กระเบื้องแสงรุ้งกลาสโมเสค
Pakarung - Think Ceramic Think Pakarung
ซิเบลโก้ มิเนอร์รัลส์ จัดหาแร่คุณภาพสำหรับอุุตสาหกรรมเซรามิคส์
Ferro
Keramat
MS Industrial Supplies
Ceramics R Us
กลับไป Webboard
  TOPIC: ลดต้นทุนการผลิต
ศิริวรรณ  |  30 มิย 52 - 11:13:33  

เรียนท่านอาจารย์

หนูทำโรงงานพวกของตกแต่งทั้งแจกัน ตุ๊กตาและของใช้ตกแต่งอื่นๆ พบปัญหาว่าต้นทุนในการผลิตสูงมาก เวลาคิดต้นทุนแล้ว เลยต้องตั้งราคาขายสูง เจอลูกคาต่างประเมศต่อรองเยอะมากจนแทบไม่มีกำไรเลย อาจารย์ช่วยแนะนำหน่อยคะว่าต้องทำอย่างไรดี ไปลดต้นทุนตรงไหนได้บ้าง จากประสบการณ์ที่ผ่านมาคะ

ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

ตอบกระทู้
  ความคิดเห็นที่ 10 คชินท์  |  02 กค 52 - 19:22:00  

อาจจากปัญหาของคุณศิริวรรณ คุณต้องการให้บอกว่าจะลดต้นทุนเคลือบสไตล์ญี่ปุ่นหรือที่พี่โป่งแร้งเรียกว่าเคลือบ Reactiveนั้น ก็คงต้องนั่งเทียนอยากที่พี่เขาว่ามาแหละครับ ถ้าให้ฟันธงเลยก็เดาว่าเคลือบต้องมี ZnO เยอะ ซึ่งเป็นสไตล์ของเคลือบประเภทนี้ ซึ่ง ZnO แพงขึ้นทุกวัน ถ้าลดหรือตัดได้ โดยไปใช้ฟริตที่มี ZnO แทน หรือใช้ wollastonite BaCO3 ช่วยก็พอยังได้ effect อยู่ ต้องลองปรับดูนะครับ พวกออกไซด์ที่มีราคาแพงเหล่านี้ต้องพิจารณาราคาของผู้ขายด้วย บางเจ้าขายของขูดรีดมาก ผมถือว่าพวกนี้ฉวยโอกาสซ้ำเติมผู้ประกอบการมาก ถือว่าเขาไม่รู้ก็เลยฟันราคาเสียเลือดเย็น มีอย่างที่ไหนขายดินระนองกิโลกรัมละ 7 บาท ผมแนะนำให้เช็คราคาจาก Suplier หลายๆรายแล้วนำมาทดลองดูว่าโอเคกับเราไหม ถ้าพวกออกไซด์ก็แนะนำบริษัทปะการัง บริษัท CRU ถ้าสีเซรามิกก็ปะการัง Tandem Minetec ถ้าฟริตก็ต้องเป็นเฟอร์โร

หลังจากที่ได้วัตถุดิบที่ดีราคาถูกแล้วก็ต้องปรับสูตรให้ถูกลง ใช้ปริมาณสีให้น้อยลง ลองชั่งน้ำหนักสีต่อชิ้นงานที่ใช้ ถ้าเป็นงานตกแต่งส่วนใหญ่มักใช้การสเปรย์ซึ่งจะสิ้นเปลืองมาก แต่ได้ความสวยงามกว่าการชุบดังนั้นก็ต้องพยายามให้ Lossน้อยที่สุด แต่ถ้าเป็นแจกันชิ้นเล็กไม่ใหญ่มากก็ใช้ชุบดีกว่าแล้วค่อยมาสเปรย์หลอกทีหลัง

  ความคิดเห็นที่ 9 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  01 กค 52 - 22:26:07  

