Pottery stone นั้นแบ่งได้เป็นสองจำพวกคือหินผุที่เป็นหินจริงๆ ยังมีความแข็งอยู่คล้ายเฟลด์สปาร์เพียงแต่บดง่ายกว่า จะมีลักษณะเป็นหินเกล็ดที่ทางเหมืองได้ทำการบดย่อยมาแล้วบางส่วนให้มีขนาดเล็กกว่า 3-5 มม. มีความเป็นFlux อยู่สูง มีความเป็นหิน จึงเหมาะสำหรับเลือกใช้ในฐานะตัวช่วยหลอมที่เป็น Hard material
สำหรับหินผุอีกประเภทนั้นผมถือว่าเป็นกึ่งดิน สังเกตง่ายๆคือผู้ขายไม่ต้องระเบิดเหมืองนั่นแหละครับ มีรถตักอย่างเดียวก็ทำเหมืองได้ หินผุกึ่งดินพวกนี้มี%Alkali อยู่พอสมควรพอจะเลือกใช้ได้ในฐานะเป็นตัวลดการดูดซึมน้ำสำหรับเนื้อกระเบื้อง จากที่มีความเป็นดินอยู่บ้างทำให้ช่วยเรื่องค่า Green strength, Dry strength ได้ดี แต่ข้อเสียก็คือจะทำให้การไหลตัวของน้ำดินแย่ลง ทำให้เราต้องอัด Deflocculant เพิ่มทำให้เปลืองและมีปัญหา Thixotropy ในน้ำดิน ทำให้เราต้องลด Density ของน้ำดินลงเพื่อให้การทำงานในขั้นตอนของการ Spray dryer ดีขึ้น ซึ่งทำให้สิ้นเปลือง Gas ในการ Spray น้ำดินมากขึ้น ซึ่งเรื่องนี้นักเซรามิกต้องคำนวณเปรียบเทียบต้นทุนให้ได้
ไม่มีหินผุแต่ละแหล่งที่จะมาแทนกันได้แบบเหมือนกันเป๊ะเหมือนที่นักวิจัยสมัยนี้ต้องการ เราต้องเลือกตัวที่ถูกและมีคุณสมบัติบางประการที่เราต้องการ เช่นหินผุตัวหนึ่งมีราคาถูก มีค่าการดูดซึมน้ำปานกลาง มีความแข็งแรงดิบสูงแต่ติดที่กิน Deflocculant มากไป กับหินผุอีกตัวมีการดูดซึมน้ำสูง ความแข็งแรงต่ำ แต่กิน Defloc น้อย ถ้าเป็นคุณจะเลือกตัวไหน แต่ถ้าเป็นผม ผมจะเอาข้อดีของทั้งสองตัวซึ่งตรงข้ามกันโดยสิ้นเชิงมาใช้ร่วมกัน ดังนั้นการที่เราจะเลือกหินผุตัวไหน เราต้องทดสอบคุณสมบัติทุกอย่างที่เราต้องการ แล้วหาจุดดีของมัน ไม่ใช่ว่าทดสอบแล้วคุณสมบัติไม่เหมือนกับที่เราเคยใช้ ดังนั้นสรุปว่าใช้ไม่ได้ ถ้าผมเจอน้องๆที่เป็นแบบนี้จะต้องสอนให้เข้าใจครับ |