มีรุ่นน้องผมคนหนึ่งที่โรงงานราชบุรีได้ไปเข้าอบรมด้วย กลับมาก็เข้าไปดูในเวปฐานข้อมูล และสนใจดินแดงตัวหนึ่ง ก็เลยโทรไปสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ปรากฏว่าเป็นดินที่เหลือจากการทำเหมืองถ่านหิน มีเศษดินอยู่เล็กน้อยแล้วเอามาทำฐานข้อมูลลงไว้ให้คนดู ปัจจุบันดินตรงนั้นเป็นที่ปลูกผักของชาวบ้าน น้องคนนั้นเลยฝันสลายไปนึกว่าจะได้ดินเหนียวดีๆมาใช้งาน
ผมคิดว่าการทำฐานข้อมูลวัตถุดิบเป็นสิ่งที่ดีมาก ถ้าคนทำรู้ความต้องการของอุตสาหกรรมจเซรามิกริงๆ ที่สำคัญต้องรู้ว่าความเป็นไปได้ในการนำมาใช้งานเป็นอย่างไร มี Reserve อยู่มากน้อยแค่ไหนซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ใช้แคร์มากๆ ถึงดินมีคุณภาพดีแค่ไหนแต่มีจำนวนน้อยมากก็ไม่น่าสนใจอยู่ดี จริงๆแล้วคนที่จะรู้ข้อมูลวัตถุดิบเซรามิกดีมากๆคือ Supplier ที่ขายแร่ ดิน และวัตถุดิบอื่นๆ น่าจะไปร่วมมือกับเขา ขอข้อมูลเขา ศึกษาถึงความต้องการของผู้ใช้ว่าเขาต้องการอะไร คุณสมบัติที่นำมาใช้งานได้ สำคัญกว่าองค์ประกอบทางเคมีมากนัก จริงๆแล้วที่กรมวิทย์ก็มีฐนข้อมูลแบบนี้เช่นกันและทำมานานแล้วด้วยแต่ขาดการประชาสัมพันธ์ ดูระบบราชการเราชอบทำงานซ้ำซ้อนกัน ใช้งบประมาณมากมายแต่ไม่ตรงความต้องการของคนใช้งานสักเท่าไหร่
เขียนมาบ่นนิดหน่อยครับคุณพรเลิศ เพราะเพิ่งเจอกรณีนี้มาสดๆเลย |