กระเบื้องแสงรุ้งกลาสโมเสค
Pakarung - Think Ceramic Think Pakarung
ซิเบลโก้ มิเนอร์รัลส์ จัดหาแร่คุณภาพสำหรับอุุตสาหกรรมเซรามิคส์
Ferro
Keramat
MS Industrial Supplies
Ceramics R Us
กลับไป Webboard
  TOPIC: การควบคุมกระบวนการผลิต
ปรม  |  03 กค 52 - 08:24:26  

เรียนถามผู้รู้ทุกท่าน

ในการขึ้นรูปปั้นจาน ชาม แก้วโดยใช้เครื่องจักรประเภท  Fully Automatic (หัวปั้น Roller head)  เราควรจะควบคุมค่าในกระบวนการผลิตตัวไหนบ้างครับ เพราะบางครั้งดู Green ware  ก็เป็นปกติดี แต่ถ้าเผาบีส หรือ เผาเคลือบ ก็จะพบตำหนิ  หรือ บางครั้งเป็นของเสียที่ซ่อมไม่ได้เลย

 

                                                                        ขอบคุณครับ


   

ตอบกระทู้
  ความคิดเห็นที่ 38 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  11 กค 52 - 18:05:25  

ดังนั้น ธรรมาชาติของBodyที่เราใช้ มันจะมี

Charactor แตกต่างกันไป

ผมเคยใช้Body สูตรดินดำ ท่าศาลา หลังจาก

เหมืองที่เคยใช้ประสบปัญญาไม่สามารถจะ

ส่งดินป้อนตลาดได้ โดยเฉพาะช่วงหน้าฝนน้ำจะ

ท่วมทางเข้าเหมือง ส่งดินออกมาไม่ได้

เราจึงจำเป้นต้องปรับเอาดินดำทางเหนือมาใช้

ซึ่งก็ต้องปรับการทำงาน ปรับเครื่องให้รองรับกับ

การเปลี่ยนสูตรเสียเวลาและเสียของมากกว่า

จะเข้าที่ ถึงแม้จะมีข้อดีมากมายแต่เนื่องจากสภาพ

ของดินดำทางใต้จะอุ้มน้ำมากกว่า ทำให้การอบต้อง

set ค่าไว้อย่างหนึ่ง แต่พอมาใช้ดินดำจากลำปาง

ความเหนียวที่ได้น้อยลงกว่าเดิม แต่อุ้มน้ำน้อย

กว่า แห้งเร็วกว่า จึงต้องปรับการอบกันใหม่ ไม่งั้นแตกเสีย

หายตอนเป็น greenware ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะกับเครื่อง

Automatic ด้วยแล้ว ถือว่าหินพอสมควรกว่าจะเข้าที่

เข้าทาง

  ความคิดเห็นที่ 37 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  09 กค 52 - 21:53:41  

สำหรับอุณหภูมิในห้องอบขึ้นกับหลายปัจจัยมาก ผมSet ไว้ที่ 60oC

ส่วนหัวจ่ายลมจะปรับช่องลมให้จ่ายน้อยสุดไปจนเปิดมากสุดที่ระยะ

80% ก่อนถึงทางออกของห้องอบGreenware

ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยมาก ดินที่เราใช้มีดินเหนียวมากน้อยแค่ไหน

และแหล่งดินมากไหน ทางเหนือ ทางใต้ให้ผลต่างกัน การบดหยาบ

บดละเอียดก็มีผลทำให้ดินแห้งยาก แห้งง่ายต้องทดลองปรับและSet

 เป็นมาตรฐานของเราเองครับ

ผมเคยเอามาตรฐานที่ญี่ปุ่นsetไว้ที่โรงงานที่ญี่ปุ่นมาใช้ก็ไม่work

แม้แต่ดินของเราเอง รูปทรงต่างกัน ยังต้องปรับกันใหม่เลยครับ

อีกอย่าง Speed ที่เราเดินก็มีผลต่อการแห้งเร็วแห้งช้า

บอกไว้อีกอย่าง เครื่องขึ้นรูปผม นอกจากมี ลมร้อนจาก Heat Generator

แล้ว เรายังมีบางช่วง ใช้ ไมโครเวฟอบ Greenwareด้วย สมัยที่ซือมา

เมื่อ 20กว่าปีที่แล้ว เป็นเครื่องแรกของ SKK ที่ทำให้ลูกค้า

ส่วนค่าความชื้นสัมพัทธ์ที่คุณอยากรู้ จริงแล้วตามทฤษฎี ความชื้นสัมพัทธิ์

ควรจะเป็นที่ 55% ซึ่งจริงแล้ว ในห้องอบมันไม่เหมือนตู้อบโมลด์เพราะอากาศ

ภายในภายนอกมันไหลถ่ายเทได้ถึงแม้จะมี Air Curtainกั้นก็ตาม ดังนั้น

ใช้วิธีปรับตามหน้างานจะดีที่สุด

 

  ความคิดเห็นที่ 36 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  09 กค 52 - 19:17:34  

สำหรับการใช้ Spray พ่นที่ตัวโมลด์นั้น เพื่อให้ดินยึดเกาะผิวโมลด์

เนื่องจาก ผิวของโมลด์จะมีการทาสบู่( Magnecium Soap)เพื่อให้การแกะ

ออกจากCase ได้ง่ายในระหว่างการผลิตWorking Mould  เมื่อมีการนำไปอบ

เพื่อให้โมลด์แห้ง ก่อนนำไปใช้งาน ถ้ามีคราบไขสบู่( ผลึกเกลือ Magnecium)

