปรับสูตร ปรับเทคโนโลยี ก็ต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นไปได้อยู่แล้ว และคงทดสอบจนแน่ใจแล้วจึงกล้าเปลี่ยน การเปลี่ยนแปลงทุกอย่างมันยากที่สุดตรงที่การเริ่มต้นนี่แหละครับ ถ้ากล้าสักครั้ง แล้วครั้งต่อๆไปก็สบายๆครับ อย่าง UMI นี่ปีนี้กำไรมากมายเพราะเรากล้าเปลี่ยนแปลง ปรับสูตรลดต้นทุนจนเป็นเรื่องปกติและสิ่งที่ได้มาคือกำไรของบริษัทครับ
  ความคิดเห็นที่ 1 mix007  |  17 ตค 52 - 14:46:01  

สุขภัณฑ์ เป็นผลิตภัณฑ์ขนาดใหญ่ การเผาครั้งเดียว ช่วยลดเวลา ลดเชื้อเพลิง เทคนิค คือใช้เนื้อดินที่ทดไฟสูงและเมื่อตากหรืออบผลิตภัณฑ์แห้งไว้ มีความชื้นในเนื้อดินหน่อย เช่น

ดินผสมสำเร็จรูปกลุ่มวิเทรียสไชน่า,ดินผสมสำเร็จรูปกลุ่มพอร์ซเลน
เพื่อลดปัญหาบิดเบี้ยว ผลพลอยได้เนื้อดินที่ขาวดูแล้วหน้าใช้งานผิวสวยงามขาว และ กระเบื้อง ลูกถ้วย หลังคา เป็นงานอัดและงานหล่อตัน เมื่อเผาจะมีการบิดเบี้ยวน้อยกว่า ผลิตภัณ์งานหล่อกรวงและงานจิกเจอร์ผลิตภัณฑ์จำพวก จาน ชาม แจกัน เนื้อดินมีความหนาแน่นที่น้อบกว่า ถ้าอยากเผาครั้งเดียวใช้เทคนิคการใช้เนื้อดินแบบที่กล่าวไปแล้วได้ การเลือกใช้เนื้อดินในการเผาครั้งเดียวมีความสำคัญเพราะเนื้อดินแต่ละตัวไม่สามารถเผาครั้งเดียวได้เพราะมันอมความชื้นได้มากกว่า เมื่อเผาครั้งเดียวผลิตภัณฑ์จะแตกเพราะความชื้นดันตัวออกมาจากผลิตภัณฑ์ต้องเผาช้าๆ ซึ่งจะเสียเวลา เขาจึงเผาสองครั้ง ครั้งแรกเผาดิบ ครั้งที่สองเผาเคลือบเพื่อลดความเสียหายในกระบวนการผลิต เทคนิคมีมากมายอยู่ที่ว่าเราเลือกใช้วัสดุเคลือบแล้วเนื้อดินถูกต้องหรือไมและเราเขาใจวัตถุดิบมากน้่อยขนาดไหนในการควบคุมอุณหภูมิในการเผาแบบ วันไฟร์