กระเบื้องแสงรุ้งกลาสโมเสค
Pakarung - Think Ceramic Think Pakarung
ซิเบลโก้ มิเนอร์รัลส์ จัดหาแร่คุณภาพสำหรับอุุตสาหกรรมเซรามิคส์
Ferro
Keramat
MS Industrial Supplies
Ceramics R Us
กลับไป Webboard
  TOPIC: rampress
Osmosis  |  10 มิย 57 - 09:27:06  

ที่โรงงานต้องการปรับการผลิตจากงานหล่ออัดเป็นงาน rampress  (พวกจานเปล)รบกวนอาจารย์แนะนำว่าจะต้องควบคุม , ตรวจวัด ปัจจัยอะไรบ้างครับ (เคยทดลองขึ้นรูป โดยดินที่จะเอาไปปั้นมาปั๊มจะพบปัญหาแวร์หลังเผาเบี้ยวบริเวณขอบปีกครับ)

 

ตอบกระทู้
  ความคิดเห็นที่ 4 Osmosis  |  26 มิย 57 - 17:20:24  

ขอบคุณครับ

       แล้วอาจารย์พอจะมีสูตรคำนวณการลดขนาดดินที่รีดออกจาก Extrue หรือเปล่าครับเพื่อให้ค่า b.d  ใกล้เคียงกัน  (ผมรีดออกมาเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมลองหาค่า b.d พบว่าบริเวณขอบด้านข้างจะแตกต่างกว่าจุดตรงกลางเกิน 0.03 ครับ) 

  ความคิดเห็นที่ 3 Tcs  |  25 มิย 57 - 20:19:44  
จริงๆแล้วถ้าจะให้ดี ค่า Bulk density ควรมีค่าแตกต่างกันในแต่ละจุดไม่เกิน 0.02-0.03 ครับ การหดตัวต่างๆจะได้ผลที่ดีขึ้น ส่วนค่า specific pressing pressure นั้น จะใช้สำหรับการคำนวณการขึ้นรูปกระเบื้องที่ใช้แรงอัดที่สูงมากและพื้นที่รับแรงกระจายเท่ากันในทุกจุด
แต่ถ้าเป็น ram press ที่แรงอัดไม่มาก การกระจายแรงไม่เท่ากัน เนื่องจากลักษณะของ shape จะไม่สามารถหาโดยสูตรปกติได้ครับ
  ความคิดเห็นที่ 2 Osmosis  |  16 มิย 57 - 08:36:48  

ขอบคุณครับอาจารย์  แล้วมีคำถามต่อครับ

  1. ค่าความหนาแน่นของดินที่รีดจาก Extrude ควรมีค่าแตกต่างกันประมาณเท่าไหร่ครับ

  2. อาจารย์พอจะมีตย.การออกแบบขอบบ่อดักของแม่พิมพ์หรือเปล่าครับ

  3.เห็นข้อมูลของอาจารย์ เขียนเรื่อง Specific pressure  จะเกี่ยวของกับอาการเบี้ยวหรือเปล่าครับ (หรืออาจารย์พอมีเอกสารให้ไปศึกษาต่อมัยครับ ถ้ามีรบกวนที่ w_osmosis@hotmail.com )

ขอบคุณครับ 

   

  ความคิดเห็นที่ 1 Tcs  |  13 มิย 57 - 21:45:40  
ต้องเริ่มตั้งแต่ดินแผ่นที่รีดออกมาจาก extrude เลยครับ ดินแผ่นต้องระวังเรื่องการดูดอากาศและดีไซน์ของปากรีด เพื่อให้ด้านริมแผ่นมี bulk density ใกล้เคียงกับกลางแผ่น
เรื่องการออกแบบแม่พิมพ์ก็สำคัญมาก ต้องออกแบบให้มีการกักดินบริเวณขอบก่อนที่ดินจะไหลออกไปจากพิมพ์เพื่อให้ bulk density ใกล้เคียงกันระหว่างริมกับกลางจาน เพราะถ้า bulk density ต่างกันมาก การหดตัวหลังอบแห้งและหลังเผาก็จะต่างกันทำให้เกิดการดึงตัวและบิดเบี้ยวได้ง่ายโดยเฉพาะบริเวณปีกจาน