เคลือบที่ผิวหน้าหนาเกินไป ก็จะไปปิดกั้นไม่ให้ด้านหน้าโมลด์มีรูพรุนมากพอที่จะดูด

โมลด์เกาะติดผิวหน้าและอาจจะลื่น จึงต้องใช้น้ำสเปรย์ช่วยเพื่อเพิ่มแรงดูดเกาะ

ผิวหน้าโมลด์

แต่ก็คงสงสัยว่า ถ้าโมลด์ถูกปิดกั้นด้วยฟิลม์ไขสบู่ น้ำจะระเหยออกมาได้อย่างไร

ตอบว่า ออกมาทางด้านใต้ของโมลด์ซึ่งไม่มีอะไรปิดกั้น ไม่มีคราบสบู่ ก็ไม่ได้

หมายความว่ามันจะไม่แห้ง ดังนั้น การเลือกใช้ สบู่ทาผิว Case ก็ดี แม้กระทั่ง

การเลือกฟองน้ำซับสบู่มาถูCase ก็ต้องเลือกให้เหมาะสม ผมใช้ฟองน้ำธรรมาชาติ

และต้องระวังว่าสบู่ก็เป็นสาเหตุให้หน้าโมลด์ลายไม่เรียบเพราะคราบสบู่จากการใช้

ฟองน้ำไม่เหมาะสมสำหรับผม ช่วงหลังๆ ไม่ได้เปิดหัว Spray ก็สามารถขึ้นรูปได้

จะพบว่า หลังจากเราได้ โมลด์ lot ใหม่แล้ว เรามักจะมีปัญหาการนำมาขึ้นรูปรอบแรกๆ

จะแกะไม่ออกคือดินไม่แห้ง ทั้งที่อบจนโมลด์แทบจะกรอบ  สาเหตุมาจาก โมลด์ซึ่งทำ

ไม่สามารถดูดความชื้นจาก Greenwareได้ ทำให้greenware ด้านติดกับผิวโมลด์

เกาะติดแน่น ต้องเดินดินทิ้งไปสักสาม สี่ รอบ เพื่อต้องการให้ผิวหน้าสึกออกไปก่อน หลัง

จากนั้นถึงจะเดินได้นิ่งขึ้น ใหเข้าใจว่า รูพรุนในโมลด์มีลักษณะเหมือนหลอดกาแฟ

( Capilary Tube)เป็นลักษณะรูพรุนเข็มเล็กๆ เชื่อมต่อกัน

 

  ความคิดเห็นที่ 35 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  09 กค 52 - 19:08:39  

ตอบข้อสอง

การหาความชื้นGreenware โดยปรกติจะนำมาชั่ง นน ก่อนอบในตู้อบทดลอง

และหลังอบดูน้ำหนักหายไปเท่าไร เทียบออกมาเป็น % ก็จะทราบว่าเราอบได้

แห้งตามกำหนดหรือไม่ โดยปรกติ ถ้าให้สะดวก หลังจาอบออกมาจากเครื่องแล้ว

ผมจะมี Sub dryer ก่อนเข้าเตา Bisc อีกที่หนึ่งไว้เก็บตกพวกที่อบไม่แห้ง โดยเอา

ความร้อนจากเตามาช่วย และมี Heat Generator  คอยเสริมอีกแรงหนึ่ง เผื่อไว้

ในกรณีออกมาจากSecondary Dryer แล้วยังไม่แห้งตามเกนท์ เพื่อจะได้ไม่รบกวน

กับการทำงานของเครื่องขึ้นรูป และในกรณีตรวจสอบเจอว่าความชื้นยังสูงต้องไปดูที่

ตัว Heat Generator ของเครื่องอบว่าจ่ายความร้อนออกมาปรกติหรือไม่

ในระหว่างการตรวจสอบ

  ความคิดเห็นที่ 34 ปรม  |  09 กค 52 - 09:27:27  

ขอบคุณสำหรับคำถาม เห็นภาพได้ชัดเจนมากเลยครับ แต่ยังมีข้อสงสัยเรื่อง การอบ , ความชื้น อีกนิดครับ

1. ที่บอกว่า ความชื้นแวร์ที่ออกจาก secondary dry จะอยู่ที่ 0-2 %  เราควระ set ระบบอบของเครื่องจักรอย่างไรครับ ( curve การอบ . อุณหภูมิ ,  ความชื้นสัมพันธ์)

2. ความชื้นของ green ware ที่ตั้งค่า 0 - 2 % ก่อนเผาบีส เราจะหาได้อย่างไรครับ

2. ที่บอกว่า โมลด์ควรอบแห้ง ไม่ชื้น แต่ที่เคยเห็นบางโรงงาน ก่อนปั้นแต่ละรอบยังมีการพ่นน้ำใส่ลูกพิมพ์  เพื่อช่วยลดปัญหา หน้าแวร์ลาย , ดินแผ่นร่อนติดโมลด์  แล้วที่ถูกต้องควรเป็นอย่างไรครับ  

                                                                                      ขอบคุณครับ

  ความคิดเห็นที่ 33 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  08 กค 52 - 19:02:40  

ภาพแสดงการทำงานที่ถูกวิธีในการยกดินป้อนเครื่อง

http://th.upload.sanook.com/embed/7cf9d7938b162f944094d3472345a236.JPG

ไม่ยกดินแบบนี้ มีผลกับการเกิดการเบี้ยว เนื่องจากดินเบียดตัวไปด้านหนึ่ง โดยเฉพาะกับเครื่อง

Semi-Auto

http://th.upload.sanook.com/embed/40610d297edf745721fcc201a0c8f7ce.JPG

ภาพลวดตัดดินมีผลต่อการเกิดปัญหารอยดินทับซ้อนหลังขึ้นรูป ดังนั้น ต้องทำความสะอาดสม่ำเสมอ

หรือออกแบบให้มีตัวรูดทำความสะอาดลวดอัตโนมัติก็ได้ สำหรับผมจะมีเครื่องที่ว่า มันจะรูดทุกครั้งที่

มีการตัด ใช้ระบบลมดัน ช่วยการทำงานพนักงาน

http://th.upload.sanook.com/embed/591661aa3a6aa62762b8ceb0a516f42e.JPG

http://th.upload.sanook.com/embed/738dce6173d528bd1d4bd8c9f19509bf.JPG

http://th.upload.sanook.com/embed/7643f0da13deac788fd62ac8aa767bc2.JPG

  ความคิดเห็นที่ 32 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  08 กค 52 - 18:27:38  

Process Controll การขึ้นรุปผลิตภันท์

http://th.upload.sanook.com/A0/dd5598fb93986987663e46fe249bd2da

http://th.upload.sanook.com/A0/4b9e0616abb23044be8932662d4952f6

http://th.upload.sanook.com/A0/75f325d4d06728f48ebaaa879a0cf5c6

http://th.upload.sanook.com/A0/f643e06470f531cae4633c24e9424627

ให้เป็น แนวทางในการจัดการควบคุม เพราะแต่ละโรงงานจะมีปลีกย่อยไม่เหมือนกัน ที่จำเป็นต้อง

ใช้ก็จะเป้นไปตามที่แนะนำ มากกว่านั้นจะทำก็ได้ แต่อาจจะเกินความจำเป็น การวิเคราะห์ปัญหา

ในการผลิต ถ้าควบคุมได้ตามนี้ การค้นหาปัญหาไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือพิศดารอะไร เครื่องมือ

Lab ที่เป็นเบสิก สามารถใช้ในการค้นหาปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ที่สำคัญให้นำข้อมุลที่ได้ นำมาเรียบเรียง

