กระเบื้องแสงรุ้งกลาสโมเสค
Pakarung - Think Ceramic Think Pakarung
ซิเบลโก้ มิเนอร์รัลส์ จัดหาแร่คุณภาพสำหรับอุุตสาหกรรมเซรามิคส์
Ferro
Keramat
MS Industrial Supplies
Ceramics R Us
กลับไป Webboard
  TOPIC: กระบวนการตรวจโรงงาน
นลิน  |  25 มิย 52 - 21:41:44  

เรียนดร.คชินท์

ในกรณีที่เราส่งสินค้าไปยังต่างประเทศแล้วมีหน่วยงานของลูกค้าเข้ามาตรวจโรงงานนั้น เขามีการตรวจอะไรกันบ้างและจะยากแค่ไหนเพราะบางรายบอกจะเข้ามาตรวจโดยไม่บอกด้วย

ตอบกระทู้
  ความคิดเห็นที่ 20 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  27 มิย 52 - 22:13:30  

สำหรับผู้มาตรวจ อาจเป็น คนไทย หรือต่างชาติล้วนก็มี

ส่วนมากของผมที่เจอก็จะมาจาก ฮ่องกง สิงคโปร บางที

ก็ฝรั่ง อย่าง DENBY POTTERY รายนี้ส่งระดับ DR มา

AUDIT PLANT กับมา Inspection ที่ต้องบอกไว้ก้คือ

เตรียมพร้อมบุคคลากรทางด้านภาษาไว้ด้วยก็ดีครับ

  ความคิดเห็นที่ 19 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  27 มิย 52 - 22:05:57  

ขอเสริมจากอาจารย์

สำหรับลูกค้าบางราย เขาอาจจะถามว่าเราเคยผลิตให้ใครมาแล้วบ้าง

ถ้าเราเคยผลิตให้สินค้าแบรนด์ที่อยู่ในแถบของเขา หรือแบรนด์ที่มีชื่อ

เสียง ก้จะเป็นประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย บางที่ก็ยกเลิกมาตรวจ เพราะ

มองว่าเราน่าจะเชื่อถือได้ เหตุเพราะว่าการส่งคนมาตรวจมันจะมีค่าใช้

จ่ายมากพอควร เขาต้องจ่ายเอง ถ้าไม่จำเป้นหรือไม่ถูกบังคับมาจาก

ปลายทางของสินค้า สินค้ามูลค่าไม่มาก บางทีก็ไม่เข้าครับ เพียงแต่

จะให้เรากรอกเอกสารไปให้เพียงเท่านั้น และถ้าเรามีมาตรฐาน เช่น ใบ Cert

ISO บางที่ก้อาจจะปล่อยไม่ตรวจ ถือว่ามาตรฐานอยู่ในเกณทืที่เขายอมรับได้

 

 

  ความคิดเห็นที่ 18 คชินท์  |  27 มิย 52 - 17:06:34  

กระบวนการทำ Factory audit นั้นหัวข้อการตรวจจะขึ้นอยู่กับลูกค้าแต่ละรายซึ่งไม่เหมือนกันทีเดียวเช่นถ้าเป็น OBI ก็มีมาตรฐานที่เป็น BSCI ถ้าเป็น Walmart ก็มีมาตรฐาน EHS ซึง่ในรายละเอียดจะแตกต่างกันพอสมควร ทีนี้เวลาลูกค้าจะทำการ Due กับเราเขาก็ต้องมาตรวจโรงงานเราก่อน ก่อนที่จะมา Inspection ของด้วยซ้ำ เพื่อดูว่าโรงงานเรานั้นพร้อมที่จะผลิตของให้เขาตาม Order หรือไม่ ดังนั้นขั้นตอน Factory audit จะเป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก เคยมีโรงงานในไทยหลายโรงงานต้องสูญเสียออเดอร์ไปเพราะตรวจโรงงานไม่ผ่าน แต่ปกติแล้วก่อนที่เขาจะมาตรวจ (ถึงแม้ว่าจะเป็น Unanouce)ก็ตาม เขาก็จะต้องบอกข้อสอบให้เราทราบ จะมีมาตรฐานที่เป็นข้อกำหนดของเขามาให้เราศึกษาซึ่งตัวแทนที่จะมาตรวจในไทยจะเป็นผู้บอก หรือเราติดต่อกับลูกค้าและเข้าไป Down load เอกสารมาศึกษา ถ้าเรามี ISO 9000/ ISO 14000/ ISO 18000 เขาก็จะตรวจตามนั้นประกอบเลย แต่ก็ยังไม่ละเว้นข้อกำหนดของเขาด้วย บางเจ้านำเอาระบบ SA-8000 (อ่านรายละเอียดได้ในเวปนี้ครับ) ซึ่งจะดูเรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นหลัก ดูเรื่อง OT ดูการใช้แรงงานเด็ก ดูเรื่องตัวแทนลูกจ้าง สุขลักษณะและความปลอดภัย การบังคับขู่เข็ญ การกีดกันและแบ่งแยก ซึ่งข้อนี้ต้องระวังให้ดีเพราะมีกรณีแปลกๆเยอะมากที่เราจะโดนได้

