การหาความหนาแน่นของ Green ware นั้นสามารถหาได้สองวิธีคือการหาโดยการใช้ปรอท กับการเคลือบด้วยเทียนหรือพาราฟินและนำไปหาความหนาแน่นด้วยการแทนที่น้ำแบบปกติ
วิธีหาโดยใช้ปรอท เริ่มจากเราหักชิ้นงานดิบที่ต้องการหามาชั่งน้ำหนักก่อนให้ค่าเป็น A แล้วนำกระป๋องใส่ปรอทวางลงบนเครื่องชั่งและนำเครื่องมือสำหรับกดชิ้นงานลงไปในปรอทกดลงไปพอให้แตะกับผิวของปรอทแล้วset zero หลังจากนั้นนำชิ้นงานที่ต้องการหาความหนาแน่นค่อยหย่อนลงในปรอท (ต้องใส่ถุงมือและผ้าปิดจมูกให้ดี) แล้วนำเครื่องมือกดให้ชิ้นงานจมไปในปรอท อ่านค่าน้ำหนักจากเครื่องชั่งให้ค่าเป็น B แล้วนำมาแทนสูตร
ความหนาแน่น= (Ax13.5325)/B โดยที่ 13.5325คือค่าความหนาแน่นปรอทที่ 25 องศา
วิธีที่สองนำชิ้นงานดิบมาชั่งน้ำหนักจดค่าเป็น A แล้วนำไปชุบเทียนไขหรือพาราฟินที่อุ่นจนเหลวให้ทั่วแผ่น แล้วนำไปชั่งน้ำหนักอีกทีให้เป็น B หลังจากนั้นนำไปชั่งน้ำหนักในน้ำ โดยใช้ตาชั่งที่มีจุดห้อยทางด้านล่าง ทำตะกร้าหรือลวดที่สามารถเกี่ยวชิ้นงานให้ลอยอยู่ในน้ำได้ ใช้ถ้วยตวงใส่น้ำแล้ววางไว้ใต้เครื่องชั่ง ทำการแขวนตะกร้าให้อยู่ในน้ำแล้ว set zero แล้วจึงค่อยๆหย่อนชิ้นงานลงไปในตะกร้าอ่านค่าน้ำหนักให้เป็น C และแทนค่าในสูตร
Density= A/ (B-C)- [(B-A)/0.9]
ผมชอบแบบปรอทมากกว่าเพราะแม่นยำและรวดเร็วกว่า แต่บางโรงงานกลัวปรอทก็เลยใช้แบบ wax density ซึ่งช้าและเหม็นเทียนมาก ค่าก็จะวิ่งขึ้นอยู่กับฝีมือการชุบเทียนครับ ลองไปเลือกใช้ดู แต่ควรจะต้องวัดบางนะครับ เพราะ Green density จะส่งผลต่อ Fired properties หลายเรื่องทีเดียว |