ดูการเปลี่ยนแปลงทุกวัน เราจะพบว่าถ้าเมื่อไรที่เราหลุดในการควบคุม ผลของมันก็จะไปส่งถึงผลิตภัน

แน่นอน และถ้าไม่จำเป็น อย่าไปปรับอะไรที่มันอยุ่นอกมาตรฐาน จนกว่าจะมีการตกลงกันทั้งหมดก่อน

เพราะถ้าต่างคนต่างแก้ปัญหา มักจะเกิดปัญหาใหม่ๆตามมาโดยไม่ทราบสาเหตุ เพราะต่างคนต่างแก้ไข

ไปคนละทาง

 

  ความคิดเห็นที่ 31 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  08 กค 52 - 17:47:36  

Process

 

Flow Chart

 

กระบวนการ

 

การควบคุม

 

จุดควบคุม

 

มาตรฐาน

 

การควบคุม

 

วิธีการ/อุปกรณ์

 

ความถี่ในการ

 

ตรวจสอบ

 

ผู้ตรวจสอบ

 

เอกสาร/รายงาน

 

หมายเหตุ

 

             

 

 

วัตถุดิบใน Stock

 

% ความชื้น

 

สีก่อนเผา/หลังเผา

 

% On Sieve

 

ST-RD-08

 

ทดสอบ

 

ทุกครั้งที่มีการรับวัตถุดิบ

 

QA

 

FM-QA-05

 

FM-QA-06

 

FM-ST-07

 

-

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การ LOAD

 

ส่วนผสม

 

ระยะเวลาบดผสม

 

ST-RD-04

 

นาฬิกา

 

1 ครั้ง/Lot

 

W

 

FM-RD-03

 

-

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การบดผสม

 

Flow Rate

 

เปอร์เซ็นต์ On Sieve

 

ST-RD-04

 

Ball Mill

 

Ford Cup

 

Timer

 

Sieve 270#

 

Balancer

 

1 ครั้ง/Lot

 

QA

 

FM-QA-07

 

FM-MR-05

 

FM-MR-04

 

-

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การพักน้ำดิน

 

การตกตะกอน

 

น้าดินไม่ตกตะกอน

 

ตรวจสอบด้วยสายตา

 

ในเวลาปฏิบัติงาน

 

W

 

-

 

-

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การกรอง

 

ตะแกรงกรอง

 

WI-RM-01

 

ตรวจสอบด้วยสายตา

 

ตะแกรงกรอง

 

ในเวลาปฏิบัติงาน

 

W

 

-

 

-

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การแยกเหล็ก

 

ประสิทธิภาพการแยกเหล็ก

 

WI-RM-01

 

ตรวจสอบด้วยสายตา

 

ในเวลาปฏิบัติงาน

 

W

 

-

 

-

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การเก็บน้ำดิน

 

การตกตะกอน

 

น้าดินไม่ตกตะกอน

 

ตรวจสอบด้วยสายตา

 

ในเวลาปฏิบัติงาน

 

W

 

-

 

-

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ภาพรวม Process Controll คุณภาพน้ำดินขึ้นรูป

  ความคิดเห็นที่ 30 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  07 กค 52 - 08:44:49  

ภาพของลูกปืนสำหรับตัว Upper Part ของ Roller Head

แตะอยุ่กับลูกเบี้ยว ถ้าทั้งสองตัวนี้สึกจะส่งผลต่อการชึ้นรูปเกิด

ปัญหาเบี้ยวได้

http://th.upload.sanook.com/embed/470181c35bd32d7cd6d57bf86d5f36cf.JPG

ภาพ Vacumm Vale มีหน้าที่ปิด เปิด ท่อดูด Vacumm ไปยัง Spindle (DABO) ถ้าเสีย จะทำให้

การขึ้นรูปผิดปรกติ โมลด์ร่อนไปตามแรงสบัดของการหมุน และที่สำคัญ ดินระหว่างขึ้นรูปจะร่อนไม่จับผิว

โมลด์

 http://th.upload.sanook.com/embed/5dfe3ff23faf22b229c55e250c1e8e0f.JPG

  ความคิดเห็นที่ 29 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  07 กค 52 - 08:16:22  

รูปภาพการขัดขอบจานด้วยเครื่องขัดขอบ

http://th.upload.sanook.com/embed/095f3f9b49e05fc070b4516b5b5b7ec2.JPG

รูปภาพการกองเก็บ Bisc

http://th.upload.sanook.com/embed/6ee0c772cce081752b575f2681d22bad.JPG

การคัดและซ่อมBisc ก่อนนำไปใช้งาน

http://th.upload.sanook.com/embed/e7535eed2bd236781d595deb90db6155.JPG

 

 

  ความคิดเห็นที่ 28 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  07 กค 52 - 07:53:42  

Vacumm Pump

ก่อนใช้งานต้อง Drain น้ำออกทุกครั้ง และความแรง

สุงสุดควรจะอยู่ที่ 740-760 mm Hg เพราะถ้าแรงน้อยไป

การดูดโมลด์และดินในขณะขึ้นรูปจะทำได้ไม่ดี บางครั้งดินจะร่อน

ในขณะขึ้นรูปเป็นสาเหตุของการเบี้ยวได้

http://th.upload.sanook.com/embed/82255155e36920c6bb4396b1f0f80964.JPG

  ความคิดเห็นที่ 27 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  07 กค 52 - 07:48:09  

ภาพลูกเบี้ยวสึก ส่งผลต่อการขึ้นรูปเพราะจะทำให้เกิดการสั่นในจังหวะขึ้นรูป

เป็นเหตุให้ดินถูกอัดตัวไม่สม่ำเสมอเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดเการเบี้ยว

นอกจากนั้น ลูกปืนที่สัมผัสกับลูกเบี้ยวถ้าผิวลูกปืนสึก ก้ส่งผลให้การขึ้นรูป

ไม่เรียบ นิ่ง สั่นคลอน เป็นสาเหตุหนึ่งที่เกิดอาการเบี้ยวได้ซึ่งลักษณะเบี้ยว

แบบนี้จะมาไม่เห็นตอนเผา Bisc จะไปเเจอตนเผา Glost

http://th.upload.sanook.com/embed/8ea05851921049d9189129ee43e05fae.JPG

  ความคิดเห็นที่ 26 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  07 กค 52 - 07:40:25  

