กระเบื้องแสงรุ้งกลาสโมเสค
Pakarung - Think Ceramic Think Pakarung
ซิเบลโก้ มิเนอร์รัลส์ จัดหาแร่คุณภาพสำหรับอุุตสาหกรรมเซรามิคส์
Ferro
Keramat
MS Industrial Supplies
Ceramics R Us
กลับไป Webboard
  TOPIC: พบฟองอากาศหลังการเช็ดน้ำ
  |  20 มิย 52 - 14:59:58  
พบปัญหาฟองอากาศในงานขึ้นรูปด้วยการหล่อนำดินจำนวนวนมากสาเหตุเกิดจากอะไรบ้างคะ และวิธีการแก้ไขทำอย่างไรบ้าง
ตอบกระทู้
  ความคิดเห็นที่ 4 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  28 มิย 52 - 21:38:26  

รูปแบบของตะแกรงกรองอากาศและเศษวัสดุ

http://th.upload.sanook.com/embed/aeb7fa57d19886b6cfb269143bfb1be0.jpg

http://th.upload.sanook.com/embed/39831aff8882aa56c483062be6ea9ba7.jpg

http://th.upload.sanook.com/embed/f670e4b5f9fdf27a7461b61fb3842e83.jpg

  ความคิดเห็นที่ 3 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  20 มิย 52 - 21:01:14  

อีกเรื่องนะครับ

สัดส่วน ดินใหม่กับดินเก่า ไม่ควรเกิน 70:30ครับ

พบว่าถ้าใช้สะสมไปเรื่อยๆก็เกิดปัญหาฟองได้ครับ

และที่สำคัญ เกิดรูพรุนหลังเผาเคลือบได้ เนื่องจาก เศษโมลด์

ลงไปช่วยเป็นส่วนผสมครับ

  ความคิดเห็นที่ 2 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  20 มิย 52 - 20:54:31  

เสริมอีกนิดนะครับ สำหรับหล่อ Drain

ปรกติจะใช้ High pressure Vacuum Tank เพื่อดึงฟองอากาศออกก่อน

แต่ถ้าไม่มี อย่างที่อาจารย์แนะนำน่าจะแก้ปัญหาได้ครับ

สำหรับผม ในระหว่างหล่อผมจะมีกระชอน stainless ตาถี่ๆวางตั้งไว้ตรงปาก

โมลด์ครับ เพื่อจะได้เป็นตัวดักอากาศออก ลองทดลองดูนะครับ เปิดน้ำดินเบาๆ

ผ่านกระชอนลงไปยังแบบ

 

  ความคิดเห็นที่ 1 คชินท์  |  20 มิย 52 - 19:14:58  

เป็นไปได้จากสาเหตุดังนี้ครับ

1. น้ำดินที่ปั่นมาใช้ high speed blunger ทำให้มีฟองอากาศเกิดขึ้นมากเมื่อนำมาเก็บไว้ในบ่อกวนช้าอาจจะยังไล่ฟองออกได้ไม่หมดดี แล้วเรานำไปหล่อแบบก่อน ซึ่งยิ่งถ้าน้ำดินหนืดเกินไปก็จะยิ่งทำให้ฟองออกไปได้ยาก การแก้ไขนั้นควรต้องมีการ aging น้ำดินไว้ก่อนอย่างน้อย 24 ชั่วโมงในบ่อกวนช้าแล้วจึงนำไปใช้งาน

2. ปั้มที่ใช้ดูดน้ำดินจากบ่อกวนช้าส่งไปยัง Head tank หน้าแถวหล่อ มีแรงดันที่ผิดปกติไปทำให้เกิดฟองอากาศในขณะส่งน้ำดิน ซึ่งต้องหมั่นตรวจความพร้อมของปั๊มไดอะแฟรมที่ใช้ คอยเติมน้ำมันและต้อง drain น้ำในชุดดักน้ำเสมอๆ นอกจากนี้ในแถวหล่อที่อยู่ไกลจากปั๊มหรือไกลจาก Head tank ก็จะทำให้มีน้ำดินไหลไปไม่เต็มท่อได้ทำให้มีฟองอากาศปนไปกับน้ำดิน ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้เราต้องคอยสังเกตว่าตำหนิที่เป็นอยู่ในแถวใด ตำแหน่งใด

3. ปลาสเตอร์โมลด์แห้งเกินไป อันเนื่องมาจากอาจจะอบไว้นานหรือไม่ได้ใช้งานมานาน ทำให้ปูนดูดน้ำดินเร็วเกินไปส่งผลทำให้เกิดฟองอากาศที่ผิวได้ ซึ่งต้องพยายามรักษาความชื้นของแบบให้สม่ำเสมอ บางที่จะมีเครื่องวัดความชื้นแบบเพื่อที่ใช้ควบคุมความชื้น ถ้าความชื้นน้อยเกินไปจะได้ลงน้ำช่วยให้มีความชื้นมากขึ้น

4. น้ำดินหนืดเกินไปทำให้ฟองอากาศออกไปยาก เพราะในความเป็นจริงการกวนเร็วนั้นจะต้องมีฟองอากาศอยู่ภายในแน่นอน ดังนั้นถ้าเราปรับค่าความหนืดและค่า thixo ได้ดี การหล่อก็จะมีตำหนิลดลงไปด้วย

5. การfeed น้ำดินเข้าไปในแบบเร็วเกินไปทำให้น้ำดินไปดักอากศที่อยู่ภายในแบบทำให้เกิดเป็นฟองอากาศเกิดขึ้นซึ่งแนวทางแก้ไขก็ต้องอย่าเปิดวาวล์น้ำดินแรงเกินไปหรือถ้าหล่อมือก็อย่าเทลงแบบเร็วเกินไป

6. มุมหยอดเวลาfeed น้ำดินไม่เหมาะสมทำให้ทางระบายอากาศของน้ำดินไม่ดีพอจึงเกิดอากาศอยู่ภายใน ดังนั้นถ้าหน่วยงานหล่อต้องร่วมกับทางห้องแบบเพื่อช่วยกันดูและวิเคราะห์ว่าแบบใดควรใช้มุมหยอดแบบใดซึ่งก็จะแตกต่างกันไปในแต่ละ Model หลักการนี้ใช้ได้ทั้งหล่อแจกัน หล่อกาน้ำ หล่อส้วม หล่อครอบหลังคา หล่อลูกถ้วยไฟฟ้าบางประเภท