ถ้าเราส่งสินค้าไป USA ลูกค้าบางรายที่กังวลเกี่ยวกับการก่อการร้ายก็จะให้เราทำ CTPAT ซึ่งเกี่ยวข้องกับการตรวจตู้ก่อนส่ง

ปัจจุบันการทำ Factory audit นับว่าสร้างความลำบากให้โรงงานขนาดกลางและเล็กมากเพราะต้องเพิ่มต้นทุนในการทำให้ได้ตามข้อกำหนด และลูกค้าเองก็ลำบากเพราะต้องมาตรวจกันบ่อย ก็เลยเกิดการรวมตัวกันของ Wholesale ยักษ์ใหญ่ในโลกเช่น Walmart Auchan Carrefour Dole Hallmark Casino C&A Tesco Ikea Migro ICA และอื่นๆ จัดทำข้อกำหนดร่วมกันเรียกว่า GSCP (Global Social Compliance Program) ขึ้นเพื่อลดเวลาในการที่แต่ละรายต้องเข้าไปตรวจโรงงานที่เดียวกัน เพราะใช้ข้อกำหนดร่วมกัน เราเองก็จะสบายขึ้นเพราะไม่ต้องคอยประสาทมาให้ลูกค้าตรวจอยู่เรื่อยๆ ต้นทุนในการตรวจก็ต่ำลง ซึ่งถ้าเรามีลูกค้าที่อยู่ใน GSCP นี้ต่อไปเราก็จะลดจำนวนครั้งในการตรวจได้

ถามว่าการตรวจโรงงานยากแค่ไหน ก็พอๆกับการถูก CB ตรวจ ISO ครับ แต่จะจุกจิกกว่าในเรื่อง Social ดังนั้นศึกษาเรื่อง SA-8000 ให้ดีก็สามารถช่วยได้ครับ

  ความคิดเห็นที่ 17 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  27 มิย 52 - 10:35:15  

รายละเอียด Prop 65

ทางการชื่อ "การบังคับใช้พระราชบัญญัติ 1986 เกี่ยวกับความปลอดภัยจากน้ำดื่มและจากสารพิษ"

 เป็น พรบ ออกโดยรัฐแคลิฟอร์เนีย มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1986

 เพื่อส่งเสริมน้ำดื่มที่สะอาดและปราศจากสารพิษ ที่ทำให้เกิดมะเร็งและข้อบกพร่องทางร่างกาย

 จากผู้บริโภคผลิตภัณฑ์.

ถูกควบคุมโดยหน่วยงานสำนักงานอนามัยสิ่งแวดล้อมและประเมินความเสี่ยง (OEHHA).

ดังนั้น สินค้า เซรามิกที่ต้องเป็นภาชนะใส่น่ำดื่ม หรืออาหารก็อยู่ในข่ายต้องถูกควบคุม ตาม

พรบนี้ซึ่ง ถ้าลูกค้ามีสาขาที่ต้องเอาของไปขายที่นั่นก้จะต้องถูกตรวจสอบและควบคุม

ดังนั้น ลูกค้ารายใหญ่ ของ USA ที่มีการกระจายสินค้าทั่วไป เขาจำเป็นต้องป้งอกันตัวเอง

จากการถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย จึงต้องบังคับโรงงานให้ผลิตสินค้าให้ได้ตามมารฐาน

ที่เขาควบคุม

  ความคิดเห็นที่ 16 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  27 มิย 52 - 10:17:34  