ภาพ Transfer Device ของเครื่อง Fully Automatic

http://th.upload.sanook.com/embed/292b9f1399386eab79f09a74614eead2.jpg

http://th.upload.sanook.com/embed/91b4ce92b884657b3cbf43b2f7e10fbf.jpg

http://th.upload.sanook.com/embed/f083fda4b49732b7a9d83e9170763eaa.jpg

http://th.upload.sanook.com/embed/911fce0e7bf90d16ae738249b649e167.jpg

http://th.upload.sanook.com/embed/1c5baa52977e1c47a0369c389fd1782b.jpg

  ความคิดเห็นที่ 25 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  07 กค 52 - 07:35:44  

ภาพตู้อบJet Dry อีกมุมหนึ่ง

http://th.upload.sanook.com/embed/4301e0c51ec725b3f77962180d6e97d5.JPG

 

  ความคิดเห็นที่ 24 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  07 กค 52 - 07:24:35  

ภาพเครื่องขึ้นรูป Semi-Automatic

UR 50 เป็นเครื่องที่ขึ้นรูปแบบเอนกประสงค์

ได้ทั้งปั้นใน และปั้นนอก มี Slide สำหรับกลึง

คว้าน เป็นที่นิยมสำหรับโรงงานขนาดเล็กแต่

ต้องติดตั้งพร้อมตู้อบ และ เครื่องขัดขอบจึงจะ

สามารถทำงานได้สมบูรณ์

http://th.upload.sanook.com/embed/a2c4b7b3431f45de480884120a9348ce.jpg

เครื่องขัดขอบ

http://th.upload.sanook.com/embed/8371996edac019b1df94e09a95f91cf9.JPG

ตู้อบแบบ Jet Dry ข้อดีคือเปลืองโมลด์น้อยกว่า อายุโมลด์จะนานขึ้น การหมุนเวียนโมลด์เร็วขึ้น

ไม่ต้องทิ้งไว้ในตู้แบบ Prockter Dryer ซึ่งจะใช้โมลด์ต่อรอบมาก

http://th.upload.sanook.com/embed/427570afedc8118e61e41a061841add8.JPG

 

  ความคิดเห็นที่ 23   |  06 กค 52 - 22:21:28  

น้ำหนักดิน Clay Pad ควรจะเป็นเท่าไรของน้ำหนัก Greenware

ผมแนะนำให้ใช้ค่า 70:30 หมายถึง น้ำหนักดินแผ่นขึ้นรูป100% ได้น้ำหนัก

Greennware 70% ที่เหลืออีก 30%  เป็น เศษดินตัด เหตุที่ต้องเป็นค่านี้เพราะ

ในระหว่างขึ้นรูป ใบมีดตัดดินจะทำการปาดดินส่นเกินออกไปเรื่อยๆ ดินที่ถูกกดแผ่

ออกไปกลายเป็นขอบช่วงแรกๆ จะร้อนเพราะหัว Roller ทำให้เวลาแห้งบริเวณนี้

ถ้าไม่ตัดออกไปให้มากพอ จะแตกขอบได้ง่าย จึงจำเป้นต้องถูกปาดออกไปเพื่อป้อง

กันการเกิด Micro Crack

ทั้งจาน และ ถ้วย จะใช้ สัดส่วน นน เดียวกัน

  ความคิดเห็นที่ 22 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  06 กค 52 - 22:08:24  

อาการเบี้ยวที่มองได้ยากในช่วงขึ้นรูปแต่หลัเผาGlost

แล้วเบี้ยวเห้นชัด

มาจากสองส่วนใหญ่ๆคือ

1) มาจากตำแหน่งของการถอดรูป โดยลมเป่าแรงเกินไป

     ขอบจะเผยอขึ้นมาแล้วดีดกลับ การที่ไม่เห็นในช่วง

     greenware เพราะเหตุที่ดินยังไม่มีการหดตัว แต่พอ

     เผาไปถึงขั้น Glost มีการหดตัวและจัดเรียงโครงสร้าง

     ใหม่ ส่วนที่ดินเรียงไม่เป็นระเบียบเพราะแรงเป่าลม

     จะมาปรากฎให้เห็นทันที

     สาเหตุเกินจาก ดินอ่อนไป Mould ชื้นไป ปรับลมเป่า

     แรงเกินไป

2) ตั้งความหนาบางไม่ได้มาตรฐาน อีกทั้งระยะขาไม่ถูกต้อง

    รอบRoller /Dabo ไม่เหมะสม ก็จะมาเห็นตอนเป็น Glost

   

  ความคิดเห็นที่ 21 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  06 กค 52 - 22:04:51  

สำหรับความแข็งของดิน โดยปรกติ

ไม่ว่าจะดิน Stoneware หรือ ดิน

Porcelain เรากำหนดค่าความแข็งที่

10.5 วัดโดยเครื่องวัด Hardness

Tester แบบของ ญี่ปุ่นที่นิยมใช้กัน

แพร่หลาย

  ความคิดเห็นที่ 20 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  06 กค 52 - 21:57:13  

การเลือกใช้ Air Compressor ควรเลือกใช้

แบบ Screw Type ซึ่งจะให้ลมที่สะอาดกว่า

แบบลูกสูบ เป็นการยืดอายุอุปกรณ์ต่างๆ ตลอด

จนFitting ของเครื่องจะไม่รั่วง่าย เพราะแบบลูกสูบ

จะเกิดน้ำในระบบได้ง่ายมากๆ การกำจัดด้วย Air Dryer

จะสิ้นเปลืองพลังานมากกว่า ควรนใช้เป็น Screw Type

จะดีต่อเครื่องFully Auto มากที่สุด โดยเฉพาะเครื่องขึ้นรูป

จาน จะใช้ กระบอกลมจำนวนมากในการส่ง การรับ การเคลื่อน

ย้าย

  ความคิดเห็นที่ 19 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  06 กค 52 - 12:29:40  