เคลือบอย่าที่คุณกำลังผลิต ผู้ผลิตถ้วย จาน ชาม

ทำมาตั้งแต่เกือบร้อยปีแล้วมังครับ ผมก็ทำมานาน

แล้วครับ แต่จะเล่นแบบแดงสดไหลปะปนกัน ทำได้ไม่ยาก

สูตรมีปรากฎตาม หนังสือต่างๆ มากมาย แต่ข้อจำกัดของเราคือ

1) จาน ชาม ต้องใส่ของกิน บางสีไม่ผ่าน FDA ครับ ผลิตได้แต่ขาย

เป็นจาน ใส่อาหารไม่ได้ ก็มีมากมาย เราเปลี่ยนไปใช้ Stain แทน

2)การผลิตสีแนว Reactive Glaze กับถ้วย จาน ชาม ต้องออกมาเป็น

    Set ดังนั้น เราจะหลีกเลียงไม่ใช้ Oxide หันมาใช้ Stain แล้วใช้ ฟริต

    เข้าช่วย ผมใช้ของ Cover,Ferro Cerdec

มีคนทำออกมาขายในลักษณะ Mass กันมากมาย ในอังกฤษ

ในจีนก็ทำขายกันมาก ของ Indonesiaก็ผลิต  เพียงแต่สีบางสีที่ได้มา

ถ้ามันมีสารพิษทำเป็นภาชนะใส่อาหารไม่ได้ ก็จะหลีกเลี่ยงไปใช้ Stain

และใช้เทคนิก Spray เข้าช่วย

 

  ความคิดเห็นที่ 8 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  01 กค 52 - 17:18:28  

ถ้าบอกว่าเคลือบที่ใช้เป็นลักษณะเคลือบแบบนี้ ก็คือเคลือบ Reactive

ใช่ไหมครับ ทางเหนือเรียกว่า Art Glaze ปรกติใช้ เป้น Oxide แทน

Stain อาจจะมี Stain เข้ามาผสมด้วย อาจจะใช้ฟริตผสมด้วย  ยังไงก็มี

วิธีการผลิตของตัวเองเป็นฐานอยู่แล้วครับ ไม่คิดว่า คนที่ทำธุรกิจแบบนี้มา

จะขาดความรู้ทางด้านการผลิต การตลาด หรือความรู้ทางด้านบริหารที่เป้น

พื้นฐานทั่วไป ผมเชื่อว่ามีความรู้ครับ และเห้นว่า คุณรู้สึกว่าปัญหาน่าจะมา

จากวัตถุดิบราคาสุง แต่มันสุงขนาดที่ทำให้คุณขายไม่ได้เลยหรือครับ

ต้องถามว่า นอกจากนี้แล้ว

พอจะบอกได้ไหมครับ  อันดับ ที่ หนึ่ง ถึง หก  อะไรมาก่อนมาหลัง

แรงงาน เชื้อเพลิง ไฟฟ้า วัตถุดิบ ค่าซ่อมบำรุง ค่าบริหารทั่วไป อะไรมาก่อน

มาหลัง หรือถ้าจะให้ดี พอจะบอกรายละเอียดได้มากกว่านี้ไหมว่า

1) เราหล่อได้วันละกี่รอบ

2) เราใช้แรงงาน กี่ชิ้น ต่อ คน ต่อ วัน

3) เราทำงานหล่ออย่างเดียวหรืองานขึ้นรูปด้วย

 4) กำลังผลิตต่อชิ้นต่อวันเท่าไร

 5) มีเครื่งอจักร อุปกรณ์ อะไรบ้างในการผลิต Slip การหล่อ

 6) เราใช้ Glaze กี่ % ของน้ำหนักทั้งหมด

 7) เราเผาBisc ก่อนเคลือบหรือเผาแบบ One Fire

8) ของเสีย แต่ละ จุด Casting,Greenware,Glazed ,Glost

   เสีย จุดละกี่%

9) สัดส่วนผลิตชิ้น ใหญ่ กลาง เล็ก มีเท่าไร

    ถ้าต้นทุนเคลือบคุณทำให้ต้นทุนสุงเป้นอันดับหนึ่ง ค่อยมาแก้ไข

ที่นี่ครับ รอคุณบอกต้นทุนผลิตแต่ละส่วนออกมาก่อน คุณจะได้คำตอบที่

ชัดเจนและแม่นยำกว่านั่งเทียนคูยกัน

  นี่คือภาพที่คนไม่เห็นโรงงานของคุณเขาจะต่อภาพเพื่อให้รู้ว่า

ในโรงงานคุณมีการ จัดการอย่างไร  เพื่อจะช่วยดูช่องว่างให้ว่าอะไร

ที่ยังมองข้าม มองผ่านหรือไม่

 

 