สำหรับลูกค้าบางรายหนักกว่านั้นคือสั่งรายการละ 50-100  ชิ้น

แต่เกือบ 50 Item 20สี ขอคัดแบบ 100% ก็มี ให้ราคาดี แต่ผลิต

จบยาก ไม่คุ้ม

Le&Fung ก็ถือว่ามาตรฐานมาสูง เป็นคนหาของป้อน Walt Disney

กับ Pfaltzgraff โดยเฉพาะ สินค้าของ Pfaltzgraff ต้องผ่าน Prop 65

อีกรายคือ Mikasa รายนี้ต้องผ่าน Prop 65 ด้วย

สำหรับภัทราเคลือบปรกติไม่มีปัญหา แต่ถ้าติดรูปลอกด้วย จะเลี่ยงไปเผา

Decorate ที่ Inglaze temp 1,180 -1,200 c

ให้รูปลอกจมผิวเคลือบลงไป แต่การเผาสุงขนาดนี้ และถ้าลูกค้าต้องการสีสดเช่น ส้มสด

แดงสดกับการเผา Inglaze ทางโรงพิมพ์ก็จะต้องพัฒนาสูตรหใSupport กับงานเผา

ประเภทนี้

 

 

  ความคิดเห็นที่ 15 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  27 มิย 52 - 09:58:07  

ขอเสริมจากการที่คุณ นลินบอกว่ามีการ Inspection มี STD

ในการตรวจอยู่แล้ว

จากการที่ผมเคยเจอลูกค้ามาหลายประเภท หลายรูปแบบ พบว่า

มาตรฐานที่เราใช้กันอยู่ ถึงจะเป็นสากลก็จริง แต่ลูกค้าบางราย

เขาก็อาจจะไม่ยึดตามที่เป็นมาตรฐานสากลหรือมาตรฐานของเรา

แบบนี้ถ้าตกลงกันก่อนผลิตได้ ปัญหาก็จะไม่ตกกับเรา แต่ถ้าไม่มีการ

ดูใน Detail ของสินค้าก่อนหรือมีข้อตกลงเรื่องคุณภาพกันให้ชัดเจน

เมื่อเราทำการผลิตเสร็จสิ้นเรียบร้อย มีบุคคลที่สามมาตรวจรับรองสินค้า

ปัญหาต่างๆจะตกอยู่กับเราทั้งสิ้น แต่ถ้ารับมัดจำกันไปบ้างก็เจ็บตัว

น้อยหน่อย

ลูกค้าเขาอาจจะกำหนดกติกาของเขาขึ้นมาเอง จะพบว่าบางครั้ง เราขาย

สินค้าให้กับลูกค้าทั่วไปได้ แต่ก็อาจจะมีบางรายที่เขาต้องการคุณภาพที่

แตกต่างจากที่เราinspect ตามปรกติ เช่น อาการเคลือบเป็นริ้ว

 (Running Gaze) ถ้าชุบเคลือบ บางครั้งก็จะมีให้เห็นบ้าง แต่บาง

รายกลับบอกว่า อันนี้ไม่รับถือเป็น Miner หรืออาการเบี้ยว ซึ่งปรกติต้อง

มีบ้าง บางรายใช้สายตาในการตรวจ บางรายเอาเครื่องมือมาตรวจ

หรือเคลือบสี ก้ต้องมีผิดเพี้ยนบ้างจะต้องจัดกลุ่มเพื่อการยอมรับแต่ลูกค้า

บางรายกลับไม่ยอมให้มีสีแตกต่างกัน เรียกว่าต้องเหมือนตัวอย่างอย่างเดียว

แบบนี้คือปัญหาจากการไม่ได้ตกลงในรายละเอียด กันในชั้นของการ

ทำ Sample Approveและ กำหนด ขอบเขตของการตรวจรับสินค้า

อีกทั้ง

ระวังลูกค้าบางรายให้ราคาดีมาก แต่ขอมานั่งตรวจในรายผลิตแบบชิ้นต่อชิ้น

โดนเฉพาะราย Kolob ลูกค้ารายนี้ ส่วนมากขอมาตรวจสินค้าในรายผลิต

ให้ราคาต่างจากปรกติแต่ตรวจแบบคัด 100% ดูเฉพาะของที่ไม่มีตำหนิ

มานั่งคัดเองในลายผลิต แบบนี้ต้องดูว่าคุ้มหรือไม่คุ้ม ต้องทำให้ตรวจใหม่

ซ้ำชาก ของภัทราจะปฎิเสธลูกค้าแบบนี้ เพราะสั่งน้อยแต่ยุ่งยากในรายผลิต

  ความคิดเห็นที่ 14 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  26 มิย 52 - 23:48:03  