ปัญหา บิ่น แตก ร้าว สนิมเหล็ก

ส่วนที่มาจากเครื่องขึ้นรูป อัตโนมัติ มักจะเกิด

จากเครื่องทำงานผิดจังหวะ เนื่องมาจาก

หลายสาเหตุ แต่ส่วนมากจะเกิดจากแรงดันลม

ไม่เพียงพอจึงทำให้การทำงานผิดจังหวะได้ และ

อีกเรื่องคือ Working Mould ชื้นเกินไปทำให้

ดินหลุดจากโมลด์ในขั้นตอน De-Mould เป็นเหตุ

ให้ต้องหยุดเครื่องเพื่อแกะดินจากโมลด์ การทำแบบ

นี้หลายๆครั้ง เครื่องก็จะรวน เดินกระตุก ส่งผลให้การ

ส่ง การรับ แรงเกินไป

 และความร้อนในการอบก็จะไม่สมำเสมอ ทำให้อายุโมลด็

สั้นลงด้วย เนื่องจาก ยุ่ย หรือไม่ก็เปราะ

ดังนั้น การ อุ่น โมลด์ให้ร้อนโดยการเดินเปล่าสักสองรอบ

 แล้วเดินพร้อมขึ้นรูปเพื่อปรับสภาพผิวหน้าโมลด์จึงมีความ

จำเป็น เมื่อทุกอย่างเข้าที่แล้ว เครื่องก็จะเดินราบเรียบ

อาจหยุดเนื่องจาก ปัญหาจุกจิกบ้าง ถือเป็นเรื่อง

ปรกติ

และเลยไปถึง ลมที่ใช้ในงานขึ้นรูป Fully Automatic จะต้องเป็น

ลมที่สะอาดที่สุด ต้องปราศจากไอน้ำปะปนเข้ามา มีผลเสียหลายประการ

 เพราะอาจมีผลทำให้เกิดเศษผงสนิมเล็กๆที่มากับน้ำเกาะติดที่ผิวดินได้

เพราะเราใช้ลมตั้งแต่การเป่าไล่เศษดินตัด ให้ล่วงสู่ Excess Clay

 Conveyor ซึ่งหัวSprayลม จะถูกตั้งหัวเป่าในขณะขึ้นรูป

เป่าไล่เศษดินส่วนเกินตามจุดต่างๆ เป่าทำความสะอาดผิวโมลด์ก่อนขึ้นรูป

และที่สำคัญ น้ำพวกนี้จะร้อนและมีน้ำมันCompressor ผสมเข้ามา จะส่งผลให้

อุปกรณ์ลมต่างๆ กระบอกสูบลม Seal ต่างๆ เสื่อมสภาพเลยกว่าปรกติ

  สำหรับระบบ Air Supply จะต้องประกอบด้วย

1) Air Compressor

2) Air Dryer

3) Reserve Tank

   ถือว่าจำเป็นอย่างยิ่งในการจ่ายลมให้กับ Autmatic M/C

และจะต้องทำการตรวจเช็ค ไล่น้ำออกจากระบบก่อนถึงจะปล่อย

ลมเข้าหาเครื่อง

 

  ความคิดเห็นที่ 18 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  06 กค 52 - 12:08:29  

หลักการ Jiggering จะอาศัยแรงเหวี่ยงของ Spindle

ในการสลัด Clay Pad ที่อยู่ในระหว่างขึ้นรูปให้ไหลไปพร้อม

กับการที่ Roller Head กดดดินและหมุนตามไปกับSpindle

และการคลึงการนวดตาม Profile ของหน้า Roller Head(ซึ่ง

ก็คือส่วนขาจาน)จะต้องไม่ช้าเกินไปจนCam ยกหัวRoller Head

ขึ้นก่อนที่ดินจะถูกนวดในช่วงวินาทีสุดท้ายซึ่งถ้ายกก่อนก็จะทำให้ดิน

ไม่แน่น เนื้อดินเมื่อยังไม่ถูกอัดให้แน่นก็จะส่งผลถึงหลังเผา Glost

ได้ นั่นคือ เมื่อเจออุณหภุมิสุงขึ้น ดินที่ไม่มีการอัดแน่นก้อาจจะเกิดการ

ทรุดตัวเกิดการปีกตก เกิดการก้นตก ได้เหมือนกัน ทั้งที่เราควบคุมการขึ้นรูป

ดีมากแล้ว

  ความคิดเห็นที่ 17 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  06 กค 52 - 11:59:41  

ดังนั้น สำหรับงานขึ้นรูปจาน ชาม แบบ ปั้นนอก

จึงต้องควบคุมค่าตั้งแต่

1) ความเร็วรอบการหมุนทั้งด้าน Roller Head และ Spindle(Dabo)

2) ความกว้างของขาจาน

3) ความหนาของขอบจาน สะโพกจาน และก้นจาน

4) ความเร็วรอบในขณะขึ้นรูป

5) ความเร็วรอบแตกต่างระหว่าง Roller Head และ Spindle

6) ความเร็วรอบของ Cam

7) ผลต่างความเร็วรอบของทั้ง Roller Head และ Spindle จะ

    ต้องสัมพันกับความเร็วรอบของ Cam ในการยก ขึ้น ลง

8) ความสูงของขาจาน และ Curve ขาจาน ต้องมีรัศมีที่ไม่แคบเกินไป

    เพราะจุดนี้จะช่วยพยุงก้นจานให้ตกในระนาบพอดี

  เพื่อให้เกิดการสมดุลย์ทางด้านน้ำหนักปีกและก้นให้สมดุลย์กัน

  ความคิดเห็นที่ 16 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  05 กค 52 - 21:48:35  

สำหรับการเบี้ยวสามารถแบ่งลักษณะได้ดังนี้

1) ปีกเบี้ยวเล็กน้อย

2) ปีกเบี้ยวเป็น Curveใหญ่

3) ปีกตก

4) ปีกเชิดขึ้น

  อาการเหล่านี้มาจากหลายสาเหตุแต่ต้องเข้าใจ

กลไกการทรงตัวของโครงสร้างจานว่า

1) ส่วนสะโพกจานจะรับน้ำหนักส่วนปีกให้คงรูป

2) ส่วนขาจาน จะรับน้ำหนักทั้งตัว ซึ่งถ้าเข้าใจเรื่องของ

    Moment หรือจุดหมุน ของการถ่ายน้ำหนัก ถ้าระหว่าง

    ปีกกับส่วนก้นจานซึ่งมีขาจานเป็นจุดหมุน การดึงกันอย่าง

    สมดุลย์ การคงรูปทรง ตามที่ออกแบบไว้แต่แรก ก็จะเป็นไป

    ตามนั้น

    แต่ถ้าเกิดอาการผิดรูปไป ก็เพราะความแน่น ความที่น้ำหนัก

    ด้านใดด้านหนึ่งไม่สมดุลย์ก็จะดึงให้ผิดรูปไปจากที่กำหนด 

    มาถึงตอนนี้ ก็จะได้อธิบายองค์ประกอบของการขึ้นรูปให้มาก

    ขึ้น

  ความคิดเห็นที่ 15 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  05 กค 52 - 21:32:38  

