กระเบื้องแสงรุ้งกลาสโมเสค
Pakarung - Think Ceramic Think Pakarung
ซิเบลโก้ มิเนอร์รัลส์ จัดหาแร่คุณภาพสำหรับอุุตสาหกรรมเซรามิคส์
Ferro
Keramat
MS Industrial Supplies
Ceramics R Us
กลับไป Webboard
  TOPIC: เครื่องหาความแข็งของดินสำหรับจิ้กเกอร์
พิภพ  |  18 มิย 52 - 19:13:11  
อยากให้แนะนำเครื่องมือที่จะหาความแข็งของดินแท่งดูดอากาศ ที่มีใช้กันทั้ง Hardness tester และ Pfferkorn และช่วยอธิบายหลักการทำงานของทั้ง Hardness และ Pfferkorn ด้วยว่ามีหลักการทำงานอย่างไรและแตกต่างกันอย่างไร ตัวไหนมีประโยชน์และควรนำมาใช้มากกว่ากัน
ตอบกระทู้
  ความคิดเห็นที่ 6 คชินท์  |  11 กค 54 - 21:37:34  

ถ้า Hardness tester ลองติดต่อคุณเกษม เพชรเกษมจักรกลเซรามิกครับ

Pfferkorn ติดต่อ Keramat ครับ

  ความคิดเห็นที่ 5 ลูกสาวป๊า ^_^  |  09 กค 54 - 11:16:57  

ต้องการทราบข้อมูลว่ามีตัวแทนจำหน่ายที่ไหนบ้างค่ะ แล้วราคาประมาณเท่าไหร่คะ

  ความคิดเห็นที่ 4 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  28 มิย 52 - 21:35:10  

Hardness Tester

http://th.upload.sanook.com/embed/408a11b4109d4e1c26430c0bca9ece6b.jpg

http://th.upload.sanook.com/embed/e4dd61b85295a25064ecd333011af7ae.jpg

  ความคิดเห็นที่ 3 คชินท์  |  20 มิย 52 - 18:43:29  

หลังจากชิ้นงานทุกกระแทกจนเตี้ยลงแล้วก็นำมาวัดความสูงซ้ำให้ค่าเป็น h1 ส่วนความสูงเริ่มต้นที่ 4 cm ให้เป็นh0 แล้วนำมาหาอัตราส่วนเป็นค่า a=h0/h1 ถ้าค่า a<2.5 แสดงว่าดินแข็งไปมากไม่สามารถขึ้นรูปได้ ถ้า aอยู่ในช่วง 2.5-4 แสดงว่าสามาถขึ้นรูปได้ดี แต่ถ้าค่า a>4 แสดงว่าดินนิ่มไปหรือเหนียวไปซึ่งไม่อาจขึ้นรูปได้เช่นกัน

 

  ความคิดเห็นที่ 2 คชินท์  |  20 มิย 52 - 15:08:08  

ดินดูดอากาศที่ได้จากการรีดจะมีความแข็งเพียงพอกับการขึ้นรูปหรือนิ่มเกนไปนั้นถ้าโรงงานยังเป็นปบบใช้ความชำนาญของคนก็จะใช้นิ้วของผู้ชำนาญการในนั้นสักคนจิ้มเอาดูว่าใช้ได้หรือไม่ แต่การใช้นิ้วนั้นคือการใช้ความรู้สึก ดังนั้นจึงเกิดเครื่องมือวัดขึ้นมาหลายตัวในการหาความแข็งของดินเช่น Hardness tester ซึ่งมีลักษณะเป็นเข็มหัวแหลมมีสปริงอยู่ภายใน การใช้งานก็จะจิ้มลงไปที่ผิวของดินแท่งและอ่านค่าที่ได้จากสเกล ถ้าเป็นการขึ้นรูปแบบจิ้กเกอร์ Roller head จะใช้ค่าความแข็งอยู่ที่ 10-11 ถ้าเป็นการขึ้นรูปลูกถ้วยไฟฟ้าค่าอยู่ที่ 13-15 ถ้าขึ้นรูปกระถางค่าอยู่ที่ 8-10 ถ้าขึ้นรูปกระเบื้องหลังคาค่าอยู่ที่ 12-14 ข้อควรระวังในการใช้งานคือในการจิ้มนั้นความเร็วในการกดลงก็มีผลต่อค่าความแข็ง มุมในการปักเช่นกัน ลักษณะของหัวเข็ม มุมtaper เช่นกัน

แต่เนื่องจากดินแท่งนั้นถ้าเปลือกกับข้างในมีความชื้นไม่เท่ากันเนื่องจากเปลือกดินร้อนมาก จะทำให้ความแข็งที่วัดได้กับความต้องการที่เราจะใช้จริงอตกต่างกันได้ ดังนั้นในโรงงานที่ต้องการความถูกต้องของการขึ้นรูปมากเราจะใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Pfefferkorn plasticity tester เครื่องนี้ประกอบด้วยแป้นวงกลมเป็นทองเหลือง และมีแท่นจับ มีสเกลบอกความสูง (เอาไว้จะเอาภาพมาลงให้ดูครับ) เวลาทดสอบจะปั้นดินที่ต้องการวัดค่าความแข็งให้ได้ความสูง 4 ซม. แล้วนำไปวางใต้แป้นทองเหลืองแล้วปล่อยให้แผ่นทองเหลืองตกลงมากระแทกก้อนดินที่เราต้องการหาค่า นำไปวัดค่าความสูงอีกครั้งแล้วนำมาเปรียบเทียบค่ากัน

  ความคิดเห็นที่ 1 คน Patra มาเยี่ยม  |  18 มิย 52 - 19:27:11  

     ตัว Clay Hardness Tester ใช้แรงกดของมือบวกแรงกดสปริง ต่อสู้กับความแข็งของดิน

หน่วย กก/ตรซ ปรกติ จะกำหนดค่าไว้ที่ 10.5 โดยเฉลี่ย ที่ใช้อยู่เป็นของ Japan ส่วน

อีกตัวผมไม่เคยใช้ 

    ผมใช้ตัวที่มาจากJapan  ตั้งแต่ปี 2527 สั่งจาก Isekyu ราคาไม่ถูกครับ ใช้ไปนานๆ สปริงอาจ

จะอ่อนได้ ควร Caliblate ด้วยครับ

   ถามว่าจำเป้นต้องมีไหม จำเป็นมากครับ ควรใช้เป็นอย่างยิ่ง ปัญหาจากการใช้ดินที่ไม่ได้ควบคุมความ

อ่อน แข็ง ส่งผลหลายเรื่อง ที่สำคัญ เบี้ยวหลังเผาก็มีสาเหตุมาจากบกพร่องในเรื่องควบคุมค่า hardness

ด้วยครับ