กระเบื้องแสงรุ้งกลาสโมเสค
Pakarung - Think Ceramic Think Pakarung
ซิเบลโก้ มิเนอร์รัลส์ จัดหาแร่คุณภาพสำหรับอุุตสาหกรรมเซรามิคส์
Ferro
Keramat
MS Industrial Supplies
Ceramics R Us
กลับไป Webboard
  TOPIC: segga
suttisak  |  28 กค 52 - 10:38:25  

ดร.คชินทร์ครับ ผมมีเรื่องปรึกษาครับคือการเผากระเบื้องแก้ว สีที่ใช้จะมีสองประเภทคือ สีที่ต้องใช้วัสดุเคลือบแผ่นรอง กับสีที่ไม่ต้องใช้วัสดุเคลือบแผ่นรอง ตัวสีก็เป็นสีโดยปกติที่ใช้กันมีทั้งประเภทแคดเมี่ยมเซเรเนี่ยมและไม่ใช่ ปัญหาที่พบคือเจ้าแผ่นรองครับ ที่ผมเรี่ยนว่ามีทั้งเคลือบวัสดุกันการติดและไม่เคลือบ โดยปกติหลังจากการใช้แล้ว จะเกิดรอยติดอยู่ที่แผ่นรองซึ่งถ้านำมาใช้ซ้ำอีก โดยที่ไม่มีการเคลือบใหม่ จะทำให้กระเบื้องติด การใช้งานครั้งต่อไปก็ต้องลอกออกและเคลือบใหม่ครับ ส่วนแผ่นรองที่ไม่เคลือบก็มีปัญหานี้เช่นกันคือบางสีเกิดรอยหลังการใช้งาน วิธีการใช้ครั้งต่อไปก็คือต้องนำไปเคลือบวัสดุกันติด อบความร้อนแล้วลอกทิ้ง เหมือนกับว่าต้องล้างทิ้งก่อน จึงนำมาใช้เป็นแผ่นรองที่ไม่เคลือบอีกครั้ง หรืออาจนำไปเคลือบวัสดุกันติด อบ แล้วใช้งานเป็นประเภทเคลือบก็ได้ครับ แต่พวกที่เคลือบแล้วจะนำมาใช้เป็นพวกที่ไม่เคลือบโดยที่เพียงลอกกันเคลือบออกแล้วใช้งานเลยก็ไม่ได้ ต้องนำไปเคลือบแล้วอบล้าง ลอกออกจึงใช้ได้  ปัญหาคือสิ้นเปลืองพอสมควร ทั้งเวลา พลังงาน เลยอยากทราบว่าเคยพบเหตุการณ์แบบนี้หรือไม่ และน่าจะมีทางออกที่ดีกว่านี้อย่างไรครับ

 

ตอบกระทู้
  ความคิดเห็นที่ 5 Suttisak  |  03 สค 52 - 09:28:12  

ขอบพระคุณเป็นอย่างสูง ครับผม

Suttisak

  ความคิดเห็นที่ 4 คชินท์  |  02 สค 52 - 08:26:56  
การทำกระบื้องแก้วบางครั้งเราไม่ได้ใช้แผ่นรองเผาที่มีอลูมิน่าเคลือบ แต่แก้วนั้นมีจุด Softening ต่ำ รวมทั้งมีสารเคมีบางตัวระเหยออกมาได้ ดังนั้นถ้าเราไม่ต้องการทำงานซ้ำซ้อนที่จะต้องนำแผ่นมาเผาล้างสารเคมีก็ต้องเลือกแผ่นที่คุณภาพดี มีรูพรุนต่ำ ทนทานต่อการกัดกร่อนของสารเคมีได้ดี ขอสเปคหรือผลการทดสอบจากผู้ผลิตได้ อย่างของอิเมอรี่ส์คลินเฟอร์นิเจอร์ เขาจะค่อนช้าง Serious เรื่องนี้มาก หรือถ้าใช้แผ่นแบบ Extrude batt ที่ผิวเรียบกว่าก็จะดีกว่าครับ ราคาแผ่นอาจจะแพงแต่ของที่เราทำก็แพงด้วยน่าจะคุ้มครับ เพราะกระเบื้องแก้วเผาต่ำ แผ่นไม่ค่อยเสียหายเท่าไหร่
  ความคิดเห็นที่ 3 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  29 กค 52 - 19:15:43  