  ความคิดเห็นที่ 7 ศิริวรรณ  |  01 กค 52 - 14:12:22  

ขอบคุณมากๆเลยสำหรับคำแนะนำดีๆค่ะ โรงงานนี้เป็นกิจการของที่บ้าน หนูและครอบครัวเราจบมาทางด้านบริหารอยู่แล้ว เรื่องการตลาดเราพอมีลูกค้าและมีการวางแผนร่วมกันอย่างดี สามีเป็นวิศวกรที่รู้เรื่องโรงงานพอจะวัดประสิทธิผล ของการผลิตและพนักงาน แต่ปัญหาจริงๆที่อยากให้ฟันธงคือเรื่องเทคนิคลึกๆ เพราะเรารู้สึกว่าเราทำของแพงเกินไป ดูจากราคาที่คุยกับลูกค้า เขาก็อยากซื้อเราเนื่องจากดีไซน์และเทคนิคการตกแต่ง งานส่วนใหญ่ที่เป็นเสน่ห์ของเราคือเรื่องเคลือบ เราอยากจะลดต้นทุนสีเคลือบเหล่านี้ซึ่งเป็นเคลือบที่ไม่ค่อยทำในท้องตลาด ไม่ใช่สีแบบถ้วยชาม แต่สไตล์จะเป็นแบบเคลือบญี่ปุ่น ส่วนใหญ่เราก็ดูสูตรจากต่างประเทศ ในเวปไซด์ ตามตำรา ทำออกบ้าง เสียบ้าง

สำหรับต้นทุนเรื่องการจัดการเราพอเขาใจค่ะ

  ความคิดเห็นที่ 6 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  01 กค 52 - 13:52:42  

ลืมบอกไปว่า โรงงานที่ผมพูดถึง ที่ผลิตงาน ศิลาดล

ปัจจุบันเขาก้ยังผลิตอยู่แต่เพิ่มกำลังผลิตและส่งขายใน

ราคาถูกกว่าชาวบ้าน ในจำนวนที่มากขึ้น

แต่ก้สามารถอยู่ได้สบาย ไม่ต้องขายกิจการ

  ความคิดเห็นที่ 5 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  01 กค 52 - 13:47:49  

แก้ไข

1) Export 65%

    Retail         25 %

    Wholesale  45 %

  ความคิดเห็นที่ 4 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  01 กค 52 - 13:41:47  

3) Factory Outlet 10%

     กลุ่มนี้เอาไว้เรียกรับเงินสดเพื่อแก้ปัญหาสภาพคล่อง

     ผมจะใช้กลุ่มนี้กับสินค้าส่วนเกิน เช่น น้ำยาเคลือบเหลือ

     Biscuit ผลิตมาเกิน สีเพี้ยน ก็มาจัดการถ่ายเป้นสินค้าให้

     กลุ่มนี้

 

      

  ความคิดเห็นที่ 3 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  01 กค 52 - 12:53:29  

