ก่อนหน้านั้น ผมไปจีนเมื่อปี 2536 ไปสำรวจเหมือง Boxite
Magnisite เพราะใช้กับโรงงาน ภัทรา รีแฟรคทอรี่ ทำ Raming
Gunning และพวก Castable เมืองที่ไปต้องนั่งเครื่องจากปักกิ่ง
ไปอีก 3 ชม ขึ้นไปทาง มณทลเหลียวหนิงแล้วนั่งรถไฟต่อไปอีก
ประมาณ 3 ชม ที่เมือง Yangquan (อ่านว่าหยางเฉวิน)
ผู้คนหน้าตาจะกลายๆไปทางธิเบตแล้ว หนาวทั้งวันสำหรับเดือนเมษายน
ในเหมืองจะมีคนงานทำงานใช้แรงงงานทั้งสิ้น ค่าแรงถูกมาก
วันละ25 บาท เห็นภูเขาหัวโล้นมีแต่แร่ไม่มีต้นไม้ แต่ที่แปลกใจคือเจ้าของ
เหมืองเป็นคนญี่ปุ่นที่ไปบุกเบิกทำเหมืองที่นั่น น่าทึ่งที่ชาวญี่ปุ่นเขาเป็นนัก
สำรวจ นักบุกเบิกตัวจริง ขอให้ได้กลิ่น เขาถึงก่อนใคร
หลังจากสำรวจเหมืองแถบนั้น ก็ย้อนกลับมาที่เมืองเทียนจินเพื่อเจรจาซื้อขาย
ซึ่งแร่เหล่านี้จะถูกส่งมาทางรถไฟ ค่าขนส่งไม่ใช่น้อยเพราะระยะทางจากเหมือน
มาที่ท่าเรือจะใช้ระยะทางเป้นพันไมล์ นั่นคือต้นทุนการผลิตของจีนกลับไปสูงที่
ค่าขนส่งแม้จะมีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์
หลังจากนั้นผมก็เดินทางไปยังเมือง Tangsan เมืองที่มีการผลิต ถ้วย จาน ชาม
มาแต่โบราณ ในระหว่างนั้นเราก็ได้เห็นเมืองที่เต็มไปด้วยกลุ่มควันเถ้าถ่าน เพราะเขาใช้
ถ่ายหินเผา โรงงานระดับกำลังผิต 3-4 ล้านชิ้นต่อเดือน ซึ่งถ้าเทียบก็จะ
ประมาณ ภัทรา หรือไม่ก็ คราวน์ซึ่งก็ทราบว่ากำลังผลิตถ้วยมักก็ประมาณนั้น
ของภัทรา ผลิตที่ 2.7 ล้านต่อเดือน ผลิตเพื่อใช้ในประเทศ นับได้เกือบร้อยโรง
ตามข้อมูลหลังจากเข้าพบกับเจ้ากหน้าที่ระดับสุงของพรรคคอมมิวนิสย์ที่ส่งมาประจำ
ตามเมืองใหญ่ ทำงานคู่กับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น
การส่งออกช่วงนั้นยังถือว่าไม่มาก เมืองนั้นเริ่มจะมีอเมริกันเข้าไปร่วมถือหุ้นกับบริษัท
เดิมซึ่งจะเป็นกึ่งรัฐบาลกึ่งเอกชน เฉพาะเมืองนี้ มีสถาบันพัฒนาเซรามิกถึง 5 สถาบันใหญ่
ระดับตำบล อำเภอ จังหวัด มณทล คุณภาพที่พบจะมีตำหนิค่อนข้างมากทั้งที่เขาผลิตด้วย
เตาอุโมงค์ ไม่ใช่เตามังกรโบราณ ใส่จ๊อเผา การตกแต่งเขาใช้เครื่องพิมพ์รูปลอกของญี่ปุ่น
ใช้แรงงานเป็นหลัก มีโรงงานผลิต โบนไชน่า ทราบว่าเป็นHankook Ceramic
จากเกาหลีไปลงทุนร่วมที่นั่น เมืองนี้มีโรงงานผลิต Stain โดยนักลงทุนชาว เยอรมัน
และ อิตาลี่ แต่ไม่ใช่ Cerdec จำชื่อไม่ได้ กำลังตั้ง plant พอดี
|