ขอถามเพื่อความเข้าใจนะครับ ที่บอกว่าตัวเคลือบกันติดน่ะ มันคือ alumina ผสมดินขาว

ผสมกาว CMC แล้ว Spay ทับใช่ไหมครับ

  ความคิดเห็นที่ 2 Suttisak  |  29 กค 52 - 10:35:54  

 ขออธิบายเพิ่มเติมครับ คือจ๊อที่เราใช้จะมีทั้งเคลือบกันติดและไม่เคลือบขึ้นอยู่กับสี่ที่ใช้ แต่หลังจากการใช้งานแล้ว เมื่อนำกระเบื้องออกจะปรากฏรอยกระเบื้องนั้นติดอยู่ กับจ๊อทั้งสองแบบครับ ซึ่งถ้าหากนำมาใช้ซ้ำ ชิ้นงานหลังการเผาจะติดที่รอยนี้ส่วนบริเวณที่ไม่ปรากฏรอยชิ้นงานก็จะไม่ติด จะพบว่าบางชิ้นจะติดไม่เต็มทั้งชิ้น ขึ้นกับว่าวางไปทับรอยนั้นหรือไม่ ซึ่งก็ไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงได้เลยเพราะเราพยายามใช้พื้นที่แผ่นรองให้คุ้มค่าที่สุด และเท่าที่เป็นอยู่ รอยดังกล่าวจะกำจัดไปได้ด้วยการเคลือบกันติดทับไปและนำไปเผา หลังจากเผาที่อุณหภูมิต่ำแล้ว ถ้าเป็นชิ้นงานที่ต้องใช้จ๊อเคลือบก็สามารถใช้ได้เลยแต่ถ้าต้องใช้กับจ๊อไม่เคลือบก็ต้องนำจ๊อนั้นไปขูดเคลือบทิ้งครับ ก็คือความหมายที่บอกว่าต้องล้างทิ้งนั่นละครับ ถึงจะนำมาใช้เป็นจ๊อไม่เคลือบได้ เหมือนกับว่าทำให้รอยนั้นถูกเคลือบดูดซับออกไปด้วยการเผาครับ ถ้านำไปเผาโดยไม่เคลือบรอยนั้นก็จะไม่หายครับ ก็ติดอยู่ดี ตามความคิดผม รอยนี้เหมือนกับว่าขณะเผาจะเกิดไอหรืออะไรสักอย่างออกจากสีและถูกจ๊อดูดซับไว้ครับ เกิดกับทุกสี จะมากน้อยต่างกันเท่านั้นเองครับ นี่ละครับปัญหาที่เกิดขึ้น

Suttisak

  ความคิดเห็นที่ 1 คชินท์  |  29 กค 52 - 07:47:32  
ผมคิดว่าคุณสุทธิศักดิ์น่าจะใช้แผ่นรองเผาแบบ Dry press หรือเปล่าครับ เพราะการขึ้นรูปแบบนี้ที่ผิวหน้าจะมี Pore มากกว่าแบบ Extrude แผ่นรองแบบ Extrude จะเรียบเนียนกว่า และถึงแม้จะมีเศษแก้วหลอมติดไปบ้างก็ทำความสะอาดได้ง่ายกว่า โดยไม่ต้องมาเคลือบแล้วอบแล้วล้างออกอีกทีแบบที่ทำอยู่ ส่วนกรณีที่ใช้เคลือบรองผิวในบางผลิตภัณฑ์ อาจจะต้องปรับความทนไฟของเคลือบให้สูงขึ้นเพื่อที่เวลากระเบื้องแก้วติดจะได้ปัดออกได้ง่าย แต่ต้องใส่ดินและ CMC ลงไปด้วยไม่เช่นนั้นถ้าทนไฟมากก็มีโอกาสฟุ้งกระจายในเตาทำให้ชิ้นงานเกิดความเสียหายได้ครับ