ประเทศ สโลเวเนีย ผลิตสินค้าเซรามิก ได้คุณภาพสูง

ราคาถูก มีหลายโรงานที่เยอรมันย้ายฐานไปลงทุนร่วม

  ความคิดเห็นที่ 13 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  26 มิย 52 - 23:44:53  

มี 27 ประเทศ ได้แก่

เบลเยียม ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ (เข้าร่วม เมื่อพ.ศ. 2500)

 
เดนมาร์ก ไอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร (เข้าร่วมเมื่อปีพ.ศ. 2516)


กรีซ (เข้าร่วมเมื่อพ.ศ. 2524)

 
โปรตุเกส สเปน (เข้าร่วมเมื่อปีพ.ศ. 2529)


ออสเตรีย ฟินแลนด์ สวีเดน (เข้าร่วมเมื่อปีพ.ศ. 2538)


ไซปรัส เอสโตเนีย ฮังการี ลัตเวีย ลิทัวเนีย โปแลนด์ สโลวาเกีย มอลตา สโลวีเนีย สาธารณรัฐเช็ก

   (เข้าร่วมเมื่อพ.ศ. 2547)


โรมาเนีย และ บัลกาเรีย (เข้าร่วมเมื่อพ.ศ. 2550)

  ความคิดเห็นที่ 12 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  26 มิย 52 - 23:35:23  

แล้วมีผลต่อผู้ส่งออกอย่างไร

มีผลแน่นอนครับ เช่นสนธิสัญญาดังกล่าวเน้นเรื่องสิ่งแวดล้อม

ดังนั้น มีแนวโน้มที่จะมี การออกกฎระเบียบต่างๆ เช่น มาตรฐาน

สินค้าที่เน้นการรักษาสิ่งแวดล้อมและการประหยัดพลังงาน และล่า

สุดยังมีการเสนอให้ยุโรปดำเนินมาตรการทางภาษีกับสินค้าจาก

ต่างประเทศที่ผลิตโดยไม่คำนึงถึงการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม

โดยเฉพาะการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

 

  ความคิดเห็นที่ 11 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  26 มิย 52 - 23:31:54  

ความร่วมมือที่ร่วมกันในกลุ่มสมาชิก สหภาพยุโรปใหม่

1) การยกเลิกภาษีศุลกากรและโควตาระหว่างประเทศสมาชิก

2) การร่วมกันกำหนด อัตราภาษีศุลกากรที่ใช้กับประเทศนอกกลุ่ม

3) การเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตระหว่างประเทศสมาชิกได้อย่างเสรี และ

4) การประสานความร่วมมือในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจเดียวกัน

 หมายถึงเตรียมกีดกันการค้ากับผู้ที่ไม่ใช่สมาชิกสหภาพ

  ความคิดเห็นที่ 10 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  26 มิย 52 - 23:29:00  

EU เป็นตลาดส่งออกที่มีความสำคัญเป็นอันดับที่ 2

รองจากอาเซียน โดยมีมูลค่าการส่งออกเฉลี่ยปีละ

600,000 ล้านบาท โดยในปี 2551 (ม.ค.-พ.ค.)

 มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 285,843.17 ล้านบาท

 ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 2.18

  ความคิดเห็นที่ 9 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  26 มิย 52 - 23:27:52  

ใน Lisbon Treaty ให้ความสำคัญลำดับแรกกับความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศและพลังงาน ซึ่งเป็นไปตามแนวโน้มที่ประเทศพัฒนาแล้วทั่วโลกให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่งกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ดังนั้น Lisbon Treaty บ่งชี้ว่า EU จะผลักดันอย่างเต็มที่ต่อไปในการนำมาตรการที่ช่วยแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมถูกทำลาย เช่น การใช้ระบบ EU Emission Trading Scheme (ETS) กับสาขาการบินในสาย การบินระหว่างประเทศที่ให้บริการในยุโรป และมีแนวโน้มจะใช้กับสาขาการเดินเรือต่อไป