และที่สำคัญกว่านั้น ผมมองว่า

เราควรกำหนดTarget ตัวเราให้ชัดเจนขึ้นว่าต่อเดือน

1) เราต้องมีเงินทำกำไรเท่าใดถึงจะคุ้มกับ Fix Cost ที่เรา

ต้องจ่ายประจำ

2) เราจะต้องผลิตเท่าใด ให้ได้กำไรตามเป้า

ไม่น่ายากนะครับที่จะต้องรู้ตรงส่วนนี้และขอย้ำว่า

จำเป้นมาก ถึงแม้เราจะทำธุรกิจเล็กๆก็ตาม

มันเป็นเรื่องจำเป้นที่ต้องรู้ แล้วเราก็ถึงสามารถกำหนดได้ว่า

เราจะขายอะไร เท่าไร ด้วยราคาที่ตลาดยอมรับได้เพื่อหาสัดส่วน

การผลิตที่จะแชร์ ต้นทุนกันในส่วนของ Fix Costให้กับสินค้าทุกตัวที่

เราผลิต ผมก็คิดว่าเจ้าของคำถามก็คงจะคิดแบบนี้

การผลิตให้เต้มกำลังผลิตที่เรามีคือ target ที่เป็น Ideal แต่ความจริง

มีอีกวิธีคือ หาจุดที่เหมาะสมที่เราผลิตแล้ว ควบคุมต้นทุน ค่าใช้จ่ายได้

ตามที่เราคาดการไว้ นี่ก็เป็นทางที่ผมใช้อยู่ประจำ

และมาถึงจุดนี้ เราลองทบทวนว่า ถ้าเราจะหา Order เข้ามา เติม กำไรน้อยลง

กว่าที่เราเคยได้แต่เราขายปริมาณมาช่วย แต่ยอดผลิตได้เพิ่ม ก็เหมือนการลดต้นทุน

ทางอ้อมครับ เพราะFix มันถูกแชร์ไปด้วย และตัวที่เราผลิตก้ควรจะไม่ทำความยุ่งยาก

จนทำให้ตัวหลักของเรากระทบ และระบบต้นทุนก็สำคัญ เราต้องชัดเจนในเรื่องต้นทุน

ผมพูดถึงโรงงานทั่วไปที่ผลิตเป้นอุตสาหกรรมขนาดย่อมนะครับ แต่ถ้ารับงานในเชิงเป็น

งานศิลปะ เป็นชิ้นๆ ไม่ใช่ลักษณะเป็นMassเช่นผลิตเหมือนๆกันเป้น Lot ใหญ่ คงไม่

เข้าข่ายคำตอบ

ตัวอย่างที่ผมจัดแบ่งสำหรับวางแผนธุรกิจจะเป้นแนวนี้

1) Export              65 %

     Retail               30 % ( งานหลากหลาย ราคาดี คุณภาพสูง มีตรวจสินค้า เกราด A++)

     Wholesale       40 % ( งานง่าย ไม่หลากหลาย ต้นทุนต่ำ ไม่ตรวจสินค้า เกรดปรกติ )

    

2) Domestic           25 %

     Hotel & Rest      5 % เกรด A

     Premium           10% เกรด A+B

     Wholesale        10% เกราด A+B

  นี่คือตัวอย่างที่ผมจัดแบ่งให้กับสินค้ากลุ่มต่างๆ เพื่อกำหนดVolumeขาย

  แล้วเราเดินตลาดตามแผน

  มาถึงตรงนี้ เราอาจจะลดต้นทุนเฉลี่ยออกไปได้บางส่วนจากสินค้าที่เราผลิต

บาง Chanel ลูกค้าไม่ Spect คุณภาพเราก็ให้อยู่ในระดับปรกติ บางราย

ลูกค้าให้ปนของต่ำกว่า Specลงไปได้เช่น Premium แจกแถมส่วนใหญ่ 

สัดส่นประมาณ 80:20 เราก็สามารถนำของที่เราคาดว่าจะ Reject ที่ไม่บิ่น

 ไม่แตก ไม่ร้าว เข้าไปได้ ราคาก็ว่ากันไปตามตกลง

 ผมพยายามจะบอกว่า ต้นทุนที่สูง มันก้เกิดจากส่วนนี้ด้วย หลักการคือ ทำอย่างไร

ให้แชร์ Fix Cost ออกไปให้ได้มากที่สุด

ส่วน Variable Cost สินค้าบางตัว ต้องดูว่าถ้าผลิตไปมีแต่เสียกับเสีย เสียแล้วต้นทุน

จะเสียไปมาก ยกตัวอย่างนะครับ บางโรงงานในเมืองจีน ไม่รับผลิต เคลือบสีแดง สีส้ม

สี ชมพู เจอมากับตัวครับ เขาบอกว่า เสียแล้วไม่คุ้ม นี่ก็อีกเหตุผลของเขา

เราอาจจะต้องหันกลับมามองว่า เราพร้อมกับสินค้าบางตัวหรือยัง ถ้ายัง หยุดก่อนดีกว่าไหม

ไว้ทำการพัฒนาให้ได้ถึงจุดที่คุ้มทุนแล้วค่อยมาว่ากัน แต่ก็ควรจะเป้นทางเลือกท้ายๆครับ

 

 

  ความคิดเห็นที่ 2 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  01 กค 52 - 12:37:55  

