กระเบื้องแสงรุ้งกลาสโมเสค
Pakarung - Think Ceramic Think Pakarung
ซิเบลโก้ มิเนอร์รัลส์ จัดหาแร่คุณภาพสำหรับอุุตสาหกรรมเซรามิคส์
Ferro
Keramat
MS Industrial Supplies
Ceramics R Us
กลับไป Webboard
  TOPIC: Grog
คนช่างสงสัย  |  04 ตค 52 - 21:06:02  
อาจารย์ครับรบกวนอาจารย์ให้ความกระจ่างหน่อยครับ อยากให้อาจารย์อธิบายอย่างเป็นรูปธรรมของสาเหตุการใส่ดินเชื้อ หรือ grog ในเนื้อดินที่ใช้สำหรับการทำรกุด้วยครับ และอีกคำถามนะครับว่า Grog , พิชเชอร์(ไม่แน่ใจว่าภาษาอังกฤษเขียนอย่างไร) , chamotte มันต่างกันหรือเหมือนกันอย่างไรครับ ขอบพระคุณมากครับ 
ตอบกระทู้
  ความคิดเห็นที่ 1 คชินท์  |  08 ตค 52 - 21:58:28  

การเติม Grogลงไปในเนื้อดินรากุหรือเนื้อดินอื่นๆนั้นมีเหตุผลหลายประการ

1. เพื่อลดการหดตัวหลังอบแห้งลงทำให้ชิ้นงานมีโอกาสการแตกร้าวหลังอบแห้งลดลงเพราะดินเชื้อคือดินที่เผามาแล้วครั้งหนึ่งจึงไม่มีการหดตัวอีกแล้ว

2. ทำให้เนื้อผลิตภัณฑ์ทนการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากความร้อน (Thermal shock resistance) ได้ดีขึ้นซึ่งเป็นเรื่องสำคัญสำหรับเนื้อดินรากุ เนื่องจากเนื้อดินที่มี Grog แทรกอยู่จะกระตุ้นทำให้เนื้อดินมีเฟสของ Mullite ได้มากขึ้นซึ่ง Mullite นี้จะมีค่า COE ที่ต่ำจึงช่วยเรื่อง Thermal shock resistance ได้ดี ยิ่งถ้าเลือกใช้ Grog ที่เป็น Molochite แล้วด้วย จะยิ่งทำให้มี Mullite มากขึ้น

Pitcher Chamotte Scrap มีความหมายเหมือนกันคือผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการเผาแล้วอาจมีเคลือบปนอยู่ด้วยก็ได้ ขึ้นอยู่กับว่าเราเก็บ Scrap ที่ไหนมา ที่มีคำเรียกแตกต่างกันเพราะแต่ละอุตสาหกรรมก็จะเรียกต่างกัน กระเบื้องเรียกกระเบื้องแตกว่า Chamotte สุขภัณฑ์เรียกส้วมแตกว่า Pitcher

ส่วน Grog หมายถึงดินที่เผาแล้วเพื่อ Calcine ไล่น้ำและสารอินทรีย์ออกไป เราอาจเจอบางตำราเรียกสลับกับผมได้เช่นเขาเรียก Grog หมายถึงของแตกและเรียก Chamotte ว่าเป็นดินที่เผาแล้ว ผมไม่รู้ว่าเขาไปเอามาจากไหนเหมือนกัน แต่ผมรับเทคโนโลยีมาจากทางอิตาลี สเปน เยอรมัน ซึ่งเป็นฝั่งทางยุโรป ซึ่งเขาก็เรียกแบบนี้กันทุกประเทศ อาจเป็นทางฝั่งอเมริกาก็ได้เพราะประเทศนี้ชอบทำอะไรตรงข้ามกับทางยุโรป