นอกจากนี้ European Commission กำลังเตรียมจัดทำข้อเสนอเกี่ยวกับมาตรฐานสินค้าที่เน้นการรักษาสิ่งแวดล้อมและการประหยัดพลังงาน และล่าสุดยังมีการเสนอให้ยุโรปดำเนินมาตรการทางภาษีกับสินค้าจากต่างประเทศที่ผลิตโดยไม่คำนึงถึงการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ดังนั้น ผู้ส่งออกไทยต้องเตรียมปรับตัวกับกฎระเบียบด้านมาตรฐานสินค้า ที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เพื่อรักษาตลาดส่งออกของไทย เป็นการยกระดับมาตรฐานสินค้าไทยในตลาดโลก

ทั้งนี้ ใน Lisbon Treaty ยังได้เน้นย้ำประเด็นอื่นอีก เช่น การคุ้มครองสิทธิแรงงาน ซึ่งเป็นประเด็นที่ไทยมักถูกกล่าวหาว่ามีการใช้แรงงานเด็ก แรงงานต่างชาติผิดกฎหมาย รวมทั้งแรงงานไม่ได้รับสิทธิคุ้มครองต่าง ๆ มาโดยตลอด ซึ่งไทยจะต้องตระหนักในปัญหาดังกล่าว

  ความคิดเห็นที่ 8 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  26 มิย 52 - 23:17:22  

ระวังจะถูกกีดกันสินค้ามากขึ้น ถ้าส่งไปยุโรป ด้วยเหตุที่

 ปีนี้ สหภาพยุโรป เขาเพิ่มจำนวนสมาชิกตามสนธิสัญญา ลิสบอน

หรือที่เรียกว่า Lisbon Treaty จาก 15 เป็น 27 ประเทศ

โดยมียุโรปกลาง และยุโรปตะวันออกเข้าร่วม

 หนึ่งในนั้นคือ โปแลนด์ โรมเนีย เชครีพับลิก พวกนี้ทำเซรามิก

ขายยุโรปมานาน แรงงานถูก เทคโนโลยี่ดีกว่าเรา ควรจับตาและ

 เตรียมตัวไว้

สาระที่ร่วมกันคือ

 1. ยกระดับความโปร่งใสและประชาธิปไตยในยุโรป

 2. เพิ่มศักยภาพภายในของยุโรป

 3. สร้างคุณค่า ความเป็นปึกแผ่น และความมั่นคงของสหภาพยุโรป

  4. เน้นการเป็นผู้นำในเวทีโลก  

  ความคิดเห็นที่ 7 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  26 มิย 52 - 23:10:34  

สำหรับคำถามว่า ยากแค่ไหน

ก็ขึ้นอยู่กับโรงงานของเราปฎิบัติ

ตามกฎหมายมากน้อยแค่ไหน เขาคง

ไม่จับผิดเราเป๊ะๆครับ อยู่ที่เหตุผลอธิบาย

กับเขา ส่วนมากโรงงานเซรามิกจะมีคำ

ถามที่ถูกถามบ่อย คือ ใช้แรงงานเด็กหรือไม่

กับ มีการใช้สารพิษหรือวัตถุอันตรายหรือไม่

 ถ้าใช้ อะไรบ้าง แล้ว เก็บอย่างไร ควบคุม

  อย่างไร กำขจัดอย่างไร น้ำทิ้งไปลงที่ไหน

   ระบบบำบัดน้ำเสียทำอย่างไร ก็ต้องเตรียม

   คำตอบไว้

  ความคิดเห็นที่ 6 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  26 มิย 52 - 23:07:17  

ถ้านอกเหนือจากนี้ รอผู้ที่มีประสบการแตกต่างจากผมมาช่วยเพิ่มได้ครับ

แต่ที่ผมถามยังไม่ได้คำตอบเลยครับว่าคุณผลิตสินค้าเซรามิกประเภทไหน  

  ความคิดเห็นที่ 5 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  26 มิย 52 - 23:02:24  