ขออธิบายเรื่องสาเหตุของเสียก่อนที่จะไปถึงการควบคุมนะครับ

เพราะเดี๋ยวจะไม่เข้าใจว่าทำไมถึงต้องควบคุมค่าต่างๆที่แนะนำ

1) อาการก้นตก ก้นดุ้งขึ้น ทั้งที่เผื่อการตก การดุ้งเรียบร้อยแล้ว

    มาจากหลายสาเหตุดังนี้

   1.1 ตั้งความหนาของก้นจานไม่ได้ตามต้องการอาจจะบางไป

         หรือหนาไป

   1.2 ตั้งความกว้างขาจานน้อยกว่ามาตรฐาน หรือเกินมาตรฐาน

   1.3 สายพานหัว Roller หย่อน ไม่ได้รอบ

   1.4 ตั้งความเร็วรอบช้าไปไม่สัมพันกับCam ที่ทำหน้าที่ยก

         หัว Roller ขึ้นลง

   1.5 หัว Roller ขยับได้ ล็อคคอไม่แน่น ทำให้ในระหว่างขึ้นรูป

         จะเคลื่อนไปจากค่าที่ตั้ง

    หลักๆที่ทำให้เกิดอาการก้นตก ก้นดุ้งขึ้น

 

  ความคิดเห็นที่ 14 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  05 กค 52 - 21:21:01  

ส่วนของเสียที่ไม่เห็นระหว่างขึ้นรูป แต่จะไปส่งผลตอนเผา

Bisc และ Glost ware มีองค์ประกอบที่ทำให้เกิดปัญหา

สำหรับกลุ่ม Plate จะมี

ก้นร้าว

เบี้ยวขอบ

ขอบปีกร้าว

ปีกตก

ก้นตก

ก้นดุ้งขึ้น

ตำหนิที่ผิว

ขอบกระเทาะ

ก้นบิ่น

สนิมเหล็ก

      สำหรับ ก้นตก ก้นดุ้งขึ้น ผมหมายถึง ตกเกินมาตรฐาน

หรือดุ้งขึ้นเกินมาตรฐานที่กำหนด ซึ่ง สาเหตุที่เกิดก็จะแตกต่างกันไป

รวมถึงเรื่องเบี้ยวจะเป็นเรื่องที่เถียงกันจนโลกแตกระหว่างคนเผา

กับคนขึ้นรูป ว่าตอนนี้รูปมองไม่เห็นแต่ไปเห็นอีกทีหลังเผา Glost

   คงจะเน้นสามเรื่องนี้ก่อนครับ 

 

 

  ความคิดเห็นที่ 13 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  05 กค 52 - 14:46:09  

ดังนั้น ตำหนิ ของเสียที่เกิดจากการขึ้นรูปไม่ว่า จะเป็น

Semi หรือ Fully Auto จะประกอบด้วย หัวข้อหลักๆ

คือ

บิ่น, แตก, ร้าว ,ตำหนิ เศษดิน ,ตำหนิ โมลด์, เบี้ยวเห็นชัด

เป็นรอยตัวดูด,  ร้าวจากตัวดูด

จะพูดถึง กลุ่มนี้ ก่อนนะครับ หมายถึงมองเห็น

ในระหว่างทำงานผลิต

ซึ่งกลุ่มนี้จะมาจากสาเหตุ

1) การ Transfer ของเครื่องจาก First Dry

    ไปยัง Secondary ด้วย สาเหตุ ลมตก

    เป็นสาเหตุหลัก นอกนั้น ก็มาจากระบบท่อลม

    ถูกอุดตัน การปล่อย การดูด ลม ตั้งไม่ได้จังหวะ

   (ปรกติมีโปรแกรมติดตั้งมากับเครื่อง ถ้า เพี้ยนควรทำ

     Reset บ่อยๆ )

2) ระหว่างการอบ First Dry ตัว Mold Ring จะต้องไม่ฝืด ต้องทำหน้าที่หมุน

    ให้ลมจาก Jet Dryer โดนทั่วตัว ไม่โดนด้านใดด้านหนึ่ง ซึ่งจะส่งผลให้เบี้ยวได้

3) ลมที่เป่าเพื่อช่วยให้ greenware หลุดร่อนจาก mould จะต้องสัมพันกับ

    เวลาที่ตัว Transfer เข้ามาดูดเพื่อดึงออกจาก Mould ถ้าตั้งจังหวะไม่สอดคล้อง

    จะทำให้ดูดได้ยาก หรือดูดผิดจังหวะ ส่งผลให้ก้นจานตรงกลางแตก

4) การ Tranfer จาก Secondary Dry ไปยัง Edge Finishing ต้องนิ่ม ไม่ลงเร็ว

     เกินไป ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการร้าวที่มองไม่เห็น จะไปเห็นตอนหลังเผาและตอนเผา Glost

     ได้ เพราะ Greenware หลังผ่านตู้อบจะเปราะมาก การวงาซ้อนต้องไม่เกิน 10 ชิ้นต่อตั้ง

      ถ้าดินของเราค่า Green Strength ต่ำ

5) Mould ที่ใช้งาน ต้องแห้ง ดังนั้น ควร Warm Mould ก่อนเดินจริงประมาณ ครึ่ง ชม ทุกเช้า

    เพืออุ่น Mouldให้แห้ง ซึ่งจะง่ายต่อการขึ้นรูป แกะออกง่าย ไม่ติดMould

     

  ความคิดเห็นที่ 12 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  05 กค 52 - 14:41:52  

สำหรับเครื่อง Fully Automatic

หมายถึง งานทุกอย่างที่เคยใช้คนทำ

เช่นการป้อน Clay Pad เข้า Roller Machine

ตั้งแต่ขั้นนี้ จนเสร็จเป็น Greenware ความชิ้น

ไม่ระหว่าง 0-2% ล้วแล้วแต่ใช้กลไกรอัตโนมัติ

ควบคุมด้วย PLC ทั้งสิ้น คนมีหน้าที่คัดแล้วยกใส่

รถเข้มไปรอเลียงเข้าเตา หรือบางที่อาจจะเอาสาย

พานมารอรับหลังเครื่องขึ้นรูปเลย

  ความคิดเห็นที่ 11 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  05 กค 52 - 13:16:16  

