Thixotropy ของน้ำดินนั้นมีสาเหตุหลักๆมาจากวัตถุดิบที่ใช้ในสูตร โดยเฉพาะดินเหนียว ไม่ว่าจะเป็นดินดำ ดินแดง มีโอกาสเกิดthixo ทั้งสิ้น ดังนั้นในการเลือกดินมาใช้ในสูตรเราต้องตรวจสอบค่า Deflocculant demand ของดินแต่ละตัวและทำการหาค่า Thixo เทียบในแต่ละช่วงของ Deflocculant curve ด้วย นอกจากนี้สิ่งสำคัญอีกตัวที่ทำให้เกิดปัญหาคือSoluble salt ซึ่งมาได้ทั้งจากในตัววัตถุดิบเองและจากน้ำที่เราใช้ในการเตรียมเนื้อดิน ความละเอียดของวัตถุดิบและการบดก็ส่งผลต่อค่า Thixo ด้วยเช่นกัน
ถ้าค่า Thixotropyของน้ำดินสูงเกินไปจะส่งผลต่อการหล่อแบบดังนี้
-การหล่อแบบจะเร็วขึ้น ได้ความหนาเร็ว
-แต่การ Drain น้ำดินออกจะช้ามากเพราะน้ำดิน Thixo อยู่ในแบบ รวมทั้งการ Drain จะไม่สมบูรณ์ มีน้ำดินแฉะๆอยู่ข้างใน
-ชิ้นงานดิบที่ได้จะอ่อน มีความแข็งแรงต่ำ มีน้ำอยู่ในชิ้นงานดิบมาก
-ทำให้การอบแห้งจะช้าลง
ถ้าในกรณีไม่ได้นำไปหล่อแต่เอาไปสเปรย์ก็จะทำให้ผงดินที่ได้มีเม็ดใหญ่เกินไป เนื่องจากน้ำดินมีความหนืดมาก ต้องใช้แรงดันสูงในการปั๊มน้ำดิน
แนวทางการแก้ไขนั้นคือถ้ากรณีที่น้ำดินหนืดและมี Thixo ก็เติม deflocculant ลงไปและตรวจสอบค่า Thixo ที่เหมาะสม แต่ถ้าค่าความหนืดต่ำอยู่แล้วแต่ Thixo สูง ให้เติม deflocculant ลงไปแต่ต้องปรับ density ให้สูงขึ้นด้วยเพื่อชดเชยค่า Viscosity
สำหรับกรณีที่Thixo ต่ำเกินไปจะส่งผลดังนี้
- การหล่อแบบจะช้าลง
- การ drain จะง่ายและรวดเร็วแต่น้ำดินอาจจะออกไปเร็วจนเกินไปจนทำให้เกิดการฉีกขาดของชิ้นงานดิบในแบบได้
- ชิ้นงานที่ได้จะแข็งกระด้างจนแตกร้าวได้ง่ายเพราะมีน้ำอยู่ภายในน้อยเกินไป
- แต่การอบแห้งจะเร็วดี ซึ่งอาจจะเร็วเกืนไปจนเกิดการแตกร้าวได้
ถ้า viscosity สูงแต่ thixo ต่ำไปนั้น ให้ลด density ของน้ำดินลงรวมทั้งลด%Deflocculant ลงด้วย แต่ถ้า viscosity ต่ำด้วยแล้วให้ลดเฉพาะ Deflocculant ลงอย่างเดียว การแก้ไขนี้แนะนำในกรณีที่เรามีสูตรที่เหมาะสมแล้วแต่มีปัจจัยบางประการที่ทำให้ค่า viscosity และ thixotropy เปลี่ยนไป แต่ถ้าสูตรยังไม่เหมาะสมแนะนำให้หาดินที่เหมาะสมกับสภาพการทำงานของเราก่อน โดยพยายามใช้ Defloc ให้น้อยที่สุด เพราะมันเป็น cost ที่สูงมากแม้ว่าจะเป็นโซเดียมซิลิเกตก็ตาม
|