จัดลำดับความสำคัญก่อนหลังดีกว่าครับ

ข้อมูลที่มีจะบอกเราได้ว่าเรามีปํญหาต้นทุนผลิต

สุงเพราะอะไร อะไรสูงมากที่สุด

วิธีทำงานซับซ้อนไปใช้เวลานานกว่าจะผลิตได้สักชุด

ของเสียมากไป

ของซ่อมเยอะไป

วัตถุดิบราคาแพงไป

เครื่องมือเก่าไป

คร่าวๆนะครับ สิ่งเหล่านี้เก็บข้อมุลมาแล้วมาหาคำตอบในนี้

ผมว่าชวยได้แน่นอน อย่างน้อย ผมคนหนึ่งจะช่วยหาคำตอบพร้อม

เป็นกำลังใจให้คนทำงานเซรามิกทุกคน

เคยเห็นโรงงานทำที่เชียงใหม่ จะขายโรงงานให้ผม ทำศิลาดลเขา

ทำงานผลิต ใช้เครื่องปั้นแบบ Trowing เดือนหนึ่งผลิตได้3-4 พันชิ้น

ก็ถือว่ามากแล้ว ขายราคาไม่ถึง 3 ล้านพร้อมบ้านและที่ดิน

ไปดูเลร้จก้คุยกับเจ้าของ (เป็นเพื่อนของเพื่อน) บอกเขาไปว่า โดยปรกติ

โรงงานใหญ่เขาทำไงกันบ้าง แนะนำไปว่าควรทดลองปรับทั้ง ดิน ทั้งสุตร

ใหม่  เขาปรับเองนะผมไม่ได้ช่วย เพียงแต่เขาได้ความคิดไป ใช้เครื่องช่วยขึ้นรูป  

ช่วย เพราะเขาไม่ค่อยรู้ว่า ถ้วย จาน ชาม มีอะไรที่มากกว่าที่เขาเคยรู้บ้าง

แม้การหล่อ ตุ๊กตาก็ดี สามารถปรับใช้เครื่องมือได้ ไม่ต้องซื้อหาต่างประเทศ เมืองไทย

ทำได้ ราคาไม่แพง หรือจะทำเองก็ได้ เช่นโต๊ะหล่อแบบจานบิน เด๊ยวนี้ทำได้หลายราย

มี Heat Gen สำหรับ อบ หลัง Drain หมุนแบบโต๊ะกลม เป่างานให้ De-Mould ง่าย

อะไรแบบนี้ นี่คือตัวอย่างความคิดครับ

แต่ที่สำคัญต้องเห็นโรงงานหรือไม่ก็เห็นข้อมุล สำหรับผมไม่จำเป็นต้องรู้สูตรอะไร ก็พอจะ

หาทางกดต้นทุนให้ลงได้

แต่ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่า ต้นทุนที่พูดถึงคือต้นทุนเฉลี่ยต่อชิ้นผลิตภันท์ครับ ที่เราต้องคิดถึง

 

 

  ความคิดเห็นที่ 1 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  01 กค 52 - 08:07:55  

ช่วยตอบกว้างๆแทนอาจารย์นะครับ

เดี๋ยวอาจารบ์คงจะเข้ามาตอบ

1) วิเคราะห์ต้นทุนผลิตตัวเองก่อนเป็นอันดับแรก

มีส่วนประกอบอะไรบ้างที่ต้นทุนสุง

วัตถุดิบ

ค่าแรง

พลังงาน

แรงงานทางอ้อม

2) หลังจากนั้น ดูเรื่องของ Loss

ทางด้าน เวลารอคอย ,ของเสียระหว่างทำ,

3) ดู Efficiency ของการทำงาน

4) ส่วนทางด้านต้นทุนสีหรือวัตถุดิบที่ใช้ว่าจะหา

อะไรมาทดแทนให้ถูกลง อาจารย์น่าจะให้ความรู้

ได้ คงต้องถามอาจารย์

5) ถ้าบอกรายละเอียดได้มากกว่านี้เกี่ยวกับ Technology

    พื้นฐานที่โรงงานมีอยู่ก็พอจะช่วยแนะนำให้ได้

   เช่น

   เตาเผาเป็นลักษณะไหน เตาอุโมงค์ เตาshuttle

   RHK และถ้าเป็นเตา Shuttle ก้ต้องดูว่าลักษณะ

    หัวเผาที่ใช้เป็นแบบไหน แบบ Nozzle ธรรมดา

   หรือเป็นแบบ High Speed (ปัจจุบันนิยมใช้แบบนี้)

6) เครื่องจักร เครื่องมือที่ใช้ป็นอย่างไร ถ้าบอกรายละเอียด

    ก็สามารถแนะนำได้;ว่า Efficiency & Quality ควรจะ

    ต้องเป็นเท่าไร เพราะส่วนใหญเราไม่รู้ว่า ค่าBench Mark

    มันอยู่ที่เท่าไร

  ขอให้ประสบผลสำเร้จในธุรกิจนะครับ เอาใจช่วย