ก่อนนอื่นต้องทำความเข้าใจกับเครื่องและส่วนต่างๆก่อนนะครับ

ในอุตสาหกรรมผลิต ถ้วย จาน ชาม เรามีการใช้เครื่องขึ้นรูปนอกจาก

แยกตามการขึ้นรูป แบบ Hollow are และ Flat Ware ตามที่ได้

กล่าวไปแล้ว เรายังได้แบ่งเครื่องออกเป็นสองจำพวกคือ

 Automatic  และ Semi-Automatic ทั้งสองแบบ ใช้เครื่องจักรแบบ

เดียวกันในการขึ้นรูปคือ Roller Machine ส่วนอื่นๆที่เข้ามาประกอบ

จะทำหน้าที่ช่วยให้การขึ้นรูปสะดวกขึ้นทำงานแทนคนได้ แต่ก็มีทั้งข้อดีข้อเสีย

สำหรับเครื่อง Fully Automatic

ของเสียที่เกิดขึ้นในระหว่างขั้นตอนการขึ้นรูป โดยทั่วไปจะมีปัญหา บิ่น แตก ร้าว

เป็นหลัก ตำหนิเศษดินก็พบได้แต่จะมีของเสียที่พบได้ยาก มองเห็นได้ยาก ต้องผ่านการ

เผาถึงทราบเช่น ก้นตก ก้นดุ้ง ปีกตก เบี้ยวขอบ ขอบร้าว ซึ่งจะกล่าวต่อไป

    ขอแสดงขั้นตอนการทำงานของ Semi-AUtomatic ก่อนนะครับ

เครื่อง Semi-Automatic จะเป้นเครื่องขึ้นรูปเพียงอย่างเดียว

จะประกอบด้วย

1) Clay Cutter

2) Roller Machine ซึ่งประกอบด้วยส่วนสำคัญดังนี้

     Roller Head

     Spindle ( Dabo)

     Cam System หรือ  NC System

     Vacuum Unit

     Egde Cutting Device

     Excess Clay Tranfer

3) ตู้อบ จะมีสองแบบ คือ jet Dryer หรือ Mangle Type Dryer

    ทั้งสองแบบจะเอาไว้อบ Greenware

4) Edge Finishing M/C

ทั้งหมดนี่แยกส่วนกัน เอาคนมาคั่นกลาง หมายถึง

1) ต้องมีคนป้อนดินท่อนที่ผ่าน De-Airing เข้า Clay Cutter

2) คนป้อนดิน(Clay Pad)  +ป้อน Working Mould เข้า

    Roller Machine (เครื่องJigger)

3) คนเก็บ Greenware หลังตู้ ทำการคัดแยกแล้วป้อนเข้าเครื่อง

    ขัดขอบจาน( Edge Finishing M/C)

4) หลังจากนั้นเก็บขึ้น Tollly Car นำไปรอการเรียงเผาเข้าเตา

    Biscuit Firing

  ความคิดเห็นที่ 10 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  05 กค 52 - 13:10:15  

ขอกล่าวถึงของเสียในส่วนตั้งแต่การ Forming จนกระทั่งเสร็จสิ้นเป็น Glost ware

กระบวนการผลิตตาม Process ต่างๆ แล้วถึงจะกล่าวถึงตำหนินะครับ

การผลิตถ้วย จาน ชาม แบ่งการขึ้นรูปเป็นสองLine ใหญ่ๆคือ

1) การหล่อ

2) การปั้นขึ้นรูปด้วยเครื่องมือ เราจะพูดถึงเฉพาะการขึ้นรูปด้วย Roller Machine นะครับ

และเฉพาะกระทู้ที่คุณ ปรม ตั้งไว้ ผมพอจะมีความรู้อยู่บ้าง ก็ขอเสนอแนะเฉพาะ Fully Automatic

ก่อนนะครับ

 

  ความคิดเห็นที่ 9 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  04 กค 52 - 19:41:52  

เยี่ยมมากเลยครับอาจารย์ เดี๋ยวจะมาขออณุญาติเสริมเรื่องตำหนิต่างๆนะครับ

 

 

 

  ความคิดเห็นที่ 8 คชินท์  |  04 กค 52 - 19:00:08  

การควบคุมคุณภาพของการขึ้นรูปโดย roller head นั้น ต้องเริ่มตั้งแต่ควบคุมดินแท่งที่เข้ามา โดยเราต้องควบคุมความชื้นของดินแผ่นทั้งภายในแผ่นเดียวกันซึ่งส่วนใหญ่แล้วตรงกลางแผ่นจะมีความชื้นมากกว่าด้านขอบอยู่แล้ว ซึ่งต้องพยายามควบคุม filter presss ของเราให้ความชื้นทั้งในแผ่นและระหว่างแผ่นมีค่าใกล้กัน หลังจากนั้นเมื่อไปผ่าน Pug mill แล้วทำการ aging ไว้อย่างน้อย 1วันเพื่อให้ความชื้นสม่ำเสมอทั่วแท่งเพราะเมื่อเราดูดอากาศโดยใช้ extrude แล้วค่าความชื้นก็จะไม่เปลี่ยนแปลงแล้ว เราต้องศึกษาว่าดินของเรานั้นขึ้นรูปเหมาะสมที่ความชื้นเท่าใดและพยายามควบคุมไม่ให้แตกต่างไปจากค่ากลางเกิน 1% เช่นถ้าค่าที่เหมาะสมคือ 19% ดังนั้นค่าควบคุมควรเป็น 18-20% แต่เนื่องจากการหาค่าความชื้นจะต้องใช้เวลามากดังนั้นเราต้องหาความสัมพันธ์ระหว่างความชื้นของดินแท่งกับค่าความแข็งที่หาได้จาก Hardness tester แล้วเราใช้ค่าความแข็งเป็นตัวควบคุมแทนซึ่งจะได้ค่าที่เร็วกว่า แต่อย่าลืมว่าความแข็งนั้นเราวัดแค่ที่เปลือกดิน ถ้าข้างในยังนิ่มอยู่แต่ข้างนอกแข็งเราก็อาจถูกหลอกได้

เมื่อ Aging ดินแท่งแล้วก็นำมาเข้าเครื่อง Clay feeder เพื่อป้อนดินเข้า Extrude เล็กที่ใช้ในการรีดดินเพื่อขึ้นรูป ตรงนี้ต้องหาพลาสติคมาคลุมไว้เพื่อกันเปลือกดินแข็ง

เมื่อเข้าเครื่องรีดดินสิ่งที่ต้องควบคุมคือค่า Vacuum ของเครื่องควรมีค่ามากกว่า 720 และค่อยเช็คอุณหภูมิของเปลือก Barrel และเปลือกดิน ค่าควบคุมเราต้องทำการเก็บข้อมูลว่าค่าใดที่ยังไม่ทำให้เกิด Moisture gradient ระหว่างเปลือกและไส้ในของดินแท่งมากเกิน 1% เพราะถ้ามากเกินไปจะทำให้ดินตรงกลางที่เมื่อจิ้กไปแล้วจะไปอยู่ส่วนก้นและดินที่เปลือกจะม้วนขึ้นไปอยู่ที่ปาก ซึ่งโดยปกติก็จะแห้งเร็งกว่าอยู่แล้ว ถ้าทำให้เกิดความแตกต่างของความชื้นมากก็จะทำให้เกิดการหดตัวที่แตกต่างกัน บางครั้งยังไม่แสดงอาการแตกร้าวออกมาแต่มันเริ่มเกิด Internal stress ขึ้นภายในชิ้นงานดิบแล้ว