นอกจากปลอดภัยต่อแรงงานแล้ว ที่สำคัญสินค้าเราปลอดภัยกับลูกค้าหรือไม่

 ก็จะมีใบ Cert การตรวจหาค่า Pb&Cd ถ่ายเอกสารให้เขาไป

  แต่ที่จริงแล้ว บางที่เขาให้เรากรอกข้อมูลส่งไปก่อนแล้วเขาก็จะมาตรวจ

 ตามที่เรากรอกรายละเอียดไปนะ บางครั้งก็ไม่มาตรวจ ดังนั้นจากคำถามที่กรอก

 เราก็อาจจะต้องเตรียมหลักฐานตามที่เราต้องการดูไว้ล่วงหน้าได้

 

  ความคิดเห็นที่ 4 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  26 มิย 52 - 22:29:12  

การตรวจโรงงานของลูกค้าแบ่งได้เป็นสองเรื่องตามที่เคยเจอ

1) ตรวจคุณภาพสินค้าเป็นเรื่องคุณภาพล้วนๆตามที่ได้อธิบายไป

2) ตรวจสภาพการทำงานของแหล่งกำเนิดสินค้า โดย Third Party

    คือการตรวจสภาพการทำงาน สภาวะแวดล้อม สภาพการจ้างของผู้

     เป็นแหล่งกำเนิดสินค้า จะยกตัวอย่างจากที่ทาง IKEA เคยส่งเจ้า

     หน้าที่มาตรวจละกัน

      2.1  สิ่งแรกเขาตรวจสภาพโรงงาน เครื่องจักร เครื่องมือ อยู่ในสภาพที่

             ปลอดภัยต่อแรงงานหรือไม่  มีระบบ ที่Safety ต่อลูกจ้าง

              มากน้อยแค่ไหน

       2.2  เขาตรวจสิ่งที่โรงงานจะทำอะไรที่กระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่

              เช่น บ่อบำบัดน้ำเสีย ขยะ สารพิษ ทำอย่างไร เก็บอย่างไร กำจัด

              อย่างไร  ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมหรือ จากคนทำงานหรือไม่

               รวมทั้ง ในการทำการผลิต เรามีอะไรที่ไปทำลายสิ่งแวดล้อมหรือ

               หรือไม่ เป็นเรื่องของผลกระทบโรงงานต่อสิ่งแวดล้อม ต่อคนทำงาน

        2.3  ตรวจสภาพการจ้าง ว่าเราใช้แรงงานเด็กหรือไม่ เรามีสวัสดิการให้พนักงาน

               เป็นไปตามกฎหมายแรงงานหรือไม่ มีการจ่าย OT ให้พนักงานตามกฎหมาย

               หรือไม่ ใช้แรงงานเกิน ชม ที่กำหนดไว้ตามกฎหมายแรงงานหรือไม่

        2.4   เขาจะสอบถามจากผู้บริหารก่อนว่าเราจัดการแรงงาน สิ่งแวดล้อมอย่างไร

                 แล้วเดินในโรงงาน เข้าแผนกบุคคลที่เก็บ ประวัติพนักงาน แล้วสุ่มรายชื่อ

                เรียกมาสัมภาษสด พร้อมทั้งขอดู บันทึก ชม การทำงาน ดูรายการจ่ายค่าจ้าง

                 สวัสดิการที่พนักงานคนนั้นได้รับ หลักฐานจาก สลิปเงินเดือน ประมาณนี้

                นอกเหนือจากนี้ ก็คงมีบ้าง จำไม่หมด แต่หัวข้อก็ครอบคุมสองเรื่องหลักๆ

      ผมเข้าใจตามที่ผมเคยถูกตรวจสอบนะ ส่วนนอกเหนือจากนี้ ผมยังไม่เคยโดนตรวจ

     เท่าที่เคยถูกตรวจจำได้ว่ามี 2-3 รายที่เข้ามาตรวจแบบนี้ หนึ่งในนั้นคือ IKEA

      ซึ่งเขามีระบบที่เรียกว่า IWAY เขากำหนดขึ้นมาเองแต่ก็ไม่ใช่อะไรทียุ่งยากนัก

       อีกสองรายเป็นลูกค้าจาก เยอรมัน R&B อีกที่ จำไม่ได้ ไม่รู้ตอบตรงคำถามไหม

       คือถ้าจะถามว่าต้องเจออะไรบ้าง ก็ต้องไล่เรียงจากที่ผมบอกไปว่าเขาจะมาตรวจ

       อะไรวิธีเป็นอย่างไร

   