นอกจากการควบคุมอุณหภูมิของดินแล้วอัตราการป้อนกับอัตราการออกและอัตราการขึ้นรูปต้องสัมพันธ์กัน ไม่เดินๆหยุดๆหรือเร็วบ้างช้าบ้าง

สิ่งที่หลายคนมองข้ามคือลวดตัด ถ้าเราใช้ลวดตัดเส้นใหญ่เกินไปจะทำให้เกิดรอยแผลที่ไม่เรียบที่ขอบดินและบางครั้งจะมีเศษดินไปติดอยู่ที่ลวดตัด เมื่อดินก้อนใหม่มาก็จะติดไปกับดินก้อนใหม่ทำให้การขึ้นรูปเป็นรอยเส้นได้ ถ้าเรากลัวว่าลวดเส้นเล็กจะขาดง่ายก็ต้องปรับปรุงที่ตัวยึดลวดเพราะเวลาลวดขาดมักจะขาดที่ตรงจุดยึดมากกว่าตรงบริเวณที่จะตัด

ทิศทางของการตัดก็ต้องคอยสังเกตเพราะถ้าเราตัดไม่ศึกษาทิศทางที่ดินวิ่งออกมาเรื่อยๆก็จะทำให้ดินแต่ละก้อนมีความหนาและน้ำหนักไม่เท่ากัน

เราต้องคอยสังเกตเศษดินที่วิ่งขึ้นมาด้วยว่ามากน้อยเพียงใดเพื่อให้เหมาะสมกับน้ำหนักที่เราต้องการจะขึ้นรูป ดังนั้นเราต้องมีการสุ่มเช็คน้ำหนักหลังจากแกะแบบแล้วเพื่อใช้ในการควบคุมกระบวนการ ซึ่งค่าน้ำหนักจะบอกเราหลายอย่างทั้งเรื่องน้ำหนักดินที่ป้อนลงไปในแบบ บอกการสึกหรอของแบบพิมพ์และการสึกหรอของ Roller head

หลังจากการแกะแบบและติดหูแล้วสิ่งที่เราต้องระวังที่จะทำให้เกิดปัญหาตำหนิอีกจุดที่หลายๆที่มักมองข้ามคือการอบแห้ง การอบแห้งไม่ใช้แค่เก็บแก้วแล้วปล่อยเข้าไปในกระเช้าDryer เท่านั้น เราต้องคุม Curve ของการอบแห้งด้วย เราต้องรู้จุดวิกฤตของการอบเพื่อที่เราจะได้ไม่เร่งให้เร็วจนเกินไป และเมื่อผ่านจุดวิกฤตไปแล้วเราจึงเร่งความเร็วในการอบแห้งได้

  ความคิดเห็นที่ 7 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  04 กค 52 - 01:45:39  

Roller Head

http://i289.photobucket.com/albums/ll219/sornnarong_2008/DSC00839.jpg

Heat Generator ให้ความร้อนตู้อบ Jet Dryer

http://i289.photobucket.com/albums/ll219/sornnarong_2008/DSC00845.jpg

Nozzle  Jet Dryer

http://i289.photobucket.com/albums/ll219/sornnarong_2008/DSC00895.jpg

Special Working Mould ใช้กับงานถ้วยกาแฟ ทรงพิเศษ

http://i289.photobucket.com/albums/ll219/sornnarong_2008/DSC00866.jpg

  ความคิดเห็นที่ 6 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  04 กค 52 - 01:28:01  

http://i289.photobucket.com/albums/ll219/sornnarong_2008/ATM25N1.jpg

http://i289.photobucket.com/albums/ll219/sornnarong_2008/ATM25N2.jpg

  ความคิดเห็นที่ 5 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  04 กค 52 - 01:10:47  
http://i289.photobucket.com/albums/ll219/sornnarong_2008/atm25n.jpg
  ความคิดเห็นที่ 4 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  04 กค 52 - 00:36:18  
http://uploading.com/files/FQC6FETS/atm25n.jpg.html
  ความคิดเห็นที่ 3 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  04 กค 52 - 00:31:04  

รูปภาพ ATM 25N ใช้ผลิต ถ้วย แก้ว ชาม

และส่วนประกอบต่างๆ

[url]http://uploading.com/files/FQC6FETS/atm25n.jpg.html[/url]

  ความคิดเห็นที่ 2 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  03 กค 52 - 17:21:35  

เครื่องขึ้นรูปอัตโนมัติแบ่งได้สองกลุ่ม

คือ

1)  Automatic Cup mahine Machine

     ใช้ขึ้นรูปกลุ่ม Hollow ware เช่น ถ้วยกาแฟ แก้ว

     Mug ถ้วย ขาม ก้นลึก บางคนเรียกว่าเครื่องปั้นใน

2) Automatic Plate Making Machine

    ใช้ขึ้นรูปกลุ่ม จาน ชาม ก้นตื้น ขนาดตั้งแต่เล็ก 7" ไปจน

   ใหญ่สุดประมาณ 12" เล็กกว่านี้ ใหญ่กว่านี้ ไม่นิยมใช้

    เครื่องแบบ Fully Automatic

     เครื่องประเภทนี้จะเรียกกันทั่วไปว่าเครื่องปั้นนอก คือใช้

    วิธีกดหัวปั้นลง Mould ที่มีดินแผ่นขั้นกลาง ด้านหัวปั้น

     ( Roller Head)จะเป็นพิมพ์ด้านก้นจาน ส่วนด้านMould

     ( Spindle)ที่อยู่ใต้หัวปั้นจะเป็นส่วนของหน้าจาน

   

 

  ความคิดเห็นที่ 1 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  03 กค 52 - 16:15:17  

ถามได้กว้างดีครับ อยากตอบแต่สงสัยต้องสมมุติโจทย์เอง

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักเครื่องขึ้นรูปอัตโนมัติก่อนะครับ

( Fully Automatic ) ดูจากรูปนะครับ

เป็นเครื่องรุ่น ยอดนิยม ใครๆก็ถามหา

ATM 25N

http://www.uploadd.com/imageUpload/image.aspx?img=4D64C17B6D6ZEVJQTL4YRQF7MUO[L