  ความคิดเห็นที่ 3 นลิน  |  26 มิย 52 - 20:56:09  
ขอบคุณมากคะ แต่คำถามคือต้องการรู้ว่าการตรวจโรงงานโดย Third party นั้นเราต้องเจออะไรบ้าง การ Inspection สินค้า เรามีมาตรฐานการตรวจอยู่แล้วคะ
  ความคิดเห็นที่ 2 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  26 มิย 52 - 11:51:05  

จะยกตัวอย่างการตรวจคุณภาพสินค้า ถ้วย จาน ชาม ก่อน

Ship นะครับ

คนตรวจสินค้า จะถูกแต่งตั้งมาจากผู้ซื้อที่ต่างประเทศ

แล้วแต่จะให้ใครมาตรวจ บริษัทพวกนี้จะรับจ้างตรวจ

รับรองคุณภาพสินค้าของลูกค้าที่เป็นผู้จ้าง หมายถึงเป็น

ตัวแทน ส่วนมากที่ผมเจอ จะเป็น SGS เข้ามาตรวจ

ขั้นตอนจะเริ่มจาก หลังจากเราตกลงคุณภาพกับลูกค้าแล้ว

เขาจะถือ Sample ไว้ แล้ว ส่งให้ SGS เอาไว้เป็น REF

ต่อมา SGS จะติดต่อเราว่าจะขอเข้าตรวจสินค้า หรือบางที่

ผู้ซื้อก็จะนัดให้ โดยประสานกับเรา

 เมื่อนัดกันแล้วว่าจะมาวันไหน หมายถึงเป้นวันที่เรามีสินค้า

ครบ 100% พร้อมส่งออก เขาก็จะเข้ามาที่โรงงานเรา แจ้งกติกา

ให้ทราบว่เขาจะสุ่มกี่กล่อง หลังจากนั้นให้เราพาเขาไปที่เก็บสินค้า

ทุกอย่างที่เขาเห็นจถูกรายงานไปยัง ผู้ซื้อครับ เขาดูทุกอย่าง สภาพ

การกองเก็บ อื่นๆ

ต่อมาก็เริ่มทำการสุ่มแล้วทำ มาร์คข้างกล่อง กันเราหยิบของดีมาสับเปลี่ยน

แล้วก็เริ่มทำการแกะกล่องตรวจ สิ่งที่เขาจะตรวจตามขั้นตอนดังนี้

1) ดูสภาพกล่อง ดูตัวหนังสือ ที่พิมพ์ บาร์โค้ด ถ้าผิด ก้ เมเจอร์ ครับ

2) แกะกล่องดูสินค้าภายในทีละชิ้น ดูการแพ็คว่าถูกต้องตามตัวอย่างหรือไม่

3) เริ่มดูสินค้าทีละใบสิ่งที่ดูจะเป็นดังนี้

   3.1 บิ่น แตก ร้าว

   3.2 เบี้ยวที่ปีกจาน ปากถ้วย ปากชาม ดูการกระดกของขาจาน ขาถ้วย

        โดยนาบกับกระจก คว่ำจาน เอาลิ่มสอด ดูว่าเกินมาตรฐานหรือไม่

    3.3 ดูรูปทรงว่าถูกต้องหรือไม่ ทดลองเท ริน เพื่อดูการใช้งาน

    3.4 ดูผิวเคลือบ เรียบ ไม่เรียบ

   3.5 ดูตำหนิ จุดดำ ฟองอากาศ รูพรุน จะมีกำหนดไว้ว่ามีได้กี่จุด ตำแหน่งไหน

        มองห่างจากสายตาที่ฟุต

    3.6 ดูสีเคลือบว่าถูกต้อง ตรงตามตัวอย่างหรือไม่

    3.7 อื่นๆ ตามรูปแบบสินค้าที่พิเศษไปจาเดิม

   หลังจากนั้นจะสรุปตัวเลขว่า major กี่ชิ้น Minor กี่ชิ้น แล้วสรุปตามกติกา

   ที่เราร่วมตกลงกับเขา

    ถ้าผ่าน ก็จะแจ้งไปทางลูกค้า ทางลูกค้าก้จะดำเนินการต่อตามข้อตกลงรา

   ถ้าไม่ผ่าน ก็จะบอกว่าเพราะอะไร ให้ Repack ให้ Re Select หรือ ให้ผลิต

   ใหม่

      ดังนั้น สำคัญคือ การตกลงร่วมกันตอนสรุป จะซื้อขายว่า STD ยอมรับกันได้

มากน้อยแค่ไหน คุณภาพ ยอมรับได้แค่ไหน

    ต้องรีบตกลงเรื่องคุณภาพสินค้าก่อน เพราะบางทีลูกค้ามองสินค้าไม่เหมือนกัน

 

 

  ความคิดเห็นที่ 1 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  25 มิย 52 - 22:22:05  

ขออนุญาติออกความเห็นก่อน อาจารย์นะครับพอดียังไม่ได้กลับบ้าน

ทำธุรกิจประเภทไหนครับ ผมขอพูดเฉพาะถ้วย จาน ชาม นะ

ที่ว่าจะมาตรวจสินค้า คงหมายถึง ตรวจคุณภาพสินค้าก่อนส่งใช่ไหมครับ

ถ้าตรวจคุณภาพสินค้าก่อนส่ง ก่อนอื่นต้องตกลงกันให้ดีระหว่างลูกค้ากับเรา

ว่าคุณภาพที่เขายอมรับได้น่ะ ขนาดไหน เขาควรจะส่งคนมา Set Std ให้เรา

ก่อนครับ เพื่อที่เรากับเขาจะได้ร่วมตกลงกันว่าความหมายของสินค้าเกรด A

ของเขาครอมคุมถึงแค่ไหน อะไรเรียกว่ายอมรับได้ อะไรเรียกว่ายอมรับไม่ได้

ผมตอบกว้างๆนะ เมื่อตกลงกันเรียบร้อย เราถึงค่อยผลิต อย่าบอกว่าเอาตาม

STD สากลนะ มันหลายหลากมาก เช่น จุดดำมีได้กี่จุด ด้านหน้า ด้านหลัง

เบี้ยว ได้กี่มิล มันหลายหลายเกินไปบางทีลูกค้าเขาตั้งมาตรฐานเขาขึ้นมาเอง

โดยไม่ยึดถือของใครก็มี เอาความรู้สึกมาเพ่งที่สีอีกก็มีถ้าเคลือบ

สี ดังนั้น ควรตกลงกับเขาเสียแต่ตอนผลิตออกมาเป็น production Test Run

แล้วคัดตามมาตรฐานที่เราเข้าใจให้เขาดูว่าเขายอมรับได้แค่ไหนแล้วต่อรองกับเขา

เสร็จแล้วค่อยเริ่มผลิต ไม่งั้นพอเราผลิตไปแล้วเขาเกิดบอกว่าเขารับคุณภาพตาม

เราไม่ได้ เราจะเสียหายครับ ผมยังไม่พูดเรื่อง Random ว่าจะอย่างไร เพราะแต่ละ

ที่จะมาไม่เหมือนกัน

และต้องตกลงในการมาตรวจว่า จะต้องตรวจที่ Finished Good เท่านั้น อย่า

ให้เขาตรวจไปถึง WIP จะกลายเป็นเราเสียเปรียบเขา

อีกอย่างที่จะมาตรวจอาจจะมาตรวจด้านการใช้แรงงาน ถ้าส่งยุโรปเขาจะมีหน่วยงาน

อย้างที่ผมเคยเจอ ของ IKEA ก็เคยมาแบบนี้ในช่วงที่เขามี หน่วยงานIWAY อะไร

ของเขานั่นแหละ

การเตรียมการตรวจคุณภาพสินค้า เครื่องมือวัดต้องพร้อม เช่นควรมีลิ่มวัดการเบี้ยว

จะได้ให้ชัดๆไปว่ากี่ มม อะไรทำนองนั้น และที่สำคัญ ถ้วย จาน ชาม ต้องถามเรื่อง

การตรวจหาค่า Lead & Cadmium ว่าเขาใช้มาตรฐานอะไร ถ้า FDA ก็น่าจะเบา

แต่ถ้า ใช้ Prob 65 อันนี้ก็หนักใจหน่อย ถ้าติดลายเผา On glaze คงไม่ผ